การเพาะ ”เห็ดฟาง” จากเปลือกถั่วเขียว
การเพาะ ”เห็ดฟาง” จากเปลือกถั่วเขียว
ประเทศ ไทยมีการพัฒนาการเพาะเห็ดฟางมานานถึง 50 ปีแล้ว นับว่ามีความก้าวหน้าในการ เพาะเห็ดฟางมากประเทศหนึ่ง โดยมีการทดลองนำวัสดุอื่น ๆ นอกจากฟางมาเพาะเห็ด ฟาง เช่น ผักตบชวา ไส้นุ่น ไส้ฝ้ายเปลือกถั่วเหลือง เปลือกถั่วเขียว เป็น ต้น ปรากฏว่าวัสดุต่าง ๆ ซึ่งเป็นวัสดุที่เหลือใช้สามารถใช้เพาะเห็ดฟาง ได้ แต่ที่ให้ผลผลิตคุ้มค่าต่อการลงทุนมากที่สุด คือ เปลือกถั่วเขียว ซึ่ง เป็นวัสดุที่เหลือใช้จากการปลูกถั่วเขียว นอกจากนี้วิธีการเพาะก็สามารถทำ ได้ง่ายสะดวกรวดเร็วกว่า และผลผลิตสูงกว่าการเพาะด้วยฟางข้าว
วัสดุเพาะ:
1. เชื้อเห็ดฟาง หมายถึง เส้นใยเห็ดฟางที่เจริญเติบโตในปุ๋ยหมักที่ผ่านการฆ่าเชื้อโรคอย่างดี แล้วสามารถที่จะนำไปเพาะได้เลย ควรเลือกซื้อเชื้อเห็ดที่มีคุณภาพราคาไม่แพง
วัสดุเพาะ:
1. เชื้อเห็ดฟาง หมายถึง เส้นใยเห็ดฟางที่เจริญเติบโตในปุ๋ยหมักที่ผ่านการฆ่าเชื้อโรคอย่างดี แล้วสามารถที่จะนำไปเพาะได้เลย ควรเลือกซื้อเชื้อเห็ดที่มีคุณภาพราคาไม่แพง
2. เปลือกถั่วเขียว ควรเลือกเปลือกของฝักถั่วเขียวที่มีลักษณะป่นเล็กน้อยหลังจากนวดเอาเมล็ดออก แล้วและต้องแห้งไม่ถูกน้ำหรือฝนจนกว่าจะนำมาเพาะเห็ดฟาง
3. สถานที่ ควรเป็นที่ดอน ไม่มีมด ปลวก แมลงต่าง ๆ และศัตรูของเห็ดฟางชนิดอื่น ๆ สถานที่นั้นต้องไม่เป็นดินเค็ม ดินด่างจัด หรือน้ำไม่ท่วมขัง ควรอยู่ใกล้แหล่งน้ำหรือสามารถหาน้ำมาใช้ได้สะดวก ต้องไม่เป็นที่ที่เคยเพาะเห็ดฟางมาก่อนอย่างน้อย 1 เดือน และที่สำคัญบริเวณนั้นต้องไม่มีพิษตกค้างของสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชใด ๆ ทั้งสิ้น ในฤดูแล้งควรทำการเพาะในนาข้าว เพื่อเป็นการเพิ่มปุ๋ยหมักให้แก่ข้าวด้วย ส่วนในฤดูฝนควรเลือกที่ตอนกลางแจ้งที่เหมาะสม
4. น้ำ ควรเป็นน้ำที่สะอาดปราศจากคลอรีนและกลิ่นเน่าเหม็น ไม่เป็นน้ำเค็ม หรือน้ำกร่อย
