วันศุกร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

จาก “ขยะข้าวโพด” สู่ “เห็ดฟางตะกร้าปลอดสารพิษ” ลดขยะ ลดหนี้ สร้างอาชีพ

จาก “ขยะข้าวโพด” สู่ “เห็ดฟางตะกร้าปลอดสารพิษ” ลดขยะ ลดหนี้ สร้างอาชีพ
เปลี่ยนขยะข้าวโพด เป็นเห็ดฟางปลอดสารพิษ thaihealth
ทุกวันนี้คนไทยกว่า 60 ล้านคน สามารถสร้างขยะได้มากถึง 14 ล้านตันต่อปี แต่ความสามารถในการจัดเก็บขยะกลับมีไม่ถึง 70% ของ ขยะที่เกิดขึ้น จึงทำให้เกิดปริมาณขยะมูลฝอยตกค้างตามสถานที่ต่างๆ หรือมีการนำไปกำจัด โดยวิธีที่ไม่ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมตามมามากมาย ทั้งอากาศเสีย เกิดควันและสารมลพิษทางอากาศ น้ำเสีย แหล่งพาหนะนำโรค จากขยะมูลฝอยตกค้างบนพื้น และอื่นๆ อีกมากมาย
และหากแยกย่อยแต่ละประเภทขยะ จะพบว่า “ขยะเหลือใช้ทางการเกษตร” ติดอันดับต้นๆ ที่น่าเป็นห่วง เพราะข้อมูลจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พบว่าหลายปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรปริมาณมากถึง 195,303,000 ตัน/ปี อาจเพราะว่าเราเป็นประเทศเกษตรกรรม เป็นแหล่งกำเนิดผลผลิตเกษตรกรรม ทำให้มีของเสียเหลือทิ้งจากภาคเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตรแปรรูปเป็นจำนวนมาก
ย้อนกลับไปในอดีตวัสดุเหลือทิ้งไม่ว่าจะเป็นตอซังข้าว ใบไม้ต่างๆ ส่วนใหญ่มักถูกไถกลบบนพื้นที่ที่จะทำการเพาะปลูก ซึ่งถือเป็นการหมุนเวียนเอาของเสียที่เกิดขึ้นนำมาใช้ประโยชน์ แต่ปัจจุบันมีการเร่งผลผลิตให้ได้ปริมาณมากขึ้นให้เพียงพอกับความต้องการของผู้บริโภค จึงมีการนำปุ๋ยเคมีมาใช้แทนการฝังกลบ ทำให้เกิดของเสียจากการเกษตรเพิ่มขึ้น ซึ่งจะดีไหมหากเรามีวิธีนำเอาวัสดุเหล่านั้นกลับมาใช้ประโยชน์ โดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเป็นการกำจัดของเสียไปในตัว
“บ้านสันรุ่งเรือง” หมู่ที่ 6 ต.น้ำมวบ อ.เวียงสา จ.น่าน เป็นอีกหนึ่งชุมชนที่ประสบปัญหาขยะจากการทำเกษตรกรรม เนื่องจากสภาพพื้นที่ อยู่ห่างไกล เป็นพื้นที่บริเวณภูเขาสูงล้อมรอบ ประชาชนส่วนใหญ่ทำการเกษตรกรรมพืชที่เปลี่ยนขยะข้าวโพด เป็นเห็ดฟางปลอดสารพิษ thaihealthปลูกส่วนใหญ่คือ “ข้าวโพด” และเมื่อสิ้นสุดฤดูเก็บเกี่ยว สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ขยะจากเปลือกข้าวโพดจำนวนมาก โดยวิธีการที่ชาวบ้านเลือกใช้ในการกำจัดขยะคือการเผาทิ้ง ส่งผลให้เกิดหมอกควัน เป็นมลพิษสิ่งแวดล้อม และเสี่ยงต่อการเกิดไฟป่า หรือไฟไหม้ลุกลามมาสู่ชุมชนได้
ร้อนมาถึง “คณะกรรมการหมู่บ้าน” ต้องหาวิธีแก้ปัญหานี้เป็นการด่วน เพื่อทำให้ชุมชนสะอาด และมีความปลอดภัยทั้งสุขภาวะองค์รวม ด้วยวิธีที่ใช้คือกระบวนการแบบมีส่วนร่วมของชุมชน เปิดให้ชาวบ้านที่เป็นเกษตรกร เข้ามาร่วมคิด ร่วมสร้าง หาทางออกให้กับปัญหาดังกล่าว
“สันติ ไชยวุฒิ” ผู้ใหญ่บ้านนาผา ต.อ่ายนาไลย อ.เวียงสา จ.น่าน แกนนำคนสำคัญ เล่าว่า จากการสำรวจพบปัญหาสำคัญของชุมชนคือขยะ ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและสภาพแวดล้อม ที่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรค ทำให้คนเจ็บป่วย รวมถึงปัญหาหมอกควันจากการเผาขยะ จึงดำเนินโครงการ “บ้านนาผาน่าอยู่การจัดการปัญหาขยะชุมชน” โดยมีตัวแทนจากคณะกรรมการ เข้ามาดูแลเรื่องการะรีไซเคิลขยะ โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมจัดการขยะ จนในที่สุดเกษตรกรและประชาชนในพื้นที่ เกิดความสนใจที่จะนำขยะข้าวโพดมาแปรรูป ให้เกิดประโยชน์ แทนการเผาทิ้ง และทางออกของ “ขยะจากข้าวโพด” คือ การนำตอซังข้าวโพดมาเพาะเห็ดฟางตะกร้า นั่นเอง
ที่มาของวิธีดีๆ นี้ มาจากการที่คณะกรรมการหมู่บ้าน ได้มีโอกาสไปศึกษาดูงานในหลายพื้นที่ อาทิ การใช้ฟางข้าวมาทำปุ๋ยสูตรแม่โจ้ เพาะเห็ดฟางตะกร้าจากฟางข้าว และได้ความรู้เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาขยะปาล์มน้ำมัน จากบ้านบางยางพัฒนา อ.นครไทย จ.พิษณุโลก ที่ได้แก้ไขโดยการนำขยะปาล์มน้ำมันมาทำแปลงเพาะเห็ดฟาง ซี่งได้ผลผลิตดีมากส่งผลเกิดเป็นขยะสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนเป็นจำนวนมากในปัจจุบัน หรือไปศึกษาดูงานที่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลน่าน ล้านนา (เกษตรน่าน) เพื่อไปเรียนรู้การจัดการขยะในรูปแบบต่างๆ เน้นการนำมาทำเพาะเห็ด โดยมี ผศ.ดร.แสงแก้ว คำกวน เป็นวิทยากรให้คำแนะนำพร้อมสนับสนุนเป็นที่ปรึกษาในการแก้ไขปัญหาในชุมชนอย่างต่อเนื่อง
ซึ่งวิธีการนี้ ได้รับความสนใจจากชาวบ้านในพื้นที่เป็นอย่างมาก ด้วยวิธีการทำที่ง่าย ให้ผลผลิตได้เร็ว โดยเปลี่ยนขยะข้าวโพด เป็นเห็ดฟางปลอดสารพิษ thaihealthการทำเห็ดฟางตะกร้าจากขยะข้าวโพดซึ่งใช้เวลาเพียง 15-20 วัน ก็สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ เกิดเป็นรายได้เสริมที่เข้ามาอย่างต่อเนื่อง ที่สำคัญเกิดการสร้างเครือข่ายเพาะเห็ดฟางตะกร้าไปสู่ครัวเรือนข้างเคียง
ผลสัมฤทธิ์ที่เกิดขึ้นนี้ นอกจากจะช่วยลดปัญหาขยะข้าวโพดในพื้นที่แล้ว ยังเป็นผลดีต่อสิ่งแวดล้อมของประเทศ เพราะวิธีการรีไซเคิลขยะข้าวโพด เพื่อไปสร้างอีกหนึ่งผลผลิตทางการเกษตร อย่าง “เห็ดฟางตะกร้า” ยังช่วยให้คนในชุมชน 85% รู้จักวิธีการจัดการขยะถูกวิธี เกิดเป็นธนาคารขยะชุมชน ที่ทุกครัวเรือนเป็นสมาชิก ทำให้เกิดการออมเงิน ส่งผลต่อเนื่องมาถึงเกิดการบริโภคอาหารปลอดภัย จากการเพาะเห็ดฟางตะกร้าจากขยะข้าวโพดอีกด้วย
และในอนาคต “บ้านสันรุ่งเรือง” มีการเตรียมที่จะดำเนินการแก้ไขปัญหาแบบครบวงจร โดยจะพัฒนาให้แกนนำสามารถทำเพาะเชื้อเห็ดได้เองในชุมชน พร้อมกับพัฒนาเป็นพื้นที่เรียนรู้การนำขยะข้าวโพดมาเพาะเห็ดฟางทั้งตะกร้าและโรงเรือนต่อไป

วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

เห็ดฟางกลางสวน

-ยามนี้หาทานเห็ดฟางง่าย เพราะเป็นฤดูเพาะปลูกหลักของทุกปี ส่วนใหญ่เป็นการเพาะแบบกองเตี้ย กลางแจ้งด้วยฟางข้าวใหม่

