การเพาะ”เห็ดฟาง”ในกระสอบ
การเพาะ”เห็ดฟาง”ในกระสอบ
ปัจจุบัน วัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรและวัสดุเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเกษตรในประเทศไทย มีจำนวนมาในแต่ละปี และหาได้ง่ายในแต่ละท้องถิ่น ถ้าซื้อก็มีราคา ถูก อาทิ ฟางข้าว เศษขี้ฝ้ายกากหรือเปลือกมันสำปะหลัง ชานอ้อย เปลือกถั่ว เขียว เปลือกถั่วเหลืองและทะลายปาล์มน้ำมัน เป็นต้น
เมื่อมีการนำวัสดุเหล่านี้มาเพาะเห็ดฟางจะสร้างรายได้เสริมให้กับ เกษตรกร นอกจากนั้นยังมีส่วนช่วยรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ วัสดุที่ เหลือจากการเพาะเห็ดฟางยังสามารถมาทำปุ๋ยใส่ให้กับต้นไม้ได้อีก อ.สำ เนาว์ ฤทธิ์นุช จากวิทยาลัยเกษตรและ เทคโนโลยี จ.ชัยนาท(โทร. 0-5643-1512) ได้มีการพัฒนาวิธีการเพาะเห็ดฟางมา หลากหลายรูปแบบที่มีชื่อเสียงที่สุดคือวิธีการเพาะเห็ดฟางในตะกร้า พลาสติก มาถึงขณะนี้ได้ค้นหาวิธีการเพาะเห็ดฟางรูปแบบใหม่ประหยัดต้นทุนและ ทำได้ง่าย โดยนำก้อนขี้เลื่อยเก่าที่ผ่านการเพาะเห็ดถุงพลาสติก (เช่น เห็ด นางรม เห็ดนางฟ้า ฯลฯ) นำกลับมาเพาะเห็ดฟางในกระสอบได้
อ.สำ เนาว์ ได้บอกถึงอุปกรณ์ที่จะใช้เพาะเห็ดฟางในกระสอบ จะใช้ถุงปุ๋ย ถุงข้าวสารหรือถุงอาหารสัตว์ก็ได้ หาซื้อง่ายและมีราคาถูก (ราคาถุงละ 2-5 บาท) สามารถนำมาใช้เพาะได้ถึง 5-6 ครั้ง ขั้นตอนในการเพาะจะใช้ก้อนขี้เลื่อยเก่าจากการเพาะเห็ดนางรมหรือเห็ดนางฟ้า ประมาณ 15 ก้อน โดยแบ่งทำเป็น 2 ชุด คือ ชุดแรกนำก้อนขี้เลื่อยเก่า จำนวน 10 ก้อน ใส่ลงไปในกระสอบ ใช้ไม้ทุบหรือใช้เท้าเหยียบกระสอบให้ก้อนขี้เลื่อยแตกแบบหยาบ ๆ ให้มีส่วนที่แตกละเอียดบ้าง อีกส่วนหนึ่งเป็นก้อนเท่ากับผลมะนาว จากนั้นรดด้วยน้ำสะอาดให้ก้อนขี้เลื่อยมีความชื้นหมาด ๆ ทดสอบโดยการใช้มือกำขี้เลื่อยแน่น ๆ ถ้าพบว่ามีน้ำซึมออกมาจากซอกนิ้วมือเล็กน้อยเป็นว่าใช้ได้ หลังจากนั้นให้ทุบก้อนขี้เลื่อยที่เหลืออีก 5 ก้อนให้ละเอียดเพื่อใช้คลุกเคล้ากับเชื้อเห็ดฟาง
จาก นั้นแบ่งเชื้อเห็ดฟาง 1 ก้อน (แบบสปอน) ออกเป็น 3 ส่วน ในการเพาะแต่ละกระสอบจะใช้เชื้อเห็ดฟางเพียง 1 ส่วน นำเชื้อเห็ดฟางมายีออกจากกันในถังหรือภาชนะที่สะอาดและนำมาคลุกกับแป้งข้าว เหนียวอัตรา 1 ช้อนชา คลุกเคล้าให้ทั่ว และนำไปคลุกรวมกับก้อนขี้เลื่อย 5 ก้อน นำผักตบชวาน้ำหนักประมาณ 1 กิโลกรัม มาหั่นเฉียงคลุกเคล้าลงไปกับก้อนขี้เลื่อย 5 ก้อนนั้น ให้นำกองขี้เลื่อยที่คลุกเชื้อ เห็ดฟางและผักตบชวาใส่ลงไปในกระสอบที่ก้นกระสอบมีก้อนขี้เลื่อยทุบรองอยู่ แล้ว 10 ก้อน ใช้มือกดให้แน่นและเรียบ ใช้เชือกมัดปากกระสอบให้แน่น ถ้าเป็นการเพาะในช่วงฤดูฝนควรหักปากกระสอบลงเพื่อป้องกันน้ำเข้า นำกระสอบไปแขวนกับต้นไม้หรือราวไม้ไผ่ แขวนให้ปลายกระสอบตั้งขึ้นและให้ก้นกระสอบลอยสูงจากพื้น (ป้องกันปลวกไม่ให้เข้าไปกัดกิน)