5. อาหารเสริม ควรหาง่ายในท้องถิ่น มีลักษณะไม่อุ้มน้ำมากเกินไป มีอาหารที่เหมาะสมสำหรับเห็ดฟางไม่เข้มข้นมากเกินไป อาหารเสริมที่ผ่านการทดลองและได้ผลดี ได้แก่ละอองข้าวผสมมูลควาย มูลโค และปุ๋ยหมักที่สลายตัวแล้ว สำหรับอัตราส่วนของการผสมนั้นขึ้นกับสถานที่ด้วย เช่น ละอองข้าวกับปุ๋ยหมัก เท่ากับ 1:1 หรือ 4:3 หรือ 2:1 เป็นต้น
6. แบบไม้หรือลังไม้ มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมคางหมูโดยมีด้านกว้างด้านบน 25 เซนติเมตร ด้านล่าง 30 เซนติเมตร ยาว 100 เซนติเมตร และสูง 25 เซนติเมตร
6. แบบไม้หรือลังไม้ มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมคางหมูโดยมีด้านกว้างด้านบน 25 เซนติเมตร ด้านล่าง 30 เซนติเมตร ยาว 100 เซนติเมตร และสูง 25 เซนติเมตร
นอกจากนี้ยังมีแผ่นไม้กดใช้สำหรับกดเปลือกถั่วเขียว เพื่อความสะดวกในการทำกองเพาะ โดยใช้ไม้แผ่นขนาดกว้าง 20 เซนติเมตร ยาว 30 เซนติเมตร และมีไม้สำหรับทำด้ามจับลักษณะคล้ายเกรียงฉาบปูน(ดังรูปด้านล่าง)
7. ผ้าพลาสติก จะใช้ชนิดใสหรือสีดำก็ได้ ขึ้นกับราคาและความคงทน ถ้าหาไม่ได้ก็อาจใช้กระสอบปุ๋ยเย็บติดต่อกันแล้วนำไปล้างให้สะอาดปราศจาก ความเค็มของปุ๋ย เพราะความเค็มจะทำให้ดอกเห็ดไม่เจริญเติบโต
7. ผ้าพลาสติก จะใช้ชนิดใสหรือสีดำก็ได้ ขึ้นกับราคาและความคงทน ถ้าหาไม่ได้ก็อาจใช้กระสอบปุ๋ยเย็บติดต่อกันแล้วนำไปล้างให้สะอาดปราศจาก ความเค็มของปุ๋ย เพราะความเค็มจะทำให้ดอกเห็ดไม่เจริญเติบโต
8. โครงไม้ไผ่ หรือจะใช้โครงเหล็กก็ได้ ซึ่งจะใช้ในการขึ้นโครงเมื่อกองเพาะมีอายุได้ 3-4 วันหลังจากวันเพาะ โดยนำไปปักให้เป็นรูปครึ่งวงกลมหรือรูปฝาชีคร่อมกองเห็ดเพาะซึ่งมีส่วนสูง ไม่น้อยกว่า 60 เซนติเมตร
9. บัวรดน้ำ จอบ หรือเสียม
10. ฟางข้าวหรือเศษหญ้าแห้ง สำหรับคลุมกองเพาะ เพื่อพรางแสงแดด อาจใช้หญ้าคาหรือแฝกก็ได้
วิธีการเพาะเห็ดฟาง:
1. เตรียมวัสดุเพาะ โดยนำเปลือกถั่วเขียวไปแช่น้ำ ประมาณ 5-10 นาที แล้วจึงนำมาเทกองรวมกันคลุมด้วยผ้าพลาสติกทิ้งไว้หนึ่งคืน เพื่อให้เปลือกถั่วเขียวนิ่มและมีคุณสมบัติที่พร้อมจะเปื่อยสลายได้ ระวังอย่าให้มีเชื้อราขึ้นบนเปลือกถั่วเขียวจะเพาะเห็ดฟางไม่ได้ผล เปลือกถั่วเขียว 1 กระสอบข้าวสาร สามารถเพาะเห็ดฟางได้ 10-12 กอง (แบบไม้)
