วันเสาร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2558

เชื้อเห็ดฟาง

เชื้อเห็ดฟาง

เชื้อเห็ดฟาง 

กรมวิชาการเกษตรได้รวบรวมคัดเลือกสายพันธุ์เห็ดฟางจากแหล่งวัสดุต่าง ๆ เพื่อเป็นสายพันธุ์เชิงพาณิชย์ระหว่าง ปี พ.ศ. 2544-2546 (รายงานประจำปี กรมวิชาการเกษตร 2546)
จากการเก็บตัวอย่างดอกเห็ดฟางที่เกิดบนกระดาษ ต้นข้าวโพด ขี้เลื่อยใช้แล้ว และทะลายปาล์มน้ำมัน จากจังหวัดต่าง ๆ นำมาแยกเนื้อเยื่อเลี้ยงเป็นเส้นใยบริสุทธิ์เก็บไว้ในน้ำกลั่นที่ผ่านการ นึ่งฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ ในครั้งนี้ใช้เชื้อเห็ดที่แยกจากวัสดุดังกล่าว เลี้ยงบน พีดีเอ แล้วขยายลงปุ๋ยหมักเป็นเชื้อเพาะทำการเพาะทดสอบเปรียบเทียบผลผลิตในโรงเรือน พบว่า
1. เชื้อเห็ดฟางสายพันธุ์เบอร์ 6 เป็นสายพันธุ์เหมาะทำการเพาะกับเปลือกฝักถั่วเขียว ในพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ ในสภาพอากาศร้อนขึ้นให้ผลผลิต 1.0113 กิโลกรัมต่อตารางเมตร ซึ่งสูงกว่าสายพันธุ์เบอร์ 2 (เชื้อของศูนย์รวบรวมเชื้อเห็ดแห่งประเทศไทย) และสายพันธุ์ที่เกิดบนต้นข้าวโพด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
2. เชื้อเห็ดฟางสายพันธุ์ที่เกิดบนต้นข้าวโพด เหมาะ ทำการเพาะกับขี้เลื่อยที่ใช้แล้วในพื้นที่ภาคกลางในช่วงฤดูร้อน ให้ผลผลิต 1.79 กิโลกรัมต่อตารางเมตร ซึ่งสูงกว่าเห็ดฟางสายพันธุ์ที่เกิดบนขี้เลื่อยใช้แล้วและกระดาษอย่างมีนัย สำคัญทางสถิติ แต่เมื่อเพาะข้าวฟ่างในช่วงฤดูฝน ให้ผลผลิตเพียง 0.59 กิโลกรัมต่อตารางเมตร ซึ่งไม่ความแตกต่างทางสถิติกับเห็ดฟางสายพันธุ์ที่เกิดบนขี้เลื่อยใช้แล้ว และกระดาษ
3. ได้ทดสอบเห็ดฟางสายพันธุ์ต่าง ๆ เพาะ กับทะลายปาล์มน้ำมันที่ใช้เพาะแล้วนำมาหมักใหม่พบว่า สายพันธุ์ เชียงใหม่-1 ให้ผลผลิตได้ที่เพียง 0.522 กิโลกรัมต่อตารางเมตร (ตารางที่ 1) และได้นำเชื้อเห็ดฟางสายพันธุ์ที่เกิดบนทะลายปาล์มน้ำมันจาก จ. สิงห์บุรี นำไปเพาะทดสอบกับทะลายปาล์มน้ำมันในแปลงเพาะของเกษตรกรโดยเพาะนอกโรงเรือนใน พื้นที่สวนปาล์มน้ำมันภาคใต้ จ. ชุมพร พบว่าให้ผลผลิต 800- 900 กิโลกรัม ต่อทะลายปาล์มน้ำมัน 12,000 กิโลกรัม (น้ำหนักเปียก) หรือได้เห็ด 6.6-7.5 กิโลกรัมต่อทะลายปาล์ม 100 กิโลกรัม หรือมีค่า B.E. (Biological Efficiency) อยู่ระหว่าง 6.6-7.5% ในช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม 2547 ซึ่งได้ผลผลิตสูงกว่าที่มีรายงานว่าได้เห็ดฟางเพียง 2.55% BE (Chan Graham, 1973)
