วันพุธที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

การเพาะเห็ดฟางในตะกร้า ลงทุนต่ำแต่ความต้องการในตลาดสูง ไม่เปลืองพื้นที่ ใครๆก็ทำได้

ในปัจจุบันการบริโภคเห็ด ถือได้ว่าเป็นการได้รับความนิยมอย่างสูง แม้จะมีเห็ดมากมายออกมาตามท้องตลาดให้เลือก แต่กระนั้นเห็ดฟางก็ยังคงครองความนิยมกันอยู่เรื่อยมาและยังเป็นผลผลิตทางการเกษตรที่ปัจจุบันได้รับความนิยมมากในกลุ่มของผู้บริโภค ทำให้ราคาที่เพิ่มสูงขึ้นเพราะความต้องการในตลาดก็มากขึ้นเช่นกัน ล่าสุดมีการเพาะเห็ดฟางในตะกร้า เพื่อทำเป็นรายได้เสริม ซึ่งถือเป็นเทคนิคการเพาะเห็ดฟางแบบง่ายๆ และไม่จำเป็นต้องใช้พื้นที่มากมาย ที่ใครก็สามารถทำได้
เทคนิคการเพาะเห็ดฟางในตะกร้า
เทคนิคการเพาะเห็ดฟางในตะกร้าพลาสติก ซึ่งการเพาะเห็ดฟางแบบนี้เป็นวิธีการเพาะเห็ดฟางที่เป็นการประยุกต์ขึ้นมา เพราะ การเพาะเห็ดฟางแบบทั่วไปใช้พื้นที่ในแบบแนวราบ และมาตรฐานของการเพาะเห็ดฟางในพื้นที่ราบที่มี1 ตารางเมตรจะทำให้ได้ผลผลิตได้ถึง 3 กิโลกรัม ซึ่งถือว่ายอดเยี่ยม แต่การเพาะเห็ดฟางในตะกร้าซึ่งเป็นตะกร้าที่สามารถใช้พื้นที่ในแนวสูงกับแนว ราบของพื้นที่ตะกร้าที่เป็นทรงกระบอก โดยการนำตะกร้าสูงประมาณ 1 ฟุต และรอบ ๆของตะกร้าจะมีตามีช่องด้านบน ทำให้เห็ดสามารถออกได้ และยังสามารถนำตะกร้ามาซ้อนกันได้หลายชั้น ซึ่งจะเป็นลักษณะของการเพิ่มพื้นที่สำหรับการออกดอกของดอกเห็ด
การเพาะเห็ดฟางในตะกร้า เทียบกับการเพาะแบบอื่นๆ
ในพื้นที่ 1 ตารางเมตร สามารถวาง ตะกร้า ได้ถึง 9 ใบสำหรับการเพาะเห็ดฟางในตะกร้า โดยใน1 ตารางเมตร วางได้ถึง 9 ตะกร้า จะทำให้ได้เห็ดไม่ต่ำกว่า 1 กิโลกรัม ต่อ 1 ตะกร้า เรียกได้ว่าใน 1 ตารางเมตร ก็จะได้อย่างน้อย 9 กิโลกรัม เปรียบเทียบ
แบบปลูกพื้นราบคือได้ 3 กิโลกรัม ทำให้เห็นว่าการเพาะเห็ดฟางในตะกร้า จะได้ผลผลิตมากกว่า แนวทางในการพัฒนาตรงนี้ทพำให้มีหลายๆ คนเริ่มหันมาสนใจที่จะเพาะเห็ดอยู่มาก
วัสดุที่ใช้ในการเพาะเห็ดฟางในตะกร้า
วัสดุที่จะทำการเพาะเห็ดฟางในตะกร้า ฟางข้าว ถั่ว หรือเปลือกถั่ว เปลือกมันสำปะหลัง ผักตบชวา ต้นกล้วยหั่นตากแห้ง ขี้เลื่อยไม้เนื้ออ่อนทุกชนิด หรือแม้แต่กระดาษก็สามารถนำมาเพาะเห็ดฟางได้ และกระสอบป่านเก่า ๆ ผ่านการแช่น้ำ อะไรก็ได้จากธรรมชาติ ที่จะทำให้เก็บความชื้นได้ดี จะสามารถนำมาเป็นวัสดุในการเพาะเห็ดฟางได้ ขั้นตอนการเพาะเห็ดฟางใน ชั้นที่หนึ่งเป็นวัสดุเพาะคือ พวกฟางข้าวหรือเปลือกถั่วหรือจะผสมผสานกันก็ได้ ชั้นที่สองเป็นอาหารเสริมอย่างผักตบชวาสดแล้วก็โรยด้วยเชื้อเห็ดฟาง ทั้งหมดคลุมด้วยวัสดุเล็กน้อยกดให้แน่น ๆ ซึ่งเชื้อเห็ดฟางอาจจะคลุกเคล้าด้วยแป้งสาลีหรือแป้งข้าวเหนียว จะทำให้เส้นใยเดินได้เร็ว โรยอาหารเสริมทั้งหมดเต็มพื้นที่ของผิวตะกร้า ให้ต่ำกว่าปากตะกร้าประมาณ 1 ช่องตา และรดน้ำประมาณ 2 ลิตร รดทั้งด้านบนตะกร้าและด้านข้างตะกร้า ยกใส่กระโจมเล็ก ๆ หรือใส่ถุงพลาสติกใสขนาดใหญ่ ประมาณวันที่ 4ก็เปิดสำรวจดูว่ามีเส้นใยมากไหม ถ้ามากก็ตัดเส้นใยสัก 5 ถึง10 นาที แล้วคลุมไว้อย่างเดียว ถ้าแห้งก็รดน้ำ ประมาณวันที่ 7 – 8 ก็เก็บผลผลิตได้ เทคนิคการโรยเชื้อเห็ดชั้นที่ 1 – 2 คือโรยให้ชิดขอบตะกร้า ตรงกลางไม่ต้องโรย ส่วน ชั้นที่ 3 โรยให้เต็ม
ที่มา : http://www.yimkaset.com/