2. เตรียมสถานที่ ที่จะเพาะ โดยปรับพื้นที่ให้เรียบแล้วพรวนดินแบบทำแปลงผัก ย่อยดินให้แตกร่วนเพราะการเพาะเห็ดด้วยวิธีนี้ ดอกเห็ดฟางจะเกิดบนดินและควรกำจัดวัชพืชออกด้วย จากนั้นจึงตักน้ำรดให้ชุ่มทิ้งไว้หนึ่งคืน
3. เตรียมอาหารเสริม ปริมาณขึ้นสถานที่กล่าวคือถ้าเป็นดินที่ไม่เคยทำสวนผักมาก่อน ให้ใช้ละอองข้าวผสมมูลควายเป็นอาหารเสริม 4 ปี๊บต่อเปลือกถั่วเขียว 25 กอง แต่ถ้าเป็นดินที่เคยทำสวนผักมาก่อนมีความอุดมสมบูรณ์มาก อาจใช้ละอองข้าวอย่างเดียวประมาณ 3 ปี๊บก็เพียงพอ นำอาหารเสริมมาคลุกเคล้ากับน้ำแล้วใช้พลาสติกคลุมไว้หนึ่งคืนเช่นกัน โดยปกติควรจะเตรียมวัสดุเพาะอาหารเสริมและสถานที่ ในตอนเย็น แล้วพักทิ้งไว้หนึ่งคืน รุ่งเช้าจึงจะดำเนินการต่อไป
4. วางแบบไม้ลงบนแปลงที่เตรียมไว้ แล้วโรยอาหารเสริมไปตามขอบด้านในของแบบไม้ นำเปลือกถั่วเขียวที่เตรียมไว้เทลงในแบบไม้ ใช้ไม้กดเปลือกถั่วเขียวให้แน่นโดยมีความสูงประมาณหนึ่งฝ่ามือ (ประมาณ 12-15 เซนติเมตร)
5. ยกแบบไม้ออก แล้วทำกองต่อไปให้ห่างจากกองแรกประมาณหนึ่งฝ่ามือ ทำเหมือนกับกองแรก ควรทำ 25 กองต่อ 1 แปลง เพื่อสะดวกในการดูแลรักษา ในกรณีที่ทำแปลงละ 25 กอง จะใช้เปลือกถั่วเขียว 2 กระสอบครึ่ง เชื้อเห็ดฟาง 18 ถุง (ขนาดถุงละประมาณ 2 ขีด) ส่วนอาหารเสริมแล้วแต่สภาพของดิน
6. เมื่อสร้างกองเสร็จแล้ว โรยเชื้อเห็ดฟางลงบนดินระหว่างกองและรอบ ๆ กอง แต่ไม่โรยบนกองเปลือกถั่วเขียว ใช้เชื้อเห็ดฟาง 18 ถุงต่อ 25 กอง แล้วโรยอาหารเสริมทับลงบนเชื้อเห็ดฟางอีกที โดยโรยบาง ๆ ถ้าดินอุดมสมบูรณ์ แต่ถ้าดินไม่ค่อยอุดมสมบูรณ์ก็ให้โรยหนากว่าเล็กน้อย แต่อย่าให้เกิน 1 เซนติเมตร
7. รดน้ำกองเพาะให้ชุ่ม แต่อย่าให้โชกจนน้ำไหลนอง เพราะน้ำจะพาเอาเส้นใยเห็ดไหลไปที่อื่น
8. ใช้ผ้าพลาสติกคลุมกองให้มิดชิด เพื่อทำให้เกิดความร้อนซึ่งเป็นสภาพที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเส้นใยเห็ดฟาง
9. ใช้ฟางข้าว หรือเศษหญ้าแห้งคลุมบนผ้าพลาสติกอีกชั้นหนึ่ง โดยคลุมให้หนา ๆ เพื่อป้องกันแสงเข้าไปในกองเพาะและช่วยรักษาความชื้นของกองเพาะอีกด้วย
