วันเสาร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2558

การผลิตเห็ดฟาง

การผลิตเห็ดฟาง

การผลิตเห็ดฟาง


การเพาะเห็ดฟางEMในโรงเรือน เพิ่มผลผลิต(คืนทุนภายใน 1 ปี )
เห็ด ฟางเป็นเห็ดเศรษฐกิจที่มีผู้นิยมเพาะและนิยมทานกันอย่างแพร่หลายและผลิตขาย ในเมืองไทยได้ตลอดทั้งปี  มีทั้งการเพาะแบบกองเตี้ย แบบกองสูง ใน ตะกร้า และ ในโรงเรือน
ซึ่งมีรูปแบบและวิธีการผลิตที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งการเพาะในแต่ละแบบ มักจะ ให้ผลผลิตที่แตกต่างกันออกไป โดยเฉพาะการเพาะเห็ดฟางอินทรีย์ที่ใช้ เทคโนโลยีอีเอ็มเข้ามาช่วย ในขั้นตอนการเตรียมการต่างๆ ก็เป็นอีกหนึ่งวิธี ที่ทำให้มีผลผลิตเพิ่มมากขึ้นกว่าเท่าตัว ทั้งยังทำง่าย ประหยัดต้นทุนการ ผลิตได้ดีอีกด้วย









ขนาดโรงเรือน :
 โรงเรือนกว้าง 5 เมตร ยาว 6 เมตร เสาร์สูง 2 เมตร จำนวน 4 ต้น จั่วสูง 1.5 เมตร ใช้แฝกมุงฝาและหลังคาทั้งหมด มีประตู 2 ด้าน มีหน้าต่างข้างละ 2 บาน เพื่อระบายอากาศ ด้านในหลังคาบุด้วยผ้าใบ หรือ ผ้ายางไม่ให้อากาศผ่านเข้าออก++ การเตรียมโรงเรือนเพาะเห็ดฟาง ++
ชั้นเพาะเห็ด : ชั้นเพาะเห็ดมี 2 แถว แต่ละแถวมี 3 ชั้น แต่ละชั้นสูง 50, 100 และ 160 เซนติเมตร แต่ละชั้นปูด้วยไม้ไผ่ ความห่างของช่องไม้ไผ่ ประมาณ 1 นิ้ว ชั้นเพาะยาว 5 เมตร กว้าง 1.40 เมตร มีช่องทางสามารถเดินรอบแถวได้
++ การเตรียมวัสดุเพาะต่อโรงเรือน ++
ถังอบไอน้ำ : ใช้ถังเปล่า ขนาด 200 ลิตร
สูตรอาหารเพาะเห็ดฟาง :
1. เปลือกมันสำปะหลัง จำนวน 1 ตัน
2. โบกาฉิมูลสัตว์จำนวน 20 กิโลกรัม
3. โบกาฉิฟางจำนวน 150 – 200 กิโลกรัม
4. รำละเอียด จำนวน 60 กิโลกรัม
5. แป้งข้าวเหนียว จำนวน 5 กิโลกรัม
6. ปูนขาว 2-3 กิโลกรัม
7. EM กากน้ำตาล น้ำ ฟางข้าว พอสมควร
8. น้ำสะอาด