     -เห็ดฟางดูเหมือนเพาะง่าย ใช้เวลาสั้น ลงทุนต่ำเพราะใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร และยังมีราคาดีตลอดปีถ้าเทียบกับเห็ดชนิดอื่นๆ แต่ที่จริงยังมีคนเพาะน้อย เพราะต้องใช้ความชำนาญสูงกว่าการเพาะเห็ดก้อน

     -อากาศ อุณหภูมอ ความชื้น เปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยก็มีผลต่อการออกดอกของเห็ดฟางทั้งสิ้น เห็ดฟางจึงได้ชื่อว่าเป็น"เห็ดปราบเซียน"

     -เห็ดฟางแม้เพาะยาก แต่การเกิดในธรรมชาติง่ายกว่า หากรู้จักคุ้นเคยและช่างสังเกตุอาจได้เคยเห็นเห็ดฟางเกิดในกองฟางเก่าๆ กองเศษถั่วเหลือ ถั่วเขียว ซังข้าวโพด แม้แต่เศษวัชพืชที่ตัดทิ้งในสนามหญ้า หรือ ตับคาเก่าที่รื้อทิ้งเน่าเพราะลมฝนก็มีเห็ดฟางเกิดขึ้นได้

     -เห็ดฟางมีรสชาดดี หวาน เหนียว กรอบโดยเฉพาะก้าน นิยมกินเห็ดฟางช่วงดอกตุม เห็ดฟางเพาะหรือเห็ดฟางที่เกิดเองในธรรมชาติก็รสชาดดีไม่เปลี่ยน ต่างที่เห็ดฟางเพาะเก็บได้ไม่นานเท่า

     -รูปที่นำมาให้ดูเป็นเห็ดฟางที่เกิดขึ้นในกองปุ๋ยหมักจากก้อนเห็ดเก่า วัชพืช และมูลสัตว์ ออกดอกในฤดูฝนที่ผ่านมา ออกดอกมาก กินจนคนเบื่อ เหลือขายอีกด้วย เห็ดฟางที่ออกดอกเองสีคล้ำเพราะแดด ก้านยาวเพราะต้องโผล่ออกจากดินลึก แต่ก็ยังคงมีคุณสมบัติเห็ดฟางเหมือนเดิม ไม่เปลี่ยน



วันพุธที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

การเพาะเห็ดฟางในถุง,เห็ด,เห็ดฟาง,อาชีพ

การเพาะเห็ดฟางในถุง,เห็ด,เห็ดฟาง,อาชีพ


การเพาะเห็ดฟางในถุงสามารถจัดหาวัสดุอุปกรณ์อย่างง่ายๆ โดยไม่ต้องจัดซื้อใหม่ส่วนมากใช้วัสดุใช้แล้วนำมาทำความสะอาด และปรับแก้ให้มีความเหมาะสมในการนำมาใช้ อุปกรณ์ที่ใช้เพาะเห็ดฟางได้แก่
1 ถุงเพาะเห็ดฟาง
2 เชื้อเห็ดฟาง
3 อาหารเสริม
4 อาหารคลุกเชื้อเห็ดฟาง 
5 วัสดุเพาะ
6 เชือกมัดถุง
สำหรับการเตรียมวัสดุอุปกรณ์ดังกล่าวมีวิธีการเตรียมดังนี้
1 ถุงเพาะเห็ดฟาง 
ถุงเพาะเห็ดฟางเป็นถุงปุ๋ยเคมีที่ล้างทำความสะอาดแล้ว หรือถุงบรรจุข้าวสาร อาหารสัตว์ โดยเลือกถุงที่มีขนาด 50 กิโลกรัม
 นิยมใช้สีฟ้าหรือสีขาว ซึ่งให้ผลดีสำหรับเพาะเห็ดฟางในถุง และสามารถนำกลับมาใช้ได้อีกประมาณ 5-6 ครั้ง ไม่ควรใช้ถุง
พลลาสติกชนิดถุงพลาสติกสีดำ สีเหลืองหรือสีน้ำเงิน เนื่องจากการระบายอากาศไม่ดี ทำให้เห็ดฟางเกิดดอกน้อย ซึงอาจจะ
ไม่เกี่ยวกับสีของถุงโดยตรง แต่อาจจะเกี่ยวกับลักษณะการถ่ายเทอากาศ ความชื้น อุณหภูมิที่ผ่านเข้าออกได้ การเพาะเห็
ฟางในถุง 1 ถุง ใช้วัสดุเพาะเห็ดฟางที่เหมาะสม ควรบรรจุเพาะเห็ดฟางประมาณ 5 กิโลกรัม ต่อถุง 
2 เชื้อเห็ดฟางที่ดี 
เชื้อเห็ดฟางจัดเป็นหัวใจที่สำคัญที่สุด ในการเพาะเห็ดฟางทุกวิธี ควรคัดเลือกเชื้อเห็ดฟางที่ดีมีคุณภาพ แลดะตรงตามที่ตลาด
ต้องการ เชื้อเห็ดฟางที่ผลิตในท้องถิ่นจะมีความเหมาะสมเป็นอย่างยิ่ง เชื้อเห็ดฟาง ถุง สามารถใช้เพาะเห็ดฟางได้ 4 ถุง
3 อาหารเสริม
อาหารเสริมเป็นตัวช่วยในการกระตุ้นการเจริญเติบโตของเส้นใยเห็ดฟาง เพื่อให้เชื้อเห็ดฟางมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว 
แข็งแรงและให้ผลผลิตสูง อาหารเสริมที่นิยมใช้มีหลายชนิด ซึ่งดัดแปลงตามความเหมาะสมตามวัสดุที่มีอยู่ในห้องถิ่น 
เช่นผักตบชวาสด ไส้นุ่น ดินร่วนผสมปุ๋ยคอกแห้ง ต้นกล้วยสดหั่นตากแห้งและขี้ฝ้าย การเลือกใช้อาหารเสริมควรพิจารณ
ถึงคุณสมบัติดังต่อไปนี้
1 ความสะอาดปราศจากเชื้อราหรือโรคพืช
2 ต้องอยู่ในสภาพที่แห้ง(ยกเว้นผักตบชวา)โดยเฉพาะ ไส้นุ่น ขี้ฝ้าย และปุ๋ยคอก
3 สามารถย่อยสลายได้ง่าย
4 ไม่มีสารพิษจากวัสดุที่เป็นอาหารเสริม เช่น สารแทนนิน เพราะจะทำให้เห็ดฟางไม่เจริญเติบโต
5 ไม่ควรใช้สารเคมีที่เป็นพิษตกค้าง เช่นสารกำจัดเชื้อราประเภทดูดซึม
6 จัดหาง่ายมีอยู่ในท้องถิ่นตลอดทั้งปี
4 อาหารคลุกเชื้อเห็ดฟาง
อาหารคลุกเชื้อเห็ดฟางเป็นอาหารที่ไปช่วยกระตุ้นเชื้อเห็ดฟางในระยะแรกๆ ทำให้เส้นใยเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว 
อาหารวัสดุคลุกเชื้อเห็ดฟางเป็นวัสดุประเภทคาร์โบไฮเดรต แต่ถ้าใช้มากเกินไปก็อาจจะทำให้ราเขียว หรือราชนิดอื่นเติบ
โตก่อนเชื้อเห็ดฟางก็ได้ ทำให้เห็ดฟางที่เพาะในถุงนั้นเสียหาย หรือไม่มีผลผลิตเลย อย่างไรก็ตามขอแนะนำการเลือก
ใช้อาหารคลุกเชื้อ ควรพิจารณาคุณสมบัติดังต่อไปนี้ 
1 ต้องเป็นอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต เช่น แป้งจากเมล็ดธัญพืช แป้งสาลี แป้งข้าวเหนียว และรำละเอียด
2 เป็นอาหารที่ใหม่สะอาดไม่มีกลิ่นอับ ไม่มีจุลินทรีย์อื่นๆ ปนเปื้อน
3 ราคาถูกคุ้มค่าต่อการลงทุนและนำไปใช้
4 เก็บรักษาไว้ได้นานไม่เสียหายง่าย
5 มีความเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตเส้นใยเห็ดฟางเป็นอย่างดี

