วันเสาร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2558

รอบรู้เรื่องเห็ดฟางและการเพาะเห็ดฟาง

รอบรู้เรื่องเห็ดฟางและการเพาะเห็ดฟาง

 เห็ดฟางเรียกอีกอย่างว่า เห็ดบัว เห็ดฟางเป็นเห็ดที่ขึ้นในเขตร้อนจะเติบโตได้ในที่มีกองปุ๋ยทิ้งไว้นานนาน หรือกองฟางเก่าที่มีอินทรียวัตถุมากมาก กองเศษไม้เศษหญ้า สปอร์จะงอกเป็นใยอ่อนในอุณหถูมิ 40 องศา
        ลักษณะของเห็ดฟางจะมีดังนี้
1.ครีบหรือซี่หมวกจะอยู่ด้านหลังของหมวกเห็ดจะเรียงกันเป็นรัศมี ครีบหมวกจะเป็นตัวเกิดของสปอร์
2.ก้านดอกจะมีขนานยาวประมาณ 7-8 เซนติเมตรส่วนบนจะติดกับดอกเห็ด ส่วนก้านดอกจะมีฟางปกคลุมไว้คล้ายถ้วยรอง
3.เปลือกหุ้มเมื่อดอกมันตูมมันจะมีเปลือกหุ้ม แต่โตขึ้นเปลือกหุ้มจะปริออก เพื่อให้หมวกก้านดอกสูงขึ้นและทิ้งเปลือกหุ้มแต่ส่วนใหญ่เป็นสีขาว
4.สปอร์อยู่บริเวณด้านล่างของดอกเห็ด เมื่อแก่ได้ที่จะปลิวออกไปในอากาศไปตกในสภาพแวดล้อมที่มีความชื้น
5.เส้นใยเกิดจากสปอร์ เส้นใยเห็ดมี 3 ขั้นตอนคือ
ขั้นที่ 1 เส้นใยขั้นต้นเป็นเส้นทีพนังกั้นเป็นช่อง จะกลายเป็นใย ขั้นที่ 2 และเส้นใยขั้นที่ 3 เมื่อขั้นที่ 2 เจริญเต็มที่จะกลายเป็นโฮโมนกระตุ้นเส้นใยต่อไป และกลายไปเป็นเห็ดได้
        การเพาะเห็ดฟาง 
1. ควรเตรียมดินให้เรียบร้อยตากแดดสัก 4 - 5 วันลาสติก 
2. นำแม่พิมพ์มาวางลงดินให้เรียบร้อยรดนำไว้หน้านี้ก่อนประมาณ 3 - 4 ชั่วโมง ก่อนมาเใส่บล็อกให้ฟางหนาเท่ากัน 
3.นำอาหารเสริมแช่นำ มาโรยเป็นแถบกว้างริมขอบไม้ทั้ง 4 ด้าน 
4.แบ่งเชื่อเห็ดออกเป็นส่วนนำกองฟางมาทับกับ 3 ชั้นให้โรยอาหารเสริมแล้วใส่เชื่อเห็ดลงไปแล้ว นำฟางมาปิดให้แน่นประมาณ 1 - 2 นิ้ว 
5.ให้เห็ดจะเจริญเติบโตเราก็สามารถเก็บไปขาดได้