วิธีเตรียมวัสดุเพาะ :
1. นำเปลือกมัน โบกาฉิมูลสัตว์ โบกาฉิฟางและ ปูนขาว มาคลุกเคล้าให้เข้ากัน นำน้ำ 10 ลิตร มาผสมกับ EM และ กากน้ำตาล อย่างละ 1 ฝา รดลงบนกองวัสดุที่ผสมไว้ ให้มีความชื้นประมาณ 70% เกลี่ยวัสดุทั้งหมดให้มีความเสมอกัน กองให้มีความสูงจากพื้น ประมาณ 40-50 เซนติเมตร คลุมกองผ้าพลาสติก-ผ้ายาง หรือ กระสอบปุ๋ย ก็ได้ หมักทิ้งไว้ 2 วัน
2. วันที่ 3 ให้นำรำละเอียด แป้งข้าวเหนียว มาคลุกเคล้าให้เข้ากัน ถ้า พบว่ากองวัสดุแห้งให้รดด้วยน้ำ EM กากน้ำตาล ตามส่วน ให้ได้ความชื้นที่ 70 % หมักทิ้งไว้เหมือนเดิมต่อไปอีก 1 คืน วันรุ่งขึ้นให้นำวัสดุเพาะทั้งหมด ใส่ไว้ตามชั้นวาง โย ก่อนนำวัสดุขึ้นชั้น ให้นำผางข้าวแบบไหนก็ได้ มาแช่น้ำ ที่ผสม EM (ผสมในอัตราส่วน EM 1 ส่วน ต่อ น้ำ 1000 ส่วน ) เพื่อให้ฟางนิ่ม และอิ่มน้ำ 1 คืน โดย 1 โรงเรือนตามขนาดข้างต้น จะให้ฟางข้าวประมาณ 50 กิโลกรัม ในการใช้รองพื้นก่อนวางวัสดุเพาะบนชั้นเพาะ
3. การรองชั้นเพาะด้วยฟาง ให้รองฟางข้าวที่ผ่านการแช่น้ำแล้วให้มี ความสูงจากพื้นของชั้นเพาะ ประมาณ 2 นิ้ว เกลี่ยผิวหน้าให้เรียบสม่ำเสมอกัน จากนั้นจึงนำวัสดุเพาะวางทับลงไป โดยเกลี่ยวัสดุเพาะให้มีผิวหน้าสม่ำเสมอกัน และ สูงจากชั้นฟางประมาณ 5 นิ้ว และทำในลักษณะเดียวกันนี้ให้ครบทุกชั้นเพาะที่เตรียมไว้( 1 โรงเรือน มี 2 แถว แถวละ 3 ชั้น) เมื่อจัดวางวัสดุเพาะขึ้นชั้นครบหมดทุกชั้น ให้คลุมกองวัสดุเพาะทุกชั้นด้วยผ้าใบหรือผ้ายางทุกๆ ชั้น (ผ้าใบ 1 ผืน สามารถคลุมได้ 3 ชั้น ) โดยจะคลุมผ้าใบหรือผ้ายางทิ้งไว้ 3 วัน เพื่อให้เกิดเชื้อรา
4. ในวันที่ 4 ให้ทำการอบไอน้ำ ด้วยความร้อน 70 องศา นาน 2 ชั่วโมง(จับเวลา) เมื่อ ครบกำหนดให้ดับไฟ ปิดท่อ ไอน้ำ ทิ้งไว้ 1 คืน รุ่งเช้าให้เปิดประตูหน้าต่างโรงเรือน แล้วเอาผ้าใบที่คลุมชั้นเพาะเห็ดออก เพื่อปรับอุณหภูมิ ให้ได้ 27-30 องศา แล้วรดกองวัสดุเพาะแต่ละชั้นด้วยน้ำผสม EM กากน้ำตาล ในอัตราส่วน 500 : 1 : 1 ส่วน ทุกชั้น โดยควบคุมให้วัสดุเพาะมีความชื้นประมาณ 40%
5. โรยเชื้อเห็ดฟางลงบนวัสดุเพาะ ในอัตราส่วน เชื้อเห็ดฟาง 1 ถุง ต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร แล้วปิดประตูหน้าต่างทิ้งไว้4 วัน เมื่อครบ 4 วันให้เปิดโรงเรือนดูจะพบว่ามีเส้นใยหรือวุ้นสีสีขาวขึ้นบนวัสดุเพาะเต็มไป หมด นั่นคือเส้นใยเห็ดที่กำลังจะพัฒนาไปเป็นดอก
6. ผสม EM กากน้ำตาล และ น้ำ ในอัตราส่วน 1 : 1 : 500 ส่วน ฉีดพ่น น้ำให้เป็นฝอยบนกองวัสดุเพาะ ทุกชั้น เพื่อให้เส้นใยเห็ดหรือ วุ้นยุบตัว เสร็จแล้วให้ปิดประตูหน้าต่างโรงเรือน ให้สนิท โดยปิดทิ้งไว้นาน 3-4 วัน จึงเปิดประตูดูว่าวัสดุเพาะแห้งไปหรือไม่ หากพบว่าวัสดุเพาะแห้ง ให้รดน้ำบนชั้นวัสดุ โดยใช้น้ำ 10 ลิตร ผสมกับกากน้ำตาล 1 ฝา เป็นอัตราส่วน โดยไม่ต้องผสม EM เพราะบนกองวัสดุนั้นมีเชื้อ EM อยู่แล้ว โดยให้ความชื้นบนกองวัสดุให้มีความชื้นประมาณ 40 % แล้วปิดประตูทิ้งไว้อีก 2-3 วัน เมื่อกลับมาดูอีกครั้งจะพบว่าเห็ดจะออกผลผลิตเต็มที่ และ จะสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ ประมาณ 1-4 วัน ต่อ รอบ ระหว่างนี้หากพบว่ากองวัสดุแห้ง ให้รดน้ำบนกองวัสดุ โดยใช้น้ำ 10 ลิตร ต่อ กากน้ำตาล 1 ฝา และ EM ½ ฝา ใช้รดให้ทั่วบนชั้นส่วนกลางของกองวัสดุ ไม่ต้องรดขอบกองวัสดุ เพราะน้ำที่รดลงไปตรงกลางกองเพาะจะค่อยๆ ซึมออกมาเอง โดยการมให้น้ำกองวัสดุเพาะทุกครั้งจะต้องให้มีความชื้นอยู่ที่ประมาณ 40 %
ที่มา :