การดูแลรักษากองเพาะ:
1. ในช่วง 1-2 วันแรก ไม่ต้องทำอะไรกับกองเพาะเลย นอกจากป้องกันไม่ให้สุนัข ไก่ หรือสัตว์อื่น ๆ ไปรบกวนกองเพาะ
2. เมื่อเริ่มวันที่ 3 หลังจากวันเพาะ ให้เปิดกองเพาะดูจะเห็นว่ามีตุ่มเห็ดโตประมาณเกือบเท่าหัวไม้ขีดเต็มไปหมด จึงทำการเปิดกองเพาะทั้งหมด โดยเอาฟางและผ้าพลาสติกออกทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที เพื่อให้สภาพของกองเพาะเย็นลงและเป็นการไล่แก๊สที่เกิดจากการหมักเน่าของ เปลือกถั่วเขียวออกไปด้วย
เมื่อกองเพาะเย็นตัวลงแล้วตักน้ำรดกองเพาะ 1-2 หาบบัว จากนั้นจึงทำการยกโครงโดยใช้ไม้ไผ่ปักหัวท้าย แล้วทำให้เป็นโครงคล้ายรูปฝาชีและมีความสูงอย่างน้อย 60 เซนติเมตร แล้วคลุมด้วยผ้าพลาสติก และฟางข้าวเช่นเดิม
3. ทำการเปิดกองเพาะทุกเช้าและเย็นของวันที่ 4-5-6-7 หลังจากวันเพาะ ครั้งละประมาณ 30 นาที ช่วงนี้ให้สังเกตดูการเจริญเติบโตของดอกเห็ดด้วยว่าผิดปกติหรือไม่ ถ้ามีเส้นใยขึ้นปกคลุมดอกเห็ดมาก และเกิดผิวตกกระก็ให้เปิดกองเพาะนานกว่าเดิม
4. หลังจากเปิดกองเพาะในตอนเย็นของวันที่ 7 หลังจากวันเพาะ ถ้ามีดอกเห็ดฟางที่คาดว่าจะเริ่มเก็บได้ในวันรุ่งขึ้นประมาณครึ่งหนึ่งของ กองเพาะ ก็ให้ตักน้ำรดกองเพาะประมาณ 1 หาบบัว เพื่อเป็นการเพิ่มน้ำหนักให้กับดอกเห็ดและเพิ่มความชื้นให้กับกองเพาะด้วย ถ้าไม่รดน้ำจะได้เห็ดที่มีน้ำหนักน้อยกว่าการรดน้ำ
การเปิดดูกองเพาะ
การเปิดดูกองเพาะ
การเก็บดอกเห็ด:
ในวันที่ 8 หลังจากวันเพาะก็สามารถเก็บดอกเห็ดได้เลย การเก็บควรเก็บในตอนเช้ามืด เพื่อดอกเห็ดจะได้ไม่บาน ดอกเห็ดที่เก็บควรมีลักษณะเป็นรูปไข่ปลอกยังไม่แตก และดอกยังไม่บานเพราะถ้าปล่อยให้ปลอกแตกและดอกบานแล้วค่อยเก็บจะทำให้ขายได้ ราคาต่ำ
วิธีเก็บให้ใช้นิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้กดดอกเห็ดแล้วหมุนเล็กน้อยยกขึ้นเบา ๆ ดอกเห็ดก็จะหลุดออกมาโดยง่าย ถ้ามีดอกเห็ดขึ้นอยู่ติดกันหลายดอก ควรเก็บขึ้นมาพร้อมกันทั้งหมดทีเดียว ถ้าเก็บเฉพาะดอกเห็ดที่โตออกมาดอกที่เหลือจะไม่โตและฝ่อตายไป
