วันเสาร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ความเป็นมาในการเพาะเห็ดฟางด้วยทะลายปาล์มน้ำมัน

ความเป็นมาในการเพาะเห็ดฟางด้วยทะลายปาล์มน้ำมัน

ความเป็นมาในการเพาะเห็ดฟางด้วยทะลายปาล์มน้ำมัน

วัสดุ เหลือใช้จากการเกษตรและอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน ได้ถูกนำมาใช้ประโยชน์โดยมี ความพยายามเปลี่ยนให้เป็นดอกเห็ดโดยเฉพาะเห็ดฟาง ซึ่งสืบเนื่องจากการที่เรา พบกลุ่มดอกเห็ดฟางเกิดขึ้นมากมายในบริเวณที่มีกองทะลายปาล์มสลายตัว จึงได้ ศึกษาวิธีการนำเศษเหลือจากปาล์มน้ำมันไปใช้เพาะเห็ดฟาง (อนงค์ จันทร์ศรีกุล , 2530) รวมทั้งเพาะเห็ดเป๋าฮื้อ นางรม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529-2534 และทำ เชื้อเห็ดฟาง เมื่อปี พ.ศ. 2634 ได้เริ่มใช้เศษเหลือปาล์มน้ำมันส่วนที่เป็น ใยและเปลือกเมล็ดปาล์มหมักเพาะเห็ดฟางในรังไม้สี่เหลี่ยมที่บริษัทแสง สวรรค์ จังหวัดกระบี่ (พ.ศ. 2530) นอกจากนั้นเรายังทำงานร่วมกับกลุ่มผู้ สนใจ (บริษัทยูนิออยปาล์ม และคุณ ปราณี ลิ่มศรีวิไล ) ใช้ทะลายเปล่าปาล์ม น้ำมันทดลองหมักแล้วนำมาเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย ซึ่งผลการทดลองที่ได้ไม่แตก ต่างกับที่ได้ทดลองไว้ที่แปลงทดลองของบริษัทแสงสวรรค์ โดยได้ผลผลิตเฉลี่ย ไม่เกินร้อยละ 3 หรือได้เห็ดฟางเพียง 3 กิโลกรัม จากการใช้ทะลาย ปาล์ม 100 กิโลกรัม
พื้นที่ที่เพาะปลูกระหว่างปี พ.ศ. 2530-2543 พื้นที่เพาะปลูกจากจังหวัดใน ภาคใต้ : สตูล นราธิวาส สงขลา กระบี่ ตรัง นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี และ ระนอง และจากจังหวัดในภาคตะวันออก : ชลบุรี สู่ภาคกลาง : ประจวบ คีรีขันธ์ นนทบุรี กรุงเทพมหานคร สุพรรณบุรี พระนครสรีอยุธยา ฯลฯ
พื้นที่เพาะปลูกระหว่างปี พ.ศ. 2543-2547 ได้ขยายพื้นที่เพาะปลูกจากจังหวัด ในภาคใต้ : สตูล นราธิวาส สงขลา กระบี่ ตรัง นครศรี ธรรมราช สุราษฎร์ ระนอง ชุมพร และ จากจังหวัดในภาคตะวันออก : ชลบุรี สู่ภาค กลาง : ประจวบคีรีขันธ์ ราชบุรี นครปฐม นนทบุรี กรุงเทพมหา นคร สุพรรณบุรี สิงห์บุรี สระบุรี พระนครศรีอยุธยา ฯลฯ ภาคตะวันออกเฉียง เหนือ : นครราชสีมา และภาคเหนือ : เชียงใหม่
วิวัฒนาการการเพาะเห็ดฟางจากทะลายปาล์มนอกโรงเรือน :
1.1. ระหว่างปี พ.ศ. 2530-2543
การนำทะลายปาล์มน้ำมันมาใช้นั้นมี ขั้นตอน วิธีการเพาะ และการปฏิบัติดูแลรักษาในแปลงเห็ดแต่ละช่วงจะคล้ายคลึงกับการเพาะเห็ดฟางกอง เตี้ยที่ใช้เปลือกฝักถั่วเขียว ฟางข้าว และวัสดุอื่น ๆ แต่ต่างกันที่ทะลายปาล์มน้ำมันมีสารอาหาร น้ำมัน (ในใยปาล์มแห้งจะมีไขมัน 2.29% ข้อมูลจากบริษัทกระบี่ไฟเบอร์ จำกัด) อยู่มากกว่าจึงมีทั้งจุลินทรีย์และแมลง ปนเปื้อน ดังนี้นจึงต้องทำความสะอาดโดยชะล้างด้วยน้ำก่อนหมักและนำไปใช้เพาะ