การใช้อาหารคลุกเชื้อเห็ดฟาง มีจุดประสงค์เพื่อ
1 เป็นวิธีการกระตุ้นเชื้อเห็ดฟางให้เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว หนาแน่น และแข็งแรง ครอบคุลุมวัสดุเพาะเห็ด
อย่างรวดเร็ว อันจะมีผลทำให้จุลินทรีย์อื่นๆ ไม่สามารถเข้ามาเจริญเติบโตในวัสดุเพาะเห็ดฟางได้ทัน
2 เป็นอาหารเสริมและกระตุ้นให้กับเส้นใยเห็ดฟางในระยะแรกๆ ทำให้เส้นใยเห็ดฟางไม่ชะงักการเจริญเติบโต 
และสามารถปรับเข้าวัสดุเพาะได้ดียิ่งขึ้น
ในการใช้อาหารคลุกเชื้อมีข้อควรระวังคือไม่ควรใส่มากเกินไป เพราะจะทำให้เส้นใยเจริญเติบโตก่อนที่เส้นใยเห็ดจะเจริญ
5 วัสดุเพาะ
วัสดุเพาะ หมายถึง วัสดุที่ใช้เป็นอาหารเพาะเห็ดฟาง ควรเป็นวัสดุที่ย่อยได้ง่าย วัสดุเพาะเห็ดฟางดังกล่าว 
ต้องมีความสะอาดไม่มีเชื้อรา และอยู่ในสภาพที่เหมาะสมในการที่จะนำไปเพาะเห็ดฟางดังกล่าวต่อไป
6 เชือกมัดถุง
เชือกมัดถุงเป็นเชือกฟางหรือเชือกอื่นๆก็ได้ ต้องมีความเหนียวรับน้ำหนักได้ประมาณ 5-6 กิโลกรัม ความยาว 1 เมตร
การใช้พลายแก้วกำจัดโรคเห็ด
ไรขาวใหญ่
การกำจัดไรเห็ด
ปัญหาการเพาะเห็ดฟาง
ราเขียวเพนนิซีเลียมและเพซีโลไมซีส
การเพาะเห็ดในโอ่ง
จุลินทรีย์กำจัดเพลี้ย
ราสีส้ม
ขั้นตอนการเพาะเห็ดฟางในถุง
1 ขั้นตอนการเตรียมวัสดุเพาะเห็ดฟาง
ขั้นตอนนี้มี 3 ขั้นตอนย่อยคือ 1การเตรียมวัสดุหลัก 2 การตรียมผักตบชวาสด และ 3 การเตรียมเชื้อเห็ดฟาง
1.1 การเตรียมวัสดุหลัก เป็นการเตรียมวัสดุเพาะเห็ดฟางในถุง ต้องจัดเตรียมวัสดุเพาะเห็ดฟางในถุง
 ดังนั้นจึงต้องเตรียมการล่วงหน้า ตามขั้นตอนโดยจัดเตรียมวัสดุแต่ละชนิดให้เหมาะสม
1.2 การเตรียมผักตบชวาสด เป็นการเตรียมผักตบชวาสด เพื่อนำมาเป็นอาหารเสริมสำหรับเพาะเห็ดฟางในถุง 
วิธีการจัดเตรียมผักตบชวาดังนี้
- เลือกผักตบชวาที่ไม่มีโรค
- ตัดแต่งใบ หรอก้านใบส่วนแก่เกินไป หรือโรคทิ้งออกไปให้หมด
- ล้างทำความสะอาดผักตบชวา
- หั่นผักตบชวาและนำไปใช้ทันที่ โดยใช้อัตรา 1 กิโลกรัม ต่อวัสดุเพาะเห็ดฟาง 1 ถุง
1.3 เตรียมเชื้อเห็ดฟาง
เป็นการเตรียมเชื้อเห็ดฟางให้พร้อมที่จะเพาะได้ทันที ควรเตรียมการก่อนเพาะเห็ดฟางเพียงเล็กน้อยหรือ
เตรียมการไปและเพาะไป เป็นขั้นตอนไปตลอดการเพาะ เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายกับเชื้อเห็ดฟางที่จะเพาะได้ 
เช่นเชื้อเห็ดฟางแห้งกลัง หรือมีเชื้อจุลินทรีย์ชนิดอื่นปะปน ซึ่งจะทำให้การเพาะไม่ค่อยได้ผล

2 ขั้นตอนการเพาะเห็ดฟางในถุง
การเพาะเห็ดฟางในถุงมีขั้นตอนการดำเนินการ การต่อเนื่องจากขั้นตอนการเตรียมวัสดุเพาะเห็ดฟาง มี 2 วิธีคือ
วิธีที่ 1 ใช้วัสดุเพาะผสมกันบรรจุลงในถุง โดยมีส่วนผสม คือ วัสดุเพาะ อาหารเสริม หรือผักตบชวาหั่น 
และเชื้อเห็ดฟาง จากนั้นนำส่วนผสมทั้งหมดมาคลุกเคล้าให้เข้ากันดังนี้
- นำวัสดุเพาะเห็ดฟางที่เตรียมไว้เกลี่ยแผ่กองออกให้หนาประมาณ 2-3นิ้ว
- นำเชื้อเห็ดฟางที่เตรียมไว้แล้ว ผสมคลุกเคล้ากับวัสดุเพาะเห็ดฟางให้ทั่ว
- นำวัสดุเพาะเห็ดฟางที่ผสมด้วยเชื้อเห็ดฟางแล้ว บรรจุลงในถุงประมาณ 5 กิโลกรัม ยกกระแทกกับพื้นหรือ
ใช้มือกดเพื่อให้วัสดุเพาะแน่นพอสมควรกดจากภายนอกให้วัสดุเพาะเห็ดฟางมีความหนาประมาณ 20 เชนติเมตร
- จับและรวบปากถุงเป็นจีบเข้าหากัน แล้วมัดปากถุงด้วยเชือกให้แน่น โดยมัดในจุดที่สูงที่สุดเพื่อให้มีลักษณะเป็นกระโจม
- นำถุงบรรจุเพาะเห็ดฟางไปตั้งไว้ หรือแขวน ไว้ในที่ ที่มีความชื้น เช่นใต้ร่มเงาต่างๆหรือใต้ร่มไม้ก็ได้ 
ประมาณ 8-10 วัน ดอกเห็ดฟางจะขึ้น บนผิวเพาะเห็ดฟางภายในถุง และเมื่อดอกเห็ดฟางมีความ
เหมาะสมก็สามารถเก็บเกี่ยวได้

วิธีที่ 2 การเพาะเห็ดฟางแบบจัดเรียงวัสดุเพาะ ที่เตรียมไว้เป็นชั้นในถุงเพาะ โดยการเรียงวัสดุเพาะเป็น 3 ชั้น
 คือใส่วัสดุเพาะไว้ด้านล่างในถุงแล้วกดให้หนาประมาณ 20 เซนติเมตร จากนั้นใส่อาหารเสริมหรือผักตบชวาสด
หั่นวางเป็นชั้นเหนือวัสดุเพาะ และสุดท้ายใส่เชื้อเห็ดฟางที่เตรียมไว้ เสร็จแล้ว ใส่เป็นชั้นบนผักตบชวาสดหั่นแล้วมัด
ปากถุงและนำไปเพาะในสถานที่เพาะ

การปฏิบัติดูแลการเพาะเห็ดฟางในถุง
1. อุณหภูมิ มีความสัมพันธ์กับความชื้นในโรงเรือนในฤดูฝน และฤดูร้อนช่วงวันแรกถึงวันที่ 4 ของการเพาะเห็ดฟางในถุง 
ส่วนฤดูหนาวช่วงวันแรกถึงวันที่ 6 ของการเพาะเห็ดฟางในถุง เป็นช่วงเวลาที่เชื้อเจริญเติบโต และต้องการอุณหภูมิ
ประมาณ 37-40 องศาเซลเซียส ขณะที่อุณหภูมิอยู่ที่ 30-35 องศาเซลเซียส เวลาลากลางวัน ในช่วงเวลา 13.00-15.00 นาฬิกา
 ส่วนช่วงเลยวันดังกล่าวคือ ในฤดูร้อนหรือฤดูฝน ช่วงวันที่ 5-8 ของการเพาะเห็ดฟาง ส่วนช่วงฤดูหนาวช่วง
วันที่ 7-12 เห็ดฟางต้องการอุณหภูมิภายในวันสดุเพาะ28-32 องศาเซลเซียส ขณะที่อุณหภูมิภายในโรงเรือนอยู่ที่ 25-27 
องศาเซลเซียส ในช่วงนี้เชื้อเห็ดฟางจะเจริญและพัฒนาเป็นดอกเห็ดได้ดี ดังนั้นผู้เพาะเห็ดฟางควรควบคุมอุณหภูมิ
ในช่วงดังกล่าวให้ดี เพราะอาจจะทำให้เกิดปัญหาต่อการเพาะเห็ดฟางได้
การแก้ปัญหาอุณหภูมิสูงเกินไป 
1. เปิดประตูหรือเปิดช่องด้านข้างของโรงเรือน เพื่อระบายอากาศออกจากโรงเรือนควรเปิดให้อากาศระบายออกอย่างช้าๆ
 เพื่อไม่ให้เชื้อเห็ดฟางชะงักการเจริญเติบโต
2. รดน้ำบนพื้นโรงเรือนเพื่อให้เกิดความชื้นมากขึ้น ก็ช่วยลดอุฯหภูมิลงได้
3. ใช้พัดลมเป่าภายในโรงเรือน เมื่ออุณหภูมิลดลงในระดับที่เหมาะสมแล้วค่อยปิดพัดลม
4. ใช้สปริงเกอร์ฉีดพ่นเป็นละอองฝอยฉีดพ่นภายในโรงเรือน
5. ใช้ตาข่ายสีดำบังแสงแดดทางด้านทิศตะวันตก
การแก้ปัญหาอุณหภูมิต่ำเกินไป
1. ให้วางถุงเห็ดฟางติดกับพื้นดิน อุณหภูมิของดินจะช่วยให้อุณหภูมิในถุงเพิ่มขึ้นได้
2. การขุดดินต่ำลงกว่าระดับปกติวางถุงเพาะเห็ดฟางลงในหลุมนั้น อุณหภูมิของดินจะทำให้อุณหภูมิภายในถุงเพาะ
เห็ดฟางสูงขึ้นได้
3. ติดหลอดไฟภายในโรงเรือน
4. ใช้เครื่องทำความร้อน

