ปัญหาในการเพาะเห็ดฟางกองสูงและกองเตี้ย
ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ ในการเพาะเห็ดฟางแบบกองสูงและกองเตี้ย
1. เส้นใยไม่เดิน
เส้นใยไม่เดินมีผลเนื่องจากหลายประการ คือ
- เชื้อเห็ดไม่บริสุทธิ์ ฉะนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหาเชื้อเห็ดบริสุทธิ์มา ใช้ โดยไม่มีเชื้อโรคปน และควรเป็นเชื้อที่แข็งแรงคือ ทำการติดต่อจากดอกเห็ดไม่เกิน 10 ช่วง ควรอยู่ระหว่างช่วงที่ 3 – 7
- ใช้ฟางเก่าที่ถูกแดดถูกฝนเพาะ ทั้งนี้เพราะฟางจะถูกจุลินทรีย์ในธรรม ชาติดูดเอาอาหารไปใช้ก่อนเชื้อเห็ดฟาง ดังนั้นฟางที่จะใช้ควรเป็นฟางที่ไม่ถูกฝน และควรเป็นฟางแห้ง
- เพาะซ้ำที่เดิมปัญหานี้เป็นปัญหาที่พบกันมาก ทั้งนี้เนื่องจากการเพาะ เห็ดฟางแบบกองสูงหรือกองเตี้ยเป็นวิธีที่ไม่มีการฆ่าเชื้อ ดังนั้น ใน ขณะที่เพาะครั้งแรกจะมีเชื้อโรคที่เป็นอันตรายต่อเห็ดสะสมอยู่ ทำให้ การเพาะครั้งต่อไปผลผลิตจะลดลง
- อุณหภูมิเย็นเกินไป ทางแก้คือ ต้องใส่อาหารเสริมที่แห้งตรงกลางกอง คลุมผ้าพลาสติกให้มิดแล้วคลุมฟางให้หนา หรือสร้างโรงเรือนคลุม อีกที ควรเพาะกลางแดดทำหลาย ๆ กอง ใกล้ ๆ กัน จะทำให้มีความร้อนเพิ่มขึ้น
- มีนํ้ามันหรือยาฆ่าเชื้อราอยู่บนดิน
2. เส้นใยเดินแต่ไม่ออกดอก
- ทั้งนี้ เนื่องจากอาหารไม่พอ หรือบางทีกองเห็ดฟางแน่นและชื้นเกินไป เส้นใยไม่สามารถชอนไชเข้าภายในกองได้ มักจะเกิดกับตอซังถอน ทางแก้คือ เมื่อแน่ใจว่าดอกเห็ดจะไม่ออกแน่ (วันที่ 6-7) ให้ใช้มือสอดเข้าไปแล้วค่อย ๆ ยกกองขึ้นให้โปร่ง หรือบางทีอาจเกิดเนื่องจากเชื้อเห็ดเป็นหมัน ซึ่งเกิดจากเชื้อเห็ดทำการตักต่อมากจนกระทั่งเส้นใยอ่อน ไม่สามารถสร้างดอกได้
- ถ้าเป็นแบบยกกองเข้าไว้ในโรงเรือน อาจเนื่องจากไม่ได้รับแสงหรือ อุณหภูมิภายในโรงเรือนร้อนเกินไป ดังนั้นควรมีที่ระบายอากาศด้าน ข้างด้วย โดยทำที่ระบายอากาศใกล้ ๆ กับพื้นแล้วรดน้ำข้างฝาเพื่อลด อุณหภูมิภายในห้อง ในวันที่ 5-6
3. เส้นใยขาวเต็มกองไปหมดในระยะแรก ๆ แล้วเปลี่ยนเป็นเม็ดสีขาวภายใน 2-3 วัน ต่อมาเป็นสีน้ำตาล
- ลักษณะเช่นนี้เป็นลักษณะของวัชเห็ดชนิดหนึ่งที่เรียกว่า เห็ดด้านหรือ เห็ดเม็ดผักกาด หรือเม็ดสเคอรอเตียม เกิดเนื่องจากฟางมีเชื้อเห็ดนี้ติดมา โดยเฉพาะตอซังถอนส่วนมากจะเกิดเมื่อกองแฉะและร้อนมากเกินไป วิธีแก้ไขควรตากฟางให้แห้งสนิท และเมื่อเกิดควรใช้มือลูบทำลายมันก่อนที่จะสร้างเม็ดเห็ดด้าน
4. ดอกเห็ดออกดอกเล็ก ๆ เต็มไปหมด แต่ไม่โต
- เนื่องจากใช้ฟางที่อมนํ้าง่ายแล้วแช่น้ำนาน ตอนเพาะถ้าเหยียบแน่น เกินไป ฟางภายในกองจะเน่า เชื้อเห็ดจะเดินเข้าไปไม่ได้ และภายในจะมีอากาศไม่เพียงพอแก่การเจริญของดอกเห็ด จึงทำให้เห็ดฝ่อตาย