        การเพาะเห็ดในถุงพลาสติก ในสภาพธรรมชาติได้ประสบความสำเร็จมา ตั้งแต่ พ.ศ. 2521 ปัจจุบันในการเพาะเห็ดหอมด้วยวิธีเพาะเลียนแบบธรรมชาติโดยไม่ต้องใช้ไม้ก่อ (ไม้ที่ควรสงวนและรักษา) โดยใช้หลักการที่ว่า เห็ดหอมสามารถย่อยเซลลูโลสและลิกนินได้ ขี้เลื่อยจึงเป็นวัสดุเพาะที่ใกล้เคียงที่สุด และช่วยแก้ไขปัญหาการนำไม้ก่อมาใช้เพาะเห็ดหอมได้อีกทางหนึ่ง
        การดูแลรักษากองเห็ด ให้ใช้ผ้าพลาสติกใสหรือสีก็ได้ ถ้า เป็นผ้าพลาสติกยิ่งเก่าก็ยิ่งดีคลุม แล้วใช้ฟางแห้งคลุมกันแดดกันลม ให้อีกชั้นหนึ่ง ควรระวังในช่วงวันที่ 1-3 หลังการกองเพาะเห็ด ถ้า ภายในกองร้อนเกินไปให้เปิดผ้าพลาสติกเพื่อระบายความร้อนที่ร้อน จัดจนเกินไป และให้อากาศถ่ายเทได้สะดวกขึ้น ดูแลให้ดีก็จะเก็บ ดอกเห็ดได้ประมาณในวันที่ 8-10 โดยไม่ต้องรดน้ำเลย ผลผลิต โดยเฉลี่ยจะได้ดอกเห็ดประมาณ 1-2 กิโลกรัมต่อกอง 2. การตรวจดูความร้อนในกองเห็ด โดยปกติเราจะรักษา อุณหภูมิในกองเห็ดโดยเปิดตากลม 5-10 นาที แล้วปิดตามเดิม ทุกวันเช้าเย็น ถ้าวันไหนแดดจัดอุณหภูมิสูงความร้อนในกองเห็ดมาก ก็ควรเปิดชายผ้าพลาสติกให้นานหน่อย เพื่อระบายความร้อนใน กองเห็ด วิธีตรวจสอบความชื้นทำได้ไดยดึงฟางออกจากกองเพาะ แล้วลองบิดดู ถ้าน้ำไหลออกมาเป็นสายแสดงว่าแฉะไป แต่ถ้ากองฟาง แห้งไปเวลาบิดจะไม่มีน้ำซึมออกมาเลย ถ้าพบว่ากองเห็ดแห้งเกินไปก็ควรเพิ่มความชื้นโดยใช้บัวรดน้ำเป็นฝอยเพียงเบา ๆ ให้ชื้น หลังจากทำการเพาะเห็ดประมาณ 1 อาทิตย์ จะเริ่มมีตุ่มดอกเห็ดสีขาว เล็ก ๆ ในช่วงนี้ต้องงดการให้น้ำโดยตรงกับดอกเห็ด ถ้าดอกเห็ด ถูกน้ำในช่วงนี้ดอกเห็ดจะฝ่อและเน่าเสียหาย ให้รดน้ำที่ดินรอบกอง
        ศัตรูของเห็ดฟางเช่น แมลง เช่น มด ปลวก ไรเห็ด วิธีแก้ไขโดยใช้สารเคมีพวก เซฟวินโรยรอบๆ กอง ห่างประมาณ 1 ศอกอย่าโรยในกองทำประมาณ 1 สัปดาห์ ก่อนเริ่มกองเห็ดและควรจะโรยสารเคมีนี้ประมาณ 1 สัปดาห์ ก่อนที่จะเริ่มกองเห็ดแต่อย่าโรยภายในกอง เพราะจะมีผลต่อการ ออกดอก ทั้งยังมีสารพิษตกค้างในดอกเห็ดซึ่งเกิดอันตรายต่อผู้กิน 2. เห็ดคู่แข่ง คือเห็ดที่เราไม่ได้เพาะแต่ขึ้นมาด้วย หรือเชื้อโรค อื่นๆ ที่เป็นศัตรูของเห็ดฟาง เช่น พวกราต่าง ๆวิธีแก้คือการเก็บ ฟางไม่ควรให้ถูกฝน และถ้ามีราขึ้นให้หยิบฟางขยุ้มนั้นทิ้งให้ไกลกองเพาะ ข้อแนะนำเพิ่มเติม
1. ในการเพาะเห็ดฟางแบบกองเตื้ยนั้น หากมีการเพาะหลาย ๆ กองเรียงกันแล้ว จะสามารถใช้ประโยชน์จากเนื้อที่ระหว่างกองแต่ละกองได้อีกด้วย เนื่องจากขณะรดน้ำก็จะมีธาตุอาหาร อาหารเสริม เส้นใยเห็ดที่ถูกน้ำชะไหลลงไปรวมอยู่บริเวณพื้นที่ระหว่างกอง จึง ทำให้บริเวณนั้นมีอาหารครบถ้วนต่อการเกิดดอกเห็ด และยิ่งถ้าให้ ความเอาใจใส่ดูแลอย่างดี หมั่นตรวจดูความชื้น อุณหภูมิ ให้เหมาะสม ต่อการเกิดดอกด้วยแล้ว พื้นที่ระหว่างกองนั้นก็จะให้ดอกเห็ดได้ อีกด้วย
2. ฟางที่จะใช้สำหรับการเพาะนั้นจะใช้ตอซัง หรือจะใช้ฟางที่ ได้จากเครื่องนวดข้าวก็ได้
3. หลังจากเก็บดอกเห็ดหมดแล้ว ควรเอากองเห็ดหลาย ๆ กอง มาสุมรวมกันเป็นกองใหม่ให้กว้างประมาณ 80 ซม. ทำแบบการเพาะ เห็ดกองสูง แล้วรดน้ำพอชุ่มคลุมฟางได้สัก 6 - 8 วัน ก็จะเกิดดอกเห็ด ได้อีกมากพอสมควรเก็บได้ประมาณ 10 - 15 วันจึงจะหมด วัสดุที่ใช้นี้ หลังจากเพาะเห็ดฟางแล้วสามารถนำไปเพาะเห็ดอย่างอื่นได้อีกด้วยโดยแทบไม่ต้องผสมอาหารเสริมอื่น ๆ ลงไปอีกเลย หรือจะใช้เป็น ปุ๋ยหมักสำหรับต้นไม้ก็ได้ มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับปุ๋ยอินทรีย์ที่ กทม. ขายอยู่นั้นมาก
4. เมื่อเก็บดอกเห็ดหมดแล้ว นำฟางจากกองเห็ดเก่านี้ไปหมักเป็นปุ๋ยหมักใช้กับพืชอื่น ๆ ต่อไป หรือนำฟางที่ได้จากการเพาะเห็ด ไปเพาะเห็ดนางรม เป๋าฮื้อ ก็ได้
5. การขุดดินตากแดด 1 สัปดาห์ ย่อยให้ดินร่วนละเอียด จะทำให้ผลผลิตเห็ดได้มากกว่าเดิมอีก 10-20%เพราะเห็ดเกิดบนดิน รอบ ๆ ฟางได้
6. การเปลี่ยนวิธีคลุมกองเห็ดตั้งแต่วันที่ 4 นับจากการเพาะ เป็นต้นไป ให้เป็นแบบหลังคาประทุนเรือจะทำให้ได้เห็ดเพิ่มขึ้น