2.ความชื้น
ความชื้นของวัสดุเพาะเห็ดฟางควรอยู่ที่ระดับ 60-65 เปอร์เซ็นต์ ความชื้นภายในโรงเรือนควรมีระดับ 80 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป
 ผู้เพาะเห็ดฟางควรติดตั้งไฮโดรมิเตอร์ เพื่อวัดระดับความชื้นภายในโรงเรือน ความชื้นในวัสดุเพาะเห็ดฟางที่สูงเกินไป 
แก้ไขปัญหาโดยการเปิดถุงออกให้ความชื้นระเหยออก ประมาณ 1-3 ชั่วโมง แล้วปิดปากถุงไว้เช่นเดิม
 แต่ถ้าวัสดุเพาะเห็ดฟางแห้งเกินไปควรใช้กระบอกฉีดน้ำพ่นเป็นละอองฝอย แต่ห้ามใช้บัวรดน้ำเพราะจะทำให้
เส้นใยเห็ดฟางขาด เส้นใยไม่เจริญเติบโตเน่าเสียได้ง่าย หรือแก้ไขโดยรดน้ำด้วยบัวไปที่ผิวภายนอกที่ถุงเพาะนั้น
 รดแบบผ่านไปเร็วๆ 2-3 ครั้ง ให้ทั่ว

การระบายอากาศภายในถุงเพาะเห็ดฟาง
เป็นการช่วยเห็ดฟางได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ จะทำในช่วงวันที่ 4 ของการเพาะเห็ดฟางในถุง ของฤดูร้อนหรือฤดูฝน 
ส่วนฤดูหนาวเป็นช่วงวันที่ 5-6 หรือสังเกตความหนาแน่ของเส้นใยเห็ดฟาง มีความหนาแน่นน้อย หรือเจริญแบบบางเกินไป ค
วรยืดเวลาออกไป 1-2 วัน การระบายอากาศทำได้โดยระบายอากาศในช่วงเย็น ½-1 ชั่วโมงในช่วงเย็น

การให้น้ำเพื่อตัดเส้นใยของเชื้อเห็ดฟาง
ใช้บัวรดน้ำแบบฝอยละเอียดรดไปยังวัสดุเพาะเห็ดฟาง แบบผ่านไปมาค่อนข้างเร็ว 2-3 ครั้ง หรือใช้กระปุกฉีด
น้ำเป็นละอองฝอย ฉีดพ่นไปยังวัสดุเพาะเห็ดฟาง ประมาณ 3-5 ครั้ง ทำให้เชื้อเห็ดฟางขาดทำให้เชื้อเห็ดฟางพัฒนา
เป็นดอกเห็ดได้มากขึ้น ควรทำต่อเนื่องจากการระบายอากาศไปเลย

การเก็บเกี่ยวดอกเห็ดฟาง
ระยะเวลาการเก็บเกี่ยวดอกเห็ด การเพาะเห็ดฟางในถุงมักให้ผลผลิตช้ากว่าการเพาะเห็ดฟางแบบเดิม 1-2 วัน คือ
 ในฤดูร้อนและฤดูฝน ดอกเห็ดฟางจะเจริญเติบโตมีผลผลิตให้เก็บเกี่ยวได้ประมาณวันที่ 9-10 แต่ถ้าอุณหภูมิสูงขึ้น
 การเพาะเห็ดฟางในถุงจะมีผลผลิตให้เก็บเกี่ยวได้เร็วขึ้น 1-2 วัน คือเก็บเกี่ยวได้ในช่วงวันที่ 7-8 ของการเพาะ
เห็ดฟางในถุง ถ้าอุณหภูมิต่ำลงจะมีผลผลิตให้เก็บเกี่ยวได้ ช้าลง 1-2 วัน คือเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ในวันที่ 11-12 
ของการเพาะเห็ดฟางในถุง
การเพาะเห็ดฟางในถุงยังมีรายละเอียดอีกมากมาย ขอให้ผู้สนใจศึกษารายละเอียดให้ดีก่อนลงมือปฏิบัตินะครับ

วันจันทร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

เกษตรกรชาวเชียงใหม่หัน ‘เพาะเห็ดฟางคอนโด’ ชี้ ช่วยสร้างรายได้เสริมทดแทนการทำนาปรังในช่วงหน้าแล้ง

สำนักงานเกษตรอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ลงพื้นที่สอนวิธีเพาะเห็ดฟางในตะกร้าหรือเพาะเห็ดฟาง แบบคอนโดให้กับชาวบ้านและเกษตรกรที่ประสบปัญหาภัยแล้งกว่า 50 ราย ได้มีอาชีพเสริมเลี้ยงครอบครัว ทั้งนี้เกษตรกรเลือกที่จะพักการปลูกข้าวนาปรัง และหันมาหารายได้ด้วยการเพาะเห็ดฟางขายในช่วงฤดูแล้ง
สำหรับวิธีการเพาะเห็ดฟางก็ไม่ยุ่งยาก เพียงนำฟางข้าวแห้งที่แช่น้ำไว้สองวัน นำมาใส่ในก้นตะกร้าขนาดความสูง ประมาณ 11 นิ้ว จากนั้นโรยเชื้อเห็ดให้เต็มพื้นที่ และ นำฟางกดทับให้แน่นและใส่ฟางสลับเชื้อเห็ดรวม 4 ชั้น เพียงสองสัปดาห์ก็จะออกดอกและเก็บผลผลิตนำไปบริโภคหรือขายได้ ซึ่ง 1 ตะกร้า ต้นทุนประมาณ 50 บาท สามารถเก็บผลผลิตได้ 2- 3 ครั้ง เฉลี่ยได้ครั้งละประมาณ 1 กิโลกรัม
555

ด้าน นักวิชาการเกษตรอำเภอแม่ริม กำลังอธิบายวิธีและขั้นตอน การเพาะเห็ดฟางในตะกร้า ซึ่งใช้พื้นที่น้อยสามารถเพาะในแนวดิ่งได้ ที่สำคัญใช้น้ำน้อยเพียงฉีดพ่นลำเป็นละอองก็เพียงพอ ขณะที่เห็ดฟางเป็นพืชเศรษฐกิจที่ เป็นที่ต้องการของตลาด ทำให้ได้รับความสนใจจากชาวบ้านและเกษตรกรในอำเภอแม่ริมจำนวนมาก เนื่องจากเป็นพืชใช้น้ำน้อย เหมาะกับสถานการณ์ความแห้งแล้งที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้ โดยเกษตรกรหลายคนเลือกที่จะพักการปลูกข้าวนาปรัง หันมาหารายได้ด้วยการเพาะเห็ดฟางขายในช่วงฤดูแล้ง

วันเสาร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

เห็ดฟางในตระกร้า เพาะง่าย เนื้อที่น้อย รายได้เกินแสน



กระแสรักสุขภาพยังคงไม่หนีไปไหน เห็ดฟางเป็นผลผลิตทางการเกษตรที่ได้รับความนิยมในกลุ่มของผู้บริโภคและผู้ปลูก ใครที่ต้องการหารายได้เสริมจากการเพาะเห็ดฟางขาย และมีพื้นที่ไม่มาก เหมาะกับเรื่องราวที่จะนำเสนอต่อไปนี้


เทคนิคการเพาะเห็ดฟางในตะกร้า 
      
       นั่นคือ เทคนิคการเพาะเห็ดฟางในตะกร้าพลาสติก การเพาะเห็ดฟางในตะกร้านี้เป็นวิธีการเพาะเห็ดฟางที่ประยุกต์ขึ้นมา แต่เดิมนั้นการเพาะเห็ดฟางแบบทั่วไปใช้พื้นที่ใน แนวราบ มาตรฐานของการเพาะเห็ดฟางในพื้นที่ราบ 1 ตารางเมตร ได้ผลผลิตได้ถึง 3 กิโลกรัม ถือว่ายอดเยี่ยมการเพาะเห็ดฟางแบบใน ตะกร้าจะใช้พื้นที่ในแนวสูงกับแนวราบของพื้นที่ตะกร้าที่เป็นทรงกระบอก
      
       โดยสามารถใช้ตะกร้าซักผ้า ตะกร้าใส่ผลไม้ ตะกร้าใส่ปลา ของชาวประมง คือไม่สูงมากประมาณ 1 ฟุต รอบ ๆ ตะกร้าจะมีตามีช่องด้านบนเห็ดก็สามารถออกได้ และสามารถนำตะกร้าซ้อนกันได้หลายชั้น เป็นลักษณะของการเพิ่มพื้นที่การออกดอกของดอกเห็ด ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีทำเหมาะกับทุกรูปแบบ 
ตระกร้าพลาสติก

จุดคุ้มทุน เมื่อเทียบกับการเพาะแบบอื่นๆ 
      
       จุดคุ้มทุน ทั้งนี้ จากการเก็บตัวเลขในกระบวนวิจัยบนพื้นที่ 1 ตารางเมตร สามารถวางได้ถึง 9 ตะกร้า โดยวางชั้นเดียวเมื่อ 1 ตารางเมตร วางได้ถึง 9 ตะกร้า จะได้เห็ดไม่ต่ำกว่า 1 กิโลกรัม ต่อ 1 ตะกร้า เพราะฉะนั้น 1 ตารางเมตร ได้อย่างน้อย 9 กิโลกรัม เปรียบเทียบ
       แบบกอง คือ 3 กิโลกรัม แบบตะกร้าได้มากกว่า แนวทางในการพัฒนาตรงนี้ค่อนข้างจะเป็นที่สนใจของนักวิชาการ และผู้สนใจที่จะเพาะเห็ดอยู่มาก
      
