การเพาะเห็ดฟางในร่องปาล์ม |
| | เห็ดฟางในร่องปาล์ม - การปลูกปาล์มน้ำมันในปัจจุบัน ต้นทุนการผลิต การจัดการแปลงปาล์มน้ำมันเพิ่มขึ้นทุกวัน ทั้งค่าปุ๋ย ค่าจัดการแปลง ค่าแรงงาน และค่าอื่น ๆ อีกจิปาถะ หากเกษตรกรไม่สามารถลดต้นทุนการผลิตได้หรือ ไม่สามารถเพิ่มผลผลิตให้มากขึ้นได้ การเพิ่มรายได้ช่องทางหนึ่งคือ หารายได้เพิ่มจากร่องปาล์มน้ำมัน ซึ่งสามารถสร้างรายได้หลาย ๆ ทางด้วยกันเช่น การปลูกพืชไร่ต่าง ๆ การเลี้ยงปลาในร่องสวน แต่ที่น่าสนใจและต้นทุนการผลิตไม่สูงคือ การเพาะเห็ดมีทั้ง เห็ดโคน เห็ดฟาง แต่ที่นิยมและได้ผลดีคือ เห็ดฟาง จะเป็นที่นิยมและสร้างรายได้ให้มากกว่าเห็ดอื่น ๆ อีกทั้งการดูแลค่อนข้างง่าย ทั้งขายง่าย เหมาะแก่การเพิ่มรายได้ให้แปลงปลูกปาล์มน้ำมัน |
| | การเพาะเห็ดฟาง
วัสดุที่ใช้เพาะเห็ดฟางในแปลงปลูกปาล์มน้ำมันมีมากมายหลายชนิดทั้ง ทะลายปาล์มน้ำมัน อย่างในอีสานมีฟางมากมาย เหมาะกับการทำเห็ดฟางอย่างยิ่ง เนื่องจากเห็ดที่ได้จากวัสดุเพาะที่เป็นฟางจะมีกลิ่นหอมน่ารับประทาน แถมได้ราคาดี ไม่เหมือนการเพาะด้วยทะลายปาล์ม ซึ่งจะมีกลิ่นของน้ำมันปาล์มอยู่ ราคาที่ได้จะไม่ดีนัก หรือการทำเห็ดฟางจากวัสดุเพาะกากถั่วเขียว ที่ราคาจะไม่สูดีนักเนื่องจากมีเศษดินทีติดมากับเห็ดค่อนข้างมาก
ในส่วนฤดูที่เหมาะสมควรทำในช่วงต้นฝน เนื่องจากจะได้ราคาดีมาก ๆ |
| | การล้างทำความสะอาดทะลายปาล์มน้ำมัน โดยการใช้น้ำฉีดจนกว่าน้ำที่ฉีดล้างจะออกเป็นสีแดง จึงถือว่าสะอาดได้ที่ ระหว่างการล้าง ต้องมีการเหยียบย่ำให้ทะลายปาล์มนุ่มลงด้วยเมื่อล้างทำความสะอาดแล้ว
การนำเชื้อเห็ดฟางมาหว่านลงไป โดยจะใช้เชื้อ 30 ถุง ผสมกับอาหารเสริมประมาณครึ่งถุงคลุกเคล้าให้เข้ากันดีแล้วนำมาโรยลงร่องของ ทะลายปาล์มน้ำมันแล้ว คลุมด้วยพลาสติกไว้บนโครงไม้ไผ่ที่จัดสร้างไว้นานประมาณ 3 วันโดยในช่วง 3 วัน ดังกล่าวไม่ให้เปิดดูโดยเด็ดขาด จนกระทั่งผ่านระยะเวลาดังกล่าวจะเปิด เพื่อถ่ายเทอากาศทุกวันในช่วงเช้าและเย็น นานประมาณ 30 นาที หลังจากนั้นประมาณ 7 วัน เห็ดฟางจะเริ่มออกดอก
ในส่วนของการเปิดพลาสติกออกเพื่อเก็บดอกเห็ดนั้นต้องเริ่มด้วยการเปิด แผ่นพลาสติกบริเวณหัวและท้ายร่องก่อนเพื่อเป็นการระบายอากาศ จากนั้นจึงเปิดทั้งหมดและเมื่อเก็บดอกเห็ดมาแล้วต้องรีบคลุมพลาสติกไว้ดัง เดิมเพื่อป้องกันเชื้อต่าง ๆ ที่จะเข้าไปเจริญเติบโตในร่องเห็ด อันจะทำให้มีผลเสียต่อเห็ดฟางที่เพาะไว้
สำหรับการให้น้ำ จะต้องดูที่ความชื้นของกองเห็ดเป็นหลัก หากพบว่าความชื้นน้อยลงจะให้น้ำทันที โดยการรดน้ำไปบนผ้ายางแล้วน้ำจะไหลลงสู่ด้านข้างของร่องเพาะเห็ดและซึมเข้า ไปในวัสดุเพาะ เห็ดจะให้ผลผลิตเต็มที่เมื่อประมาณ 10-15 วัน แล้ว เราสามารถเก็บได้ทุกร่อง ได้ทุกวัน โดยจะมีปริมาณมากในระยะเวลาประมาณ 5 วัน หลังจากนั้นปริมาณดอกเห็ดที่ออกเริ่มลดน้อยลง หากรวมเวลาที่สามารถเก็บดอกเห็ดจนหมดรุ่น ใช้เวลาประมาณ 1 เดือน |
ที่มา : http://palmdeedee.blogspot.com
|
|
|
|