นอกจากนั้นเมื่อทดสอบการใช้เชื้อเห็ดฟาง 14 สายพันธุ์ เพาะกับวัสดุหมักต่าง ๆ พบว่าการใช้ทะลายปาล์มน้ำมัน ให้ผลผลิตต่ำกว่า ดังตารางที่ 2
ตารางที่ 1 เปรียบเทียบน้ำหนักผลผลิตเห็ดฟางสายพันธุ์ต่าง ๆ จากการเพาะด้วยทะลายปาล์มน้ำมัน ในระบบโรงเรือน ที่ จ. สิงห์บุรี ระหว่างเดือนมกราคม-กุมภาพันธุ์ พ.ศ. 2545 (6 ซ้ำ)
ตารางที่ 2 เปรียบเทียบน้ำหนักผลผลิตเฉลี่ย เห็ดฟาง จำนวน 14 สายพันธุ์ จากการเพาะด้วยวัสดุ หมัก ต่าง ๆ 5 ชนิด ระหว่าง พ.ศ. 2544-2546
แนวโน้มของวัตถุดิบ(ปาล์มน้ำมัน)ในอนาคต:
ปริมาณทะลายเปล่าปาล์มน้ำมัน จากหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ฉบับวันเสาร์ที่ 17 เมษายน 2547 ในคอลัมน์ย่อยข่าว หัวข้อ หนุนยุทธศาสตร์ปาล์มน้ำมัน นาย สมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า
ยุทธศาสตร์การพัฒนาปาล์มน้ำมันไทยปี 2547-2549 จะเน้นผลิตปาล์มน้ำมันให้เพียงพอกับความต้องการภายในประเทศ ภายใต้กระบวนการผลิตและการตลาดที่มีประสิทธิภาพและสามารถแข่งขันกับน้ำมัน ปาล์มน้ำเข้าและน้ำมันพืชอื่นได้ รวมทั้งเป็นการเตรียมความพร้อมเพื่อเป็นแหล่งที่มาของพลังงาน โดยแผนพัฒนาปาล์มน้ำมันฉบับนี้ได้กำหนดมาตรการ กลไกลดำเนินการด้านการผลิต ในการเพิ่มประสิทธิภาพ การผลิต เน้นพื้นที่ปลูกเดิมมากกว่าขยายพื้นที่ปลูกปาล์มพันธุ์ดีทดแทนสวนปาล์ม น้ำมันที่ปลูกด้วยพันธุ์คุณภาพต่ำ ฯลฯ และตามแผนยุทธศาสตร์ปาล์มน้ำมัน พ.ศ. 2544-49 ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้กำหนดเป้าหมายสำคัญว่า เมื่อสิ้นสุดแผนในปี พ.ศ. 2549 จะสามารถเพิ่มผลผลิตเฉลี่ยจาก 2.5 ตัน/ไร่/ปี เป็น 3.0 ตัน/ไร่/ปี และจากรายงานของ กฤติยา เอี่ยมสุทธา (2547) ว่า ปี พ.ศ. 2546 ประเทศไทยมีเนื้อที่ยืนต้นของปาล์มน้ำมัน ประมาณ 2.1 ล้านไร่ เนื้อที่ให้ผลผลิต 1.8 ล้านไร่ ประมาณไร่ละ 2.6 ตัน และจะได้ผลผลิต 4.8 ล้านตัน
การคำนวณทะลายปาล์มน้ำมัน :
ทะลายเปล่าปาล์มน้ำมันสลัดลูกออกแล้ว คงเหลือเป็นทะลายเปล่า 50% โดยน้ำหนัก ผลผลิตปาล์มทั้งหมดเฉลี่ยประมาณ (พ.ศ. 2546) 4.8 ล้านตัน จะมีทะลายเปล่าทั้งหมดเฉลี่ยประมาณ (พ.ศ. 2546) 2.4 ล้านตัน
ผลผลิตปาล์มทั้งหมดเฉลี่ยประมาณ (พ.ศ. 2547-2549) 3.0 x 1.8 ล้านไร่ 5.4 ล้านต้น จะมีทะลายเปล่าทั้งหมดเฉลี่ยประมาณ (พ.ศ. 2547-2549) 2.7 ล้านตัน
ข้อพึงระวังจากการเพาะเห็ดฟางด้วยทะลายเปล่าปาล์มน้ำมัน :