 
วัสดุที่ใช้ในการเพาะเห็ด 
      
       วัสดุที่เพาะเห็ดฟางนั่นมีอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น ฟางข้าว ถั่ว หรือเปลือกถั่วได้ทุกชนิด เปลือกมันสำปะหลัง ต้นข้าวโพดแห้ง (นำมาสับ และนำไปแช่น้ำก็สามารถนำมาเพาะได้เช่นกัน ) ผักตบชวา ต้นกล้วยหั่นตากแห้ง ทะลายปาล์ม หรือผลปาล์ม ขี้เลื่อยไม้เนื้ออ่อนทุกชนิด แม้แต่กระดาษก็สามารถนำมาเพาะเห็ดฟางได้ แต่ส่วนใหญ่จะนิยมนำกระสอบป่านเก่าๆ ผ่านการแช่น้ำมาแล้ว มาใช้เป็นวัสดุได้เช่นกัน เรียกได้ว่า อะไรที่มาจากธรรมชาติ และเก็บความชื้นได้ดี ก็สามารถนำมาเป็นวัสดุในการเพาะเห็ดฟางได้ทั้งสิ้น
      
       ทั้งนี้ ในแต่ละพื้นที่ก็อาจจะมีวัสดุที่แตกต่างกันไป แต่ที่ได้รับความนิยมในภาคใต้ ก็จะเป็นพวก ขุยมะพร้าว โดยขุยมะพร้าว 2 ส่วน นำมาผสมกับขี้วัว 1 ส่วน ซึ่งข้อดีของการใช้ขุยมะพร้าวกับขี้วัว ก็คือ เราจะได้ความชื้นและมีอาหารจากขี้วัว มาช่วยบำรุงให้เห็ดนั้นเติบโตได้เร็วขึ้น
      
       อย่างไรก็ตามที่ผ่านมา เกษตรกรมักจะนิยมใช้ฟางข้าว เพราะชื่อก็บอกอยู่แล้วว่า เห็ดฟาง บรรพบุรุษของเราจะใช้ฟางข้าวในการเพาะเห็ด หรือ เห็ดจะขึ้นเองตามกองฟาง แต่ปัจจุบันที่เราไม่พบเห็นเห็ดตามกองฟาง เหมือนในอดีต เพราะ ฟางข้าวมีสารเคมีตกค้าง จากการที่เกษตรกรใช้สารพิษ ในการฆ่าแมลง และใช้ปุ๋ยเคมีในการบำรุงข้าว เป็นสาเหตุที่เราไม่แนะนำให้ใช้ฟางข้าว เพราะนอกจากเห็ดจะไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควรเพราะสารเคมีแล้ว สารพิษที่ตกค้างในฟางข้าวยังซึมผ่านเส้นใยของเห็ด เมื่อเราบริโภคเห็ดเข้าไปก็รับสารพิษเข้าไปด้วย 
ฟางข้าว
ขุยมะพร้าว

ขั้นตอนการเพาะเห็ดฟาง 
      
         1) นำวัสดุเพาะใส่ลงตะกร้าสูงจากตะกร้าประมาณ 2-3 นิ้ว กดด้วยไม้ให้พอแน่น ให้ชิดขอบตะกร้าให้มากที่สุด
          2) นำอาหารเสริมผักตบชวา โรยบนขี้เลื่อยให้ชิดตะกร้า กว้าง 2-3 นิ้ว สูง 1 นิ้ว
          3) นำเชื้อเห็ดฟางฉีกเป็นชิ้นขนาด 1-2 ซม. คลุกกับแป้งสาลี แบ่งเชื้อเป็น 3 ส่วนเท่าๆ กัน นำส่วนที่ 1 วางเป็นจุดๆ ห่างกันประมาณ 5-10 ซม. ทำเช่นนี้จำนวน 3 ชั้น
          4) ชั้นที่ 4 วางอาหารเสริมให้เต็มพื้นที่ของตะกร้า โรยเชื้อเห็ดให้เต็มพื้นที่เช่นกัน โรยขี้เลื่อยให้เต็มตะกร้า
          5) นำน้ำประมาณ 2 ลิตร ลดลงด้านบนให้ชุ่ม วางตะกร้าในโรงเรือน หรือกระโจมที่เตรียมไว้
          6) วางตะกร้าซ้อนกันได้ไม่เกิน 4 ใบ นำพลาสติกมาคลุมกระโจม หรือโครงไม้ไผ่จากบนลงล่าง คลุมให้มิด ด้านล่างควรใช้อิฐหรือไม้ทับเพื่อป้องกันพลาสติกเปิดออก
          7) ช่วงวันที่ 1-4 วันแรก อุณหภูมิจะอยู่ในระดับ 37-40 องศาเซลเซียส
          8) วันที่ 4 ให้เปิดพลาสติกคลุมออก เพื่อให้มีการถ่ายเทอากาศ หากวัสดุเพาะแห้งให้รดน้ำได้ แต่เพียงเล็กน้อย
          9) วันที่ 5-8 ต้องควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ระหว่าง 28-32 องศาเซลเซียส
          10) การเก็บเกี่ยววันที่ 8-9 เห็ดฟางเริ่มให้ดอกขนาดโตขึ้นจนสามารถเก็บได้ โดยใช้นิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้จับดอกแล้วหมุนเล็กน้อยยกขึ้น ไม่ควรใช้มีดตัดเพาะส่วนที่เหลือจะเน่าเสียลุกลามไปยังดอกอื่น เก็บเสร็จให้รีบปิดพลาสติกหรือโรงเรือนตามเดิม


ค่าใช้จ่ายในการเพาะเห็ดฟางในตะกร้า มีดังนี้ 
      
       1. ตะกร้าพลาสติกขนาดสูง 11 นิ้ว ปากตะกร้ากว้างประมาณ 18 นิ้ว มีตาห่างกันประมาณ 1 นิ้ว ตะกร้าใบหนึ่งใช้ได้หลายครั้ง อาจใช้ได้นานเกิน 20 ครั้งขึ้นไป ราคาใบละประมาณ 30 บาท
      
       2. ชั้นโครงเหล็ก ใช้เหล็กแป๊ปสี่เหลี่ยมขนาด 6 หุน มาทำเป็นโครงเหล็กให้ได้ขนาดกว้างประมาณ 1 เมตร สูง 2 เมตร ยาง 2 เมตร ซึ่งโครงเหล็กมี 4 ชั้น สามารถวางตะกร้าเพาะได้ 40 ใบ ราคาโครงเหล็กประมาณ 705 บาท
      
       3. แผ่นพลาสติกสำหรับคลุมชั้นโครงเหล็ก ใช้แผ่นพลาสติกใสขนาดกว้าง 4 เมตร ยาว 6 เมตร ราคาประมาณ 60 บาท
      
       4. โรงเรือน ซึ่งโรงเรือนเป็นไม้ลักษณะของโรงเรือน คือนำไม้มาประกอบกันซึ่งสร้างให้มีขนาดใหญ่ จนสามารถครอบชั้นโครงเหล็กได้ ราคาโรงเรือนทั้งหมดประมาณ 900 - 1,000 บาท
      
       5. วัสดุเพาะ อาจใช้ฟางหรือก้อนขี้เลื่อยที่ผ่านการเพาะเห็ดถุงมาแล้ว ใช้ 9 ก้อนต่อ 1 ตะกร้า ราคาเฉลี่ยประมาณก้อนละ50 สตางค์ รวมเป็นเงินต่อตะกร้าประมาณ 4 - 5 บาท
      
       6. อาหารเสริม เราสามารถใช้ผักตบชวาหั่นประมาณ 1 ลิตรต่อตะกร้าคิดเป็นเงินรวมตะกร้าละไม่ถึง 1 บาท
      
       7. ค่าเชื้อเห็ดฟางแบบอีแปะถุงละประมาณ 2 บาท
      
       8. ค่าจ้างแรงงานเพาะคิดเป็นเงินตะกร้าละ 3 บาท
      
       9. ค่าจ้างดูแล คิดเป็นเงินต่อตะกร้าละประมาณ 5 บาท
      
       10. ค่าจ้างแรงงาน เพื่อการเก็บเกี่ยวและปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวต่อผลผลิตกิโลกรัมละประมาณ 5 บาท รวมค่าใช้จ่ายทั้งหมดจะอยู่ที่ประมาณ 2 พันบาทต้น ๆ แต่หากลบค่าใช้จ่ายเรื่องโรงเรือนออกไป ราคาเห็ดฟางต่อหนึ่งตะกร้าจะลง ทุนเพียงประมาณไม่ถึง 50 บาท เท่านั้น