- สาเหตุจากฟางที่ใช้มีอาหารไม่เพียงพอ ส่วนมากมักเกิดกับฟางข้าวนวด นอกจากนี้อาจเพราะฟางที่ใช้เพาะดูดนํ้าได้ไม่ดี มีความแห้งและ ในขณะทำกองเหยียบไม่แน่นพอ ทำให้เส้นฟางดีดออกมาข้างนอก พร้อมทั้งเส้นใยเห็ดฟางรวมเป็นดอกเล็ก ๆ แต่อาหารไม่พอทำให้เห็ดฝ่อ ตาย วิธีแก้คือ ควรแช่ปลายฟางให้อิ่มตัวประมาณ 2 คืนเป็นอย่างน้อย และขณะทำกองควรเหยียบให้แน่นพอสมควร
- เนื่องจากเชื้อเห็ดอ่อน หรือเชื้อเห็ดที่ตักต่อบ่อยเกินไป
5. ดอกเห็ดมีลักษณะลอย
- เนื่องจากเหยียบกองแน่นเกินไป ถ้าเห็นว่ากองแน่นมากไปประมาณ วันที่ 4 ของการทำกองควรใช้มือสอดเข้าไปในกองแล้วยกกองขึ้นเล็ก น้อยทำทั่วกอง
6. ดอกเห็ดมีลักษณะฟู มีเส้นใยขึ้นเต็มไปหมด
- เนื่องจากขณะที่ดอกเห็ดกำลังออกดอก อากาศบริเวณรอบ ๆ กองอุณห ภูมิสูงเกินไป วิธีแก้ไขคือ ถ้าเป็นฤดูร้อนต้องเผยอผ้าพลาสติกออก
7. ดอกเห็ดดูออกท่าทางแข็งแรง แต่ไม่เจริญต่อไป
- เนื่องจากกระทบความหนาวมากเกินไป หรืออากาศกลางวัน-กลางคืน ต่างกัน 10 องศาเซลเซียส หรือกระทบแห้งมากเกินไป
8. ดอกเห็ดมีลักษณะถูกกัด
- อันเนื่องมาจากพวกแมลงต่าง ๆ รวมทั้ง จิ้งเหลน กิ้งก่า มด วิธีแก้คือ ควรขุดบ่อน้ำรอบ ๆ หรือโรยยาฆ่าแมลง เช่น เซฟวิน 85 มาลาไทออน คาบาริล เป็นต้น โดยโรยรอบ ๆ กอง แต่อย่าโรยลงในกองเป็นอันขาด ถ้าหากเป็นมดให้ใช้ผงซักฟอกเข้มข้นขนาดใช้ซักผ้าราดตามทางเดินมด มดจะตายทันที
9. ดอกเห็ดเน่าและเหม็นเป็นสีดำคล้ำ
- เนื่องจากดอกเห็ดเริ่มมีเชื้อโรคมารบกวน อันเนื่องจากเชื้อแบคทีเรีย ควรทำลายทันทีเมื่อพบเห็นโดยการเผาไฟ มิฉะนั้นแล้วต่อไปจะทำให้เป็นโรคระบาดได้
- เน่าตายเพราะถูกกระทบกระเทือนจากการเก็บดอกเห็ดบริเวณใกล้เคียง หรือรดนํ้าขณะดอกยังเล็กมากอยู่
- เนื่องจากเพาะซ้ำที่เดิม
10. ดอกเห็ดมีลักษณะบุ๋ม มีขนฟูคล้ายหนังคางคก
- เชื้อเห็ดอ่อนมาก อันเนื่องจากการตักต่อมากเกินไป วิธีแก้คือหาพันธุ์ ใหม่มาแยกเนื้อเยื่อ หรือซื้อเชื้อเห็ดจากผู้ผลิตที่เชื่อถือได้เป็นหัวเชื้อ
- อากาศถ่ายเทไม่สะดวกและร่อนเกินไป
11. ดอกเห็ดมีสีดำเกินไป
- เนื่องจากพันธุ์หรือถูกลมโกรกมากเกินไป วิธีแก้คือ ระวังอย่าให้ลม โกรกมากเกินไป
12. ดอกเห็ดเกาะกันเป็นกลุ่ม
- เนื่องจากตอนคัดเลือกดอกเห็ดทำพันธุ์ คัดจากดอกเห็ดที่ขึ้นกันเป็นกลุ่ม
13. ดอกเห็ดบานเร็ว
- เนื่องจากใช้ไส้นุ่น หรือขี้ฝ้ายเป็นอาหารเสริม วิธีแก้คือ ลดทั้งสองอย่างลงเสีย เปลี่ยนมาใช้ดินกับขี้ไก่แห้งแทน
- เชื้อเห็ดอ่อน
- อุณหภูมิสูงเกินไป
14. ดอกเห็ดขึ้นเป็นหย่อม ๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งหัวกับท้ายของกองฟาง
- เนื่องจาก ส่วนหัว-ท้ายมีอาหารดีกว่า และอุณหภูมิไม่ค่อยสูงมากนัก ทำให้เป็นศูนย์รวมของเส้นใยเห็ดได้ จึงออกดอกเห็ดบริเวณนี้มากกว่าที่อื่น
15. ดอกเห็ดมีน้ำหนักเบา
- เนื่องจากพันธุ์ของดอกเห็ด พันธุ์ขาวจะมีน้ำหนักเบากว่าพันธุ์เทา หรือดำ
- กระทบแห้ง
- การถ่ายเทอากาศไม่สะดวก เช่น ขณะออกดอกถ้าปิดผ้าพลาสติกจนมิด ดอกเห็ดจะน้ำหนักเบามาก