1. ทะลายปาล์มเป็นวัสดุที่มีสารอาหารมากกว่าวัสดุเพาะอื่น ๆ จะมีจุลินทรีย์ปนเปื้อนสูงที่จะกระทบกระเทือนต่อสุขภาพของผู้เพาะในระบบทาง เดินหายใจ และมีผลต่อการเจริญของเห็ดฟางด้วย เพราะว่าจะมีกลุ่มเชื้อราหลายชนิด (ที่ไม่พบเมื่อใช้ฟางข้าวเพาะ) จะเจริญกระจายก่อนบนแปลงเพาะทำให้เกิดช้ากว่าจนทำให้เกษตรกรขาดความมั่นใจใน การเพาะว่าจะได้ดอกเห็ด
2. ทะลายปาล์มเป็นแหล่งสะสมแมลงและหนอน ในการเพาะแบบกองเตี้ย
3. การใช้อาหารเสริมซึ่งมีส่วนเป็นแหล่งเพิ่มราปนเปื้อน ในกลุ่มราเขียว (หลายกลุ่ม) และกลุ่มอื่น ๆ เนื่องจากอาหารเสริมจะมีแป้ง รำ หรือโปรตีนจากแหล่งต่าง ๆ จะเป็นอาหารของกลุ่มเชื้อราและจุลินทรีย์อื่น ๆ ในการเจริญเติบโตเพาะขยายพันธุ์อย่างดี ในสภาพอากาศที่ร้อนชื้น ดังนั้น ถ้าอาหารเสริมนั้นเก่า เก็บไว้นาน ก็จะเป็นแหล่งแพร่จุลินทรีย์และแมลงปนเปื้อนเป็นอย่างดี
4. ควรมีการระบายความร้อน หรือความชื้นที่มากเกินในแปลงเพาะหรือโรงเรือนเพื่อช่วยให้ดอกเห็ดไม่ฉ่ำน้ำ จนเกินไป ซึ่งถ้าดอกเห็ดฉ่ำน้ำ การเก็บรักษาเห็ดตั้งแต่ช่วงขนส่ง และขายจนถึงผู้บริโภคก็จะเป็นเห็ดฟางที่คุณภาพไม่ดี ซึ่งจะมีผลต่อตลาดเห็ดฟางในอนาคตด้วย
บทสรุป :
เมื่อเรามีโอกาสดีที่จะมีทะลายเปล่าปาล์มน้ำมันจำนวนมากเป็นวัตถุดิบซึ่ง เก็บความร้อนได้ดีมีสารอาหารที่มีคุณค่าต่อการเจริญของเห็ดฟาง (ตารางที่ 3 และ ตารางที่ 4) มีเทคโนโลยีในการผลิตเห็ดและมีเชื้อพันธุ์เห็ดฟางที่เหมาะสมสำหรับเพาะเห็ด ฟาง เมื่อรับบาลเน้นมุ่งส่งเสริมการผลิตอาหารปลอดภัยต่อสุขภาพ เห็ดฟางนั้นจัดเป็นพืชผักดังกล่าวอยู่แล้ว ดังนั้น เกษตรกรผู้มีความตั้งใจที่จะเพาะเป็นอาชีพจึงควรต้องมีการวางแผน การจัดการ งานเพาะเห็ดในฟาร์มเห็ดตลอดเวลา จะช่วยป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นระหว่างการผลิตเห็ดรวมทั้งผลผลิตเห็ดที่ได้ ออกมาจะมีคุณภาพดี เป็นที่ต้องการของผู้บริโภค ในขณะเดียวกันนักวิจัยจะต้องศึกษาและพัฒนาการใช้ประโยชน์ทะลายเปล่าปาล์ม น้ำมันเปลี่ยนให้เป็นดอกเห็ดฟางสูงขึ้นกว่าปัจจุบัน จากการร่วมมือซึ่งกันและกันของหลาย ๆ ฝ่าย ทำให้เกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้
ตารางที่ 3 ค่าวิเคราะห์ทางเคมีของทะลายเปล่าปาล์มน้ำมันสดที่สกัดน้ำมันปาล์มไปแล้ว (ข้อมูลจาก บริษัทยูนิออยปาล์ม)

ที่มา : http://mushroomfarn.blogspot.com/2013/06/blog-post_7266.html