วันศุกร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

แล้งหนัก! หันมาเพาะเห็ดฟางกลางนา รายได้งาม

เพราะปัญหาภัยแล้ง ทำให้ชาวนาที่จังหวัดพะเยา ไม่ขอรอน้ำเพื่อทำนาปรัง แต่เปลี่ยนจากแปลงนา มาเพาะเห็ดฟางขาย รายได้ต่อวันสูงสุดถึง 1,500 บาท ที่สำคัญไม่พอขายด้วย
เปลี่ยนจากแปลงนา มาเป็นที่เพาะเห็ดฟาง ยังชีพแล้ว สำหรับชาวนาในพื้นที่หมู่ที่ 8 ตำบลท่าวังทอง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา ที่เคยทำนาปรังมาแทบทุกปี หันมาเพาะเห็ดฟางกลางนา เพื่อสร้างรายได้ หลังปีนี้ประสบภัยแล้งอย่างหนัก จนแทบไม่มีน้ำทำการเกษตร โดยเห็ดฟางที่เพาะได้ก็จะนำออกจำหน่ายบริเวณสถานที่เพาะเห็ดแบบสดๆ ซึ่งมีลูกค้าเดินทางมาซื้อเห็ดฟางต่อเนื่องแทบไม่พอขาย
นางสุวรรณ บุตรธรรม ชาวบ้านในพื้นที่หมู่ที่ 8 เล่าว่า เพาะเห็ดฟางออกจำหน่ายเพื่อเป็นการสร้างรายได้ทดแทน ในพื้นที่เพียงไม่ถึง 1 งาน สามารถสร้างรายได้ต่อวันมากกว่า 300-1,500 บาท โดยสามารถจำหน่ายผลผลิตเห็ดฟางที่บริเวณแปลงปลูกแบบสดๆ ซึ่งมีลูกค้าเดินทางมาหาซื้ออย่างต่อเนื่อง จนผลิตแทบไม่ทัน
นางสุวรรณ เล่าว่า บริเวณแห่งนี้ทุกปีที่ผ่านมาใช้ปลูกข้าวนาปรัง แต่ปีนี้เกิด ไม่มีน้ำทำนา จึงหันมาเพาะเห็ดฟางที่เรียนรู้กับญาติมาสร้างรายได้ 
การเพาะเห็ดฟางจะใช้วัสดุจากธรรมชาติ และปล่อยให้เห็ดออกดอกเอง โดยไม่ใช้หัวเชื้อเร่งให้โตเร็ว แม้จะใช้ระยะเวลาที่นานกว่า ผู้ที่เพาะในโรงเรือน แต่เห็ดจะมีรสชาติที่อร่อยและปลอดสารเคมี จึงจำหน่ายอยู่ที่ กิโลกรัมละ 100 บาท ซึ่งสูงกว่าท้องตลาดที่ขายกิโลกรัมละ 70-80 บาท 
ขณะที่สถานการณ์ภัยแล้งในพื้นที่จังหวัดพะเยา พบว่าแหล่งน้ำที่สำคัญของจังหวัดมีปริมาณที่น้อยมาก โดยเฉพาะกว๊านพะเยา ไม่สามารถระบายน้ำให้เกษตรกรทำการเกษตรทุกชนิดได้ ชาวบ้านต้องพึ่งพาแหล่งน้ำต้นทุนในพื้นที่ของตนเองทำการเกษตรที่ใช้น้ำน้อย

วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

ปัญหาที่เกิดกับดอกเห็ดฟาง


png1. เพาะเห็ดฟางแล้วเห็ดไม่เจริญเลย เมื่อทำการเพาะเห็ดฟางแล้ว เส้นใยเห็ดฟางอาจไม่เจริญเลย เมื่อเราตรวจสอบสภาพแวดล้อมอื่นๆเช่นอุณหภูมิ ความชื้น วัสดุเพาะ หัวเชื้อเห็ดฟาง โรงเรือนเพาะเห็ดฟาง หากทุกอย่างเป็นปกติแล้ว
     สาเหตุ น่าจะเกิดจากเชื้อเห็ดเสีย หมดอายุ หรือไม่แข็งแรง หากเชื้อเห็ดฟางเป็นปกติดีแล้ว โรงเรือนที่เพาะอาจมีเชื้อราเข้ามารบกวน หรือมีสารเคมีบางอย่างตกค้างตามพื้นดินบริเวณโรงเรือนเพาะเห็ด หรือติดมากับฟางก่อนแล้ว หรืออาจเกิดจากน้ำที่ใช้ในการแช่ฟางและใช้รดกองเห็ดมีสารที่มีฤทธิ์ยับยั้ง การเจริญเติบโตของเชื้อเห็ดปะปนอยู่ก็ได้
png2. เส้นใยเห็ดฟางเจริญเติบโตน้อยมาก
     สาเหตุ 
เกิดจากเชื้อเห็ดไม่บริสุทธิ์ หรือจะเป็นเชื้อที่มีการต่อเชื้อมาหลายครั้ง ทำให้เชื้อมีคุณภาพต่ำ ควรเลือกซื้อจากแหล่งที่เชื่อถือได้ การเพาะเห็ดฟางซ้ำหลาย ๆ ครั้ง จะทำให้มีการสะสมของโรคและแมลงที่ทำลายเส้นใยเห็ดฟาง ควรทำความสะอาดโรงเรือน โดยใช้น้ำล้างให้สะอาดแล้วโรยปูนขาวฆ่าเชื้อตาม อีกสาเหตุหนึ่งเกิดจากการที่อุณหภูมิภายในโรงเรือนต่ำเกินไป เนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็น หรือใช้ฟางข้าวเก่าที่ถูกฝนเปียกแฉะมาก่อน ทำให้เส้นใยของเห็ดฟางชะงักการเจริญเติบโต ดังนั้นเกษตรกรผู้เพาะเห็ดฟาง จึงควรใช้ฟางแห้งที่ไม่เคยเปียกฝนมาทำการเพาะ หากอากาศหนาวควรให้ไอน้ำเพื่อปรับเพิ่มอุณหภูมิ
png3. เส้นใยเจริญแต่ไม่ออกเป็นดอกเห็ดบางกรณีพบว่าเส้นใยเห็ดฟางเจริญเติบโตสม่ำเสมอดี แต่ไม่เกิดเป็นดอกเห็ดฟางให้เห็น
      สาเหตุ 
เกิดจากวัสดุเพาะมีอาหารเห็ดไม่เพียงพอ กองเพาะเห็ดฟางแน่น และมีความชื้นมากเกินไป ทำให้เส้นใยไม่สามารถแทรกเข้าไปได้ ส่วนมากมักเกิดกับตอซังถอน จึงต้องใช้อาหารเสริมให้เพียงพอทุกครั้ง อีกสาเหตุหนึ่งเกิดจากชั้นเพาะเห็ดไม่ได้รับแสงแดด หรืออุณหภูมิในโรงเรือนเพาะเห็ดสูงเกินไป
      วิธีการแก้ไข
 เราควรให้ชั้นเห็ดได้รับแสงสว่างบ้างในช่วงวันที่ 5-6 ของการเพาะ ถ้าอุณหภูมิสูงมากเกินไปให้ใช้วิธีเปิดระบายอากาศ
png4. เห็ดออกเป็นดอกเล็ก ๆ แต่ไม่โตสักที ปัญหานี้เกิดขึ้นเสมอสำหรับผู้เพาะเห็ดใหม่ ๆ ที่ใช้เชื้ออ่อน และใช้วัสดุเพาะที่อาหารไม่เพียงพอ เชื้อที่อ่อนเพราะผ่านการติดต่อเชื้อมาหลายครั้งทำให้ความแข็งแรงลดลง ควรใช้เชื้อจากแหล่งที่เชื่อถือได้มาทำการเพาะ วัสดุเพาะบางอย่างเช่น ฟางข้าวนวดซึ่งมีอาหารไม่เพียงพอ หรือมีความชื้นน้อยไป เพราะดูดซับน้ำได้ไม่ดี หรือกดย่ำกองไม่แน่นพอก็ทำให้เห็ดฟางออกดอกเล็ก ๆ ได้ ดังนั้นการใช้วัสดุเพาะพวกนี้ควรแช่น้ำให้อิ่มตัวทุกครั้ง และกดกองให้แน่นพอ แต่สำหรับฟางข้าวหรือตอซังถอน หากแช่น้ำนานเกินไป และตอนเพาะกดกองแน่นอาจทำให้ฟางเน่า เชื้อเห็ดไม่สามารถเจริญเข้าไปได้ เช่นกัน ประกอบกับมีอากาศไม่เพียงพอจึงทำให้ฝ่อตายเสียก่อนที่จะโต ดังนั้นในการเพาะจึงควรเลือกใช้วัสดุเพาะที่เหมาะสมและแช่ฟางให้ถูกต้อง
png5. เส้นใยเห็ดขึ้นฟูมากเกินไป      มักจะพบในช่วงหลังการโรยเชื้อเห็ดแล้ว 5-6 วัน ขณะที่เส้นใยกำลังรวมตัวเป็นดอกเห็ด ในขณะที่อากาศร้อนอบอ้าว ทำให้อุณหภูมิภายในโรงเรือนสูงเกินไป ควรแก้ไขโดยเปิดหน้าต่างระบายความร้อนออกบ้าง
png6. ดอกเห็ดเน่ามีสีคล้ำและมีกลิ่นเหม็น     ในการเพาะเห็ดฟางบางครั้งอาจมีเชื้อราหรือเชื้อบักเตรีเข้าทำลายเห็ด อาจเกิดจากชั้นเพาะชื้นมากเกินไป ทำให้เชื้อแบคทีเรียเจริญเติบโตได้ดี และอาจมีเชื้อราอื่นเข้าทำลาย วิธีแก้ไขควรมีการระบายอากาศและความชื้นข้างในออก  กรณีที่มีเห็ดเน่าและตายในชั้นเพาะ สาเหตุเนื่องจากเห็ดได้รับความกระทบกระเทือนจากการเก็บเกี่ยวเห็ด หรือมีการรดน้ำให้ขณะที่ดอกเห็ดยังเล็ก
     วิธีแก้ไข  ต้องระมัดระวังอย่าให้ดอกเห็ดที่อยู่ข้างเดียวได้รับความกระทบ กระเทือน และงดให้น้ำแก่เห็ดเหล่านี้อย่างเด็ดขาดในขณะที่ดอกเห็ดยังเล็ก นอกจากนี้จากโรงเรือนไม่สะอาดจึงทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการสะสมของราและ แมลงศัตรูเห็ด
png7. ดอกเห็ดขึ้นเป็นหย่อม     ดอกเห็ดฟาง มักขึ้นรวมกันตามบริเวณส่วนหัวหรือท้ายกอง สาเหตุเกิดจากกองเพาะมีอาหาร และอุณหภูมิที่เหมาะสม อยู่บริเวณหัวและท้ายกองมากกว่าส่วนอื่น
png8. ดอกเห็ดบานเร็ว     กรณีดอกเห็ดบานเร็วเกินไปทั้งยังมีขนาดเล็กอยู่ สาเหตุเกิดจากอุณหภูมิสูงมาก เชื้อเห็ดอ่อน หรือใส่อาหารเสริมมากเกินไป
png9. ดอกเห็ดมีสีคล้ำ     ปัญหาดอกเห็ดฟางมีสีคล้ำผิดปกติ มักเกิดจากสายพันธุ์เห็ดฟาง หรือดอกเห็ดถูกลมโกรกและถูกแสงแดดมาก
     วิธีแก้ไข  
ขณะที่ดอกเห็ดเล็ก ๆ หรือในระหว่างเก็บเกี่ยวไม่ควรให้ถูกแสงแดดหรือลมโกรก
png10. ดอกเห็ดมีน้ำหนักเบา      ปัญหานี้เกิดจากสายพันธุ์เห็ดบางพันธุ์ เช่น เห็ดฟางพันธุ์สีขาว จะมีน้ำหนักเบากว่าเห็ดฟางพันธุ์สีดำและพันธุ์สีเทา หากปัญหานี้เกิดกับเห็ดฟางพันธุ์สีดำหรือเทา สาเหตุมักเกิดจากความชื้นภายในกองเพาะไม่เพียงพอ หรือขณะที่เกิดดอกเห็ดมีอากาศถ่ายเทไม่สะดวก
png11.เห็ดฟางเป็นผิวคางคกและเห็ดหน้าตาประหลาด      สาเหตุ ที่ทำให้เกิดผิวคางคก คือ อบไอน้ำ อุณหภูมิไม่ถึง จึงทำให้เปลือกมันไม่สุก จะทำให้มีกินเหม็นเกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ทำให้เกิดเห็ดผิวคางคกคับ
     วิธีแก้ปัญหา 
คือเปิดระบายอากาศบ่อยๆ แต่เพียงช่วงระยะเวลาสั้นๆหรือเจาะรูด้านบนเพิ่ม กะว่าให้ระบายแต่ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการผิวคางคก แต่ไม่ให้สูญเสียความชื้นออกไปมากนัก       
ทีมา: ฟาร์มเห็ดฟางคุณชายคม 