เมื่อมีการนำวัสดุเหล่านี้มาเพาะเห็ดฟางจะสร้างรายได้เสริมให้กับ เกษตรกร นอกจากนั้นยังมีส่วนช่วยรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ วัสดุที่ เหลือจากการเพาะเห็ดฟางยังสามารถมาทำปุ๋ยใส่ให้กับต้นไม้ได้อีก อ.สำ เนาว์ ฤทธิ์นุช จากวิทยาลัยเกษตรและ เทคโนโลยี จ.ชัยนาท(โทร. 0-5643-1512) ได้มีการพัฒนาวิธีการเพาะเห็ดฟางมา หลากหลายรูปแบบที่มีชื่อเสียงที่สุดคือวิธีการเพาะเห็ดฟางในตะกร้า พลาสติก มาถึงขณะนี้ได้ค้นหาวิธีการเพาะเห็ดฟางรูปแบบใหม่ประหยัดต้นทุนและ ทำได้ง่าย โดยนำก้อนขี้เลื่อยเก่าที่ผ่านการเพาะเห็ดถุงพลาสติก (เช่น เห็ด นางรม เห็ดนางฟ้า ฯลฯ) นำกลับมาเพาะเห็ดฟางในกระสอบได้
อ.สำ เนาว์ ได้บอกถึงอุปกรณ์ที่จะใช้เพาะเห็ดฟางในกระสอบ จะใช้ถุงปุ๋ย ถุงข้าวสารหรือถุงอาหารสัตว์ก็ได้ หาซื้อง่ายและมีราคาถูก (ราคาถุงละ 2-5 บาท) สามารถนำมาใช้เพาะได้ถึง 5-6 ครั้ง ขั้นตอนในการเพาะจะใช้ก้อนขี้เลื่อยเก่าจากการเพาะเห็ดนางรมหรือเห็ดนางฟ้า ประมาณ 15 ก้อน โดยแบ่งทำเป็น 2 ชุด คือ ชุดแรกนำก้อนขี้เลื่อยเก่า จำนวน 10 ก้อน ใส่ลงไปในกระสอบ ใช้ไม้ทุบหรือใช้เท้าเหยียบกระสอบให้ก้อนขี้เลื่อยแตกแบบหยาบ ๆ ให้มีส่วนที่แตกละเอียดบ้าง อีกส่วนหนึ่งเป็นก้อนเท่ากับผลมะนาว จากนั้นรดด้วยน้ำสะอาดให้ก้อนขี้เลื่อยมีความชื้นหมาด ๆ ทดสอบโดยการใช้มือกำขี้เลื่อยแน่น ๆ ถ้าพบว่ามีน้ำซึมออกมาจากซอกนิ้วมือเล็กน้อยเป็นว่าใช้ได้ หลังจากนั้นให้ทุบก้อนขี้เลื่อยที่เหลืออีก 5 ก้อนให้ละเอียดเพื่อใช้คลุกเคล้ากับเชื้อเห็ดฟาง
จาก นั้นแบ่งเชื้อเห็ดฟาง 1 ก้อน (แบบสปอน) ออกเป็น 3 ส่วน ในการเพาะแต่ละกระสอบจะใช้เชื้อเห็ดฟางเพียง 1 ส่วน นำเชื้อเห็ดฟางมายีออกจากกันในถังหรือภาชนะที่สะอาดและนำมาคลุกกับแป้งข้าว เหนียวอัตรา 1 ช้อนชา คลุกเคล้าให้ทั่ว และนำไปคลุกรวมกับก้อนขี้เลื่อย 5 ก้อน นำผักตบชวาน้ำหนักประมาณ 1 กิโลกรัม มาหั่นเฉียงคลุกเคล้าลงไปกับก้อนขี้เลื่อย 5 ก้อนนั้น ให้นำกองขี้เลื่อยที่คลุกเชื้อ เห็ดฟางและผักตบชวาใส่ลงไปในกระสอบที่ก้นกระสอบมีก้อนขี้เลื่อยทุบรองอยู่ แล้ว 10 ก้อน ใช้มือกดให้แน่นและเรียบ ใช้เชือกมัดปากกระสอบให้แน่น ถ้าเป็นการเพาะในช่วงฤดูฝนควรหักปากกระสอบลงเพื่อป้องกันน้ำเข้า นำกระสอบไปแขวนกับต้นไม้หรือราวไม้ไผ่ แขวนให้ปลายกระสอบตั้งขึ้นและให้ก้นกระสอบลอยสูงจากพื้น (ป้องกันปลวกไม่ให้เข้าไปกัดกิน)
หลัง จากเพาะไปได้ประมาณ 10 วัน ก็จะเก็บเห็ดฟางในกระสอบไป รับประทานหรือนำมาจำหน่ายได้ ในแต่ละกระสอบจะเก็บเห็ดฟางได้ 1-2 ครั้งต่อการเพาะ 1 รุ่น และได้น้ำหนักเห็ดประมาณ 0.5-1 กิโลกรัม นับเป็นวิธีการหนึ่งของการเพาะเห็ดฟางที่นำวัสดุเหลือใช้มาทำให้เกิด ประโยชน์สูงสุด.
ที่มา : เกษตรไซเบอร์