ไม่ควรใช้มีดดัดดอกเห็ด เพราะจะทำให้มีเศษเหลืออยู่ซึ่งอาจจะเน่าและลุกลามไปทั่วกองได้
เมื่อเก็บเห็ดออกมาแล้ว ต้องทำการตัดแต่งเอาดิน หรืออาหารเสริมออกให้หมด จากนั้นนำใส่ลงในภาชนะที่โปร่ง เช่น กระบุง ตะกร้า เข่ง ที่รองด้วยกระดาษ หรือใบกล้วย ห้ามพรมน้ำหรือแช่น้ำเด็ดขาด เพราะจะทำให้เห็ดอมน้ำ เก็บไว้ได้ไม่นาน เน่าเสียง่ายกว่าปกติ และจะทำให้รสชาติเสียไปด้วย สำหรับผลผลิตต่อกองเพาะนั้น ได้ประมาณ 5 ขีด จนถึง 1 กิโลกรัม โดยเก็บได้ถึง 3 ครั้ง ขึ้นกับคุณภาพของเชื้อเห็ดฟาง และการดูแลรักษาด้วย
ศัตรูเห็ดฟางและการป้องกันกำจัด:
1. โรคราเมล็ดผักกาดหรือราหัวแข็ง
เริ่มแรกจะเกิดเป็นเส้นใยขาวแผ่หนาเห็นได้ชัด พอแก่จะเกิดเป็นเม็ดเล็ก ๆ สีขาวต่อมากลายเป็นสีน้ำตาลเข้ม ราชนิดนี้มักทำให้กองเพาะเห็ดเน่าได้ เชื้อราจะติดมากับเปลือกถั่วเขียว หรืออยู่บนดินที่มีโรคนี้อยู่ก่อนแล้ว
การป้องกัน :
อาจทำได้โดยใช้เปลือกถั่วเขียวที่แห้งและสะอาดไม่มีเชื้อราชนิดอื่นขึ้น ใช้เชื้อเห็ดฟางที่ดี และดูแลรักษากองเพาะให้ถูกวิธี อย่าเพาะเห็ดฟางซ้ำที่เดิม ถ้าโรคนี้เกิดขึ้นควรนำไปเผาทำลายเสีย
2. โรคเน่า
เชื้ออาจติดมากับเปลือกถั่วเขียวหรือน้ำที่ใช้รดทำให้เห็ดฟางเน่าได้
การป้องกัน :
เหมือนกับโรคราเมล็ดผักกาด
เหมือนกับโรคราเมล็ดผักกาด
3. แมลง ได้แก่ มด ปลวก จะมาทำรังและกัดกินเชื้อเห็ดและรบกวนเวลาทำงาน
การป้องกัน :
ควรเลือกสถานที่เพาะเห็ดฟาง ไม่ให้มีมด ปลวก ไม่แนะนำให้ใช้สารฆ่าแมลง เพราะการเพาะเห็ดชนิดนี้จะได้เห็ดที่เกิดบนดินจำนวนมาก และอีกประการหนึ่ง เห็ดมีอายุสั้นอาจเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคได้
4. เห็ดราชนิดอื่น ได้แก่ เห็ดขี้ม้า เห็ดหมึก จะเจริญแข่งกับเห็ดฟางและแย่งอาหารบางส่วนไป
การป้องกัน :
ทำได้โดยใช้เปลือกถั่วเขียวที่แห้ง และสะอาดไม่มีเชื้อราชนิดอื่นขึ้น ใช้เชื้อเห็ดฟางที่ดีและดูแลรักษากองเพาะให้ถูกวิธี
5. สัตว์ชนิดอื่น ได้แก่ หนู จิ้งเหลน กิ้งกือ คางคก จะกัดหรือแทะเห็ดได้ นอกจากนี้ยังสามารถคุ้ยทำลายกองเพาะจนทำให้เส้นใยขาด แต่ทำความเสียหายไม่มากนัก
ที่มา :เกษตรไซเบอร์