วันพุธที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

การเพาะเห็ดฟางในตะกร้า ลงทุนต่ำแต่ความต้องการในตลาดสูง ไม่เปลืองพื้นที่ ใครๆก็ทำได้

ในปัจจุบันการบริโภคเห็ด ถือได้ว่าเป็นการได้รับความนิยมอย่างสูง แม้จะมีเห็ดมากมายออกมาตามท้องตลาดให้เลือก แต่กระนั้นเห็ดฟางก็ยังคงครองความนิยมกันอยู่เรื่อยมาและยังเป็นผลผลิตทางการเกษตรที่ปัจจุบันได้รับความนิยมมากในกลุ่มของผู้บริโภค ทำให้ราคาที่เพิ่มสูงขึ้นเพราะความต้องการในตลาดก็มากขึ้นเช่นกัน ล่าสุดมีการเพาะเห็ดฟางในตะกร้า เพื่อทำเป็นรายได้เสริม ซึ่งถือเป็นเทคนิคการเพาะเห็ดฟางแบบง่ายๆ และไม่จำเป็นต้องใช้พื้นที่มากมาย ที่ใครก็สามารถทำได้
เทคนิคการเพาะเห็ดฟางในตะกร้า
เทคนิคการเพาะเห็ดฟางในตะกร้าพลาสติก ซึ่งการเพาะเห็ดฟางแบบนี้เป็นวิธีการเพาะเห็ดฟางที่เป็นการประยุกต์ขึ้นมา เพราะ การเพาะเห็ดฟางแบบทั่วไปใช้พื้นที่ในแบบแนวราบ และมาตรฐานของการเพาะเห็ดฟางในพื้นที่ราบที่มี1 ตารางเมตรจะทำให้ได้ผลผลิตได้ถึง 3 กิโลกรัม ซึ่งถือว่ายอดเยี่ยม แต่การเพาะเห็ดฟางในตะกร้าซึ่งเป็นตะกร้าที่สามารถใช้พื้นที่ในแนวสูงกับแนว ราบของพื้นที่ตะกร้าที่เป็นทรงกระบอก โดยการนำตะกร้าสูงประมาณ 1 ฟุต และรอบ ๆของตะกร้าจะมีตามีช่องด้านบน ทำให้เห็ดสามารถออกได้ และยังสามารถนำตะกร้ามาซ้อนกันได้หลายชั้น ซึ่งจะเป็นลักษณะของการเพิ่มพื้นที่สำหรับการออกดอกของดอกเห็ด
การเพาะเห็ดฟางในตะกร้า เทียบกับการเพาะแบบอื่นๆ
ในพื้นที่ 1 ตารางเมตร สามารถวาง ตะกร้า ได้ถึง 9 ใบสำหรับการเพาะเห็ดฟางในตะกร้า โดยใน1 ตารางเมตร วางได้ถึง 9 ตะกร้า จะทำให้ได้เห็ดไม่ต่ำกว่า 1 กิโลกรัม ต่อ 1 ตะกร้า เรียกได้ว่าใน 1 ตารางเมตร ก็จะได้อย่างน้อย 9 กิโลกรัม เปรียบเทียบ
แบบปลูกพื้นราบคือได้ 3 กิโลกรัม ทำให้เห็นว่าการเพาะเห็ดฟางในตะกร้า จะได้ผลผลิตมากกว่า แนวทางในการพัฒนาตรงนี้ทพำให้มีหลายๆ คนเริ่มหันมาสนใจที่จะเพาะเห็ดอยู่มาก
วัสดุที่ใช้ในการเพาะเห็ดฟางในตะกร้า
วัสดุที่จะทำการเพาะเห็ดฟางในตะกร้า ฟางข้าว ถั่ว หรือเปลือกถั่ว เปลือกมันสำปะหลัง ผักตบชวา ต้นกล้วยหั่นตากแห้ง ขี้เลื่อยไม้เนื้ออ่อนทุกชนิด หรือแม้แต่กระดาษก็สามารถนำมาเพาะเห็ดฟางได้ และกระสอบป่านเก่า ๆ ผ่านการแช่น้ำ อะไรก็ได้จากธรรมชาติ ที่จะทำให้เก็บความชื้นได้ดี จะสามารถนำมาเป็นวัสดุในการเพาะเห็ดฟางได้ ขั้นตอนการเพาะเห็ดฟางใน ชั้นที่หนึ่งเป็นวัสดุเพาะคือ พวกฟางข้าวหรือเปลือกถั่วหรือจะผสมผสานกันก็ได้ ชั้นที่สองเป็นอาหารเสริมอย่างผักตบชวาสดแล้วก็โรยด้วยเชื้อเห็ดฟาง ทั้งหมดคลุมด้วยวัสดุเล็กน้อยกดให้แน่น ๆ ซึ่งเชื้อเห็ดฟางอาจจะคลุกเคล้าด้วยแป้งสาลีหรือแป้งข้าวเหนียว จะทำให้เส้นใยเดินได้เร็ว โรยอาหารเสริมทั้งหมดเต็มพื้นที่ของผิวตะกร้า ให้ต่ำกว่าปากตะกร้าประมาณ 1 ช่องตา และรดน้ำประมาณ 2 ลิตร รดทั้งด้านบนตะกร้าและด้านข้างตะกร้า ยกใส่กระโจมเล็ก ๆ หรือใส่ถุงพลาสติกใสขนาดใหญ่ ประมาณวันที่ 4ก็เปิดสำรวจดูว่ามีเส้นใยมากไหม ถ้ามากก็ตัดเส้นใยสัก 5 ถึง10 นาที แล้วคลุมไว้อย่างเดียว ถ้าแห้งก็รดน้ำ ประมาณวันที่ 7 – 8 ก็เก็บผลผลิตได้ เทคนิคการโรยเชื้อเห็ดชั้นที่ 1 – 2 คือโรยให้ชิดขอบตะกร้า ตรงกลางไม่ต้องโรย ส่วน ชั้นที่ 3 โรยให้เต็ม
ที่มา : http://www.yimkaset.com/

วันอังคารที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านเพาะเห็ดฟางขายรายได้ดี เป็นอาชีพเสริมสร้างรายได้ให้กับครอบครัวนายสัมพันธ์ น่าเยี่ยม ตกเดือนละ ไม่ต่ำ 30,000- 50,000

ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านเพาะเห็ดฟางขายรายได้ดี เป็นอาชีพเสริมสร้างรายได้ให้กับครอบครัวนายสัมพันธ์ น่าเยี่ยม ตกเดือนละ 
ไม่ต่ำ 30,000- 50,000 บาท ส่งขายให้กับแม้ค้าในตลาดสดเทศบาลเมืองกระบี่และร้านอาหาร พร้อมรับบทบาทวิทยากร
ถ่ายทอดความรู้สู่ชาวบ้านตอบแทนสังคม จากชีวิตที่เคยทำการเกษตรมาโดยตลอดเวลา โดยยึดอาชีพการทำสวนยางพารา 
ซึ่งมีอยู่จำนวน 50 ไร่เศษ ซึ่งทำรายได้ให้กับครอบครัวของนายสัมพันธ์ น่าเยี่ยม เป็นกอบเป็นกำเนื่องจากราคายางพารา
อยู่ในช่วงที่มีราคาสูง ถึงแม้ในบางครั้งจะมีการปรับเปลี่ยนราคาบ้างก็ไม่มีผลกระทบกับครอบครัวแต่อย่างใด 
แต่สิ่งหนึ่งที่นายสัมพันธ์คิดอยู่ตลอดเวลาคือการหารายได้เพิ่มเติมเข้าครอบครัว โดยที่คนในครับครอบสี่ชีวิตสามารถที่ช่วยเหลือ
กันได้ การเพาะเห็ดฟางเป็นสิ่งที่ครอบครัวของนายสัมพันธ์ ให้ความสนใจที่ทำเป็นอาชีพเสริม ความจริงแล้วการเพาะเห็ดฟาง
ของครอบครัวนายสัมพันธ์ น่าเยี่ยม นั้นได้เพาะเห็ดฟางเพื่อใช้บริโภคภายในบ้าน ไม่ได้ส่งขายแต่อย่างใด โดยเริ่มทำมาตั้งแต่
ปี 2523 แต่เริ่มมาทำอย่างจริงจังและมีการส่งขายให้กับพ่อค้าแม่ค้าในตลาดสดมหาราชเทศบาลเมืองกระบี่ รวมทั้งการส่งขาย
ยตามร้านอาหารในปี 2535 เริ่มมีการก่อสร้างโรงเรือนเพาะเห็ดฟาง เตาอบสำหรับอบก้อนเพาะเชื้อ โรงเก็บวัตถุดิบบนพื้น
ที่บริเวณบ้านเนื้อที่ประมาณ 2 ไร่เศษ ใช้เงินลงทุนจากกระเป๋าตัวเองทั้งหมด โดยไม่ต้องพึ่งพาภาครัฐหรือองค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น แต่อย่างใด เพราะมันไม่ใช่การพึ่งตนเองเหมือนที่ครอบครัวของนายสัมพันธ์ตั้งใจเอาไว้ การเพาะเห็ดฟางของ
นายสัมพันธ์ ใช้วัสดุในท้องถิ่นเป็นหลักเช่นขี้เลื้อย จากโรงงานแปรรูปไม้ยางพาราจาก ซึ่งซื้อมาตันละ 800 บาท มาผสม
ส่วนประกอบต่างๆที่เป็นสูตรเฉพาะของนายสัมพันธ์ 
ได้แก่ ขี้เลื้อย 300 กิโลกรัม, รำ 15 กิโลกรัม, ปูนขาว 3 กิโลกรัม ,ดีเกลือ 06 ขีด,ยิปซัม 1.5 กิโลกรัม ,ซีโกร 300 ซีซี
 คลุกเคล้าให้เข้ากัน รสน้ำให้เกาะตัวพอประมาณห้ามเปียก บรรจุใส่ถุงที่เรียกว่าก้อนเพาะเชื้อ น้ำหนัก 89 ขีด ขนาดกว้าง
ของก้อนเพาะเชื้อ 6x10 นำก้อนเพราะเชื้อใส่ตู้อบ ใช้อุณหภูมิ 90 องศาเชลเชียส ใช้เวลาในการอบประมาณ 4 ชั่วโมง 
เพื่อทำการฆ่าเชื้อ เมื่อครบ 4 ชั่วโมงแล้วนำออกมาจากตู้อบทิ้งไว้ให้อุณหภูมิลดลง แล้วหยดหัวเชื้อเห็ดฟาง แล้วนำก้อน
เพาะเชื้อไปตั้งบนชั้นภายในโรงเรือนเพาะเห็ดฟาง ทิ้งไว้ประมาณ 1 เดือนก็สามารถเก็บผลผลิตออกขายได้ มีทั้งนางฟ้าครีม
,อังการี,และนางฟ้าภูฐาดำ ในราคาขายส่ง กิโลกรัมละ 50 บาท ให้กับพ่อค้าแม้ค้าในตลาดสดมหาราชเทศบาลเมืองกระบี่ 
และร้านอาหารในตัวเมืองกระบี่ โดยสามารถเก็บเห็ดฟางขายได้วันละไม่ต่ำกว่า 200-300 กิโลกรัม ทำให้มีรายได้เสริมจาก
การเพราะเห็ดฟางวันละ 10,000 – 15,000 บาท นอกจากนั้นครอบครัวนายสัมพันธ์ ยังทำการผลิตก้อนเพาะเชื้อขาย
ห้กับชาวบ้านผู้ที่สนใจในพื้นที่ใกล้เคียงนำไปเพาะเห็ดฟางขายเป็นอาชีพเสริมเลี้ยงครอบครัว 
ปัจจุบันครอบครัวนายสัมพันธ์ น่าเยี่ยมมีรายได้เสริมจาการเพราะเห็ดฟางขายรวมกับขายก้อนเพาะเชื้อเดือนละไม่ต่ำกว่า 
30,000- 50,000 บาท 


วันอาทิตย์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

เพาะเห็ดฟางอย่างไรให้มีรายได้เดือนละแสน

เพาะเห็ดฟางอย่างไรให้มีรายได้เดือนละแสน

มีคำกล่าวที่พูดกันว่า “อยากยากจนให้เล่นหวยอยากร่ำรวยให้เพาะเห็ด” “เห็ดฟางเงินล้าน
และอีกหลายๆพูดที่เกี่ยวข้องกับวงการเพาะเห็ด แล้วมันเป็นไปได้ไหม ที่จะเพาะเห็ดฟางให้มี
รายได้เดือนละแสน และได้ชื่อว่าเห็ดฟางเงินล้านได้อย่างไรเรามาดูกัน 
เพาะเห็ดฟางเพื่อให้มีรายได้เดือนละแสนบาทจะต้องมีอะไรบ้าง
1.โรงเรือนเพาะเห็ด ที่สามารถเก็บผลผลิตได้โรงเรือนละประมาณ 200 กก.จำนวน 5 โรงเรือน
2.วัสดุดิบที่ใช้ในการเพาะเห็ดสามารถนำมาใช้เพาะเห็ดฟางได้ 10 ครั้ง
3.ตลาดรับซื้อเห็ด ซึ่งราคารับซื้อโดยทั่วราคาจะอยู่ที่ประมาณ 60 บาท
4.แรงงาน 2-3 คน
แนวคิดในการเพาะเห็ดฟางให้มีรายได้เดือนละแสน
1.โรงเรือนเพาะเห็ดฟางให้ผลผลิต 200 กก. 1 โรงเรือน สามารถเพาะเห็ดฟางได้เดือน ละ 

2 ครั้งได้ผลผลิตประมาณ 400 กิโลกรัมถ้าเพาะเห็ดฟางจำนวน 5 โรงเรือน ๆ ละ 2 ครั้ง 
จะได้ผลผลิตประมาณ 2,000 กิโลกรัม
2.ราคาเห็ดฟางในตลาดที่รับซื้อโดยทั่วไป กิโลกรัมละ 60 บาท ได้เห็ดฟาง 2,000 กิโลกรัม/เดือน 
จะมีรายได้เดือนละประมาณ 120,000 บาท หรือปีละ1,440,000 บาท
จะเห็นได้ว่าเพาะเห็ดฟางให้มีรายได้เดือนละแสนสามารถทำได้จริง ดังนั้นเพาะเห็ดฟาง

จำนวน 5 โรงเรือนสามารถมีรายได้หลักแสนได้อย่างสบายๆสมกับคำที่กล่าวเห็ดฟางเงินล้านจริงๆ
การเพาะเห็ดฟางจึงเป็นอาชีพที่น่าสนใจเนื่องจากใช้ระยะเวลาในการเพาะเห็ดประมาณ 10 วัน
ก็สามารถเก็บเห็ดขายและมีรายได้เลี้ยงครอบครัวได้แล้ว อย่างไรก็ตามการเพาะเห็ดฟางในโรงเรือนจะ
ให้มีผลผลิตที่แน่นอน หากได้มีการเรียนรู้และทำความเข้าใจมีขั้นตอนการทำงานโดยถ่องแท้แล้ว 
และได้นำไปปฏิบัติจนเกิดความชำนาญ ก็สามารถยึดเป็นอาชีพได้อย่างสะบาย ซึ่งแนวทางใน
การเพาะเห็ดฟางในโรงเรือนและขั้นตอนการเพาะเห็ดฟาง การเลือกซื้อเชื้อเห็ดฟาง การอบไอน้ำ 
การดูแลตลอดจนการแก้ปัญหาและอุปสรรคต่างๆในการการเพาะเห็ดฟางในโรงเรือนนั้นจะนำมา
เสนอในโอกาสต่อไป.
ที่มา:http://hedsiam.blogspot.com/