1.2 ระหว่างปี พ.ศ. 2543-2547 (วิธีการของคุณ ยุธนา กันทพงศ์ อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร)
1. การเตรียมทะลายปาล์มน้ำมัน
- ทะลายเปล่าปาล์มน้ำมัน (1 คันรถสิบล้อ) น้ำหนักประมาณ 13 ตัน
- รดด้วยน้ำให้ชุ่มปิดด้วยผ้าพลาสติกเป็นเวลา 4-5 วัน
- ล้างทะลายเปล่าปาล์มน้ำมันด้วยน้ำแล้วเติมด้วยปูนขาว 10 กิโลกรัม และส่าเหล้า 5 ลิตรผสมน้ำ 100 ลิตร รดกองทะลายปาล์มให้ทั่ว 10 ลิตร
- แล้วปิดกองให้มิดชิดด้วยผ้าพลาสติกเป็นเวลา 7 วัน
2. การเตรียมพื้นที่เพาะ / แปลงเพาะ
พื้นที่ส่วนใหญ่นิยมเพาะกันในสวนปาล์ม ควรเลือกพื้นที่ไม่มีปลวก และปรับพื้นที่ให้เรียบ ขนาดของแปลงเพาะ กว้าง x ยาว ประมาณ 1 x 8 เมตร นำทะลายปาล์มที่ผ่านการหมักแล้ววางเรียงเป็นแนวมุม 45 องศา แล้วรดด้วยน้ำสะอาด กดหรือเหยียบทะลายปาล์มให้แน่นแล้วรดด้วยน้ำปูนขาว (ปูนขาว 5% และน้ำผสมส่าเหล้า (ส่าเหล้า 5 ลิตรน้ำ 100 ลิตร ) ปริมาณ 2 บัว คลุมแปลงเพาะด้วยผืนพลาสติกสีดำ จนเกิดความร้อนซึ่งจะทำให้ตัวหนอนที่มีอยู่ในกองทะลายปาล์มเคลื่อนย้ายขึ้น มาอยู่หน้าพลาสติก จนสามารถกำจัดได้ง่ายโดยไม่ต้องใช้สารเคมีทะลายปาล์มน้ำมันจำนวนประมาณ 13 ตันนำไปเตรียมแปลงเพาะฟางได้ 24-25 แปลง
3. การเตรียมเชื้อเห็ดฟางที่จะนำมาเพาะ
สูตรอาหาร:
- กากถั่วเหลือง 20 กิโลกรัม
- มูลช้างผสมมูลม้าแห้ง 5 กิโลกรัม
- ยูเรีย เล็กน้อย
- ภูไมท์ 0.6 กิโลกรัม
- รำ 1 กิโลกรัม
- แกลบกาแฟ 10 กิโลกรัม
- ก้อนเห็ดนางฟ้าใช้แล้ว 10 กิโลกรัม
- ส่าเหล้า 1 ลิตร
- ขี้ฝ้าย 10 กิโลกรัม
- เชื้อพันธุ์เห็ดทดสอบสายพันธุ์ V- ทลป กรมวิชาการเกษตร
4. การใส่เชื้อเห็ดฟาง
ใช้เชื้อเห็ดฟางจำนวน 40 ถุง (ต่อแปลงเพาะขนาด กว้าง x ยาว = 1 x 8 ตารางเมตร ) คลุกกับแป้งข้าวเหนียวแล้วโรยลงเฉพาะตรงกลางแปลง ส่วนบริเวณที่เหลือโรยด้วยขี้เลื่อยจากก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้าเก่า แล้วคลุมแปลงเพาะด้วยผืนพลาสติก เป็นเวลา 4-5 วัน จนเกิดความร้อนสะสมเพิ่มมากขึ้น ก็จะขึ้นโครงไม้คร่อมแปลงเพาะเพื่อเพิ่มพื้นที่หมุนเวียนของอากาศภายในแปลง เพาะ การปฏิบัติและรักษาให้เกิดดอกเห็ดฟาง กระทำเช่นเดียวกับการเพาะเห็ดฟางกองเตี้ย
*** ผลผลิตเห็ดฟาง 800- 900 กิโลกรัม ต่อทะลายปาล์มน้ำมันจำนวน 13 ตัน
วิวัฒนาการการเพาะเห็ดฟางจากทะลายปาล์มในโรงเรือน :
ระหว่างปี พ.ศ. 2530-2543 ข้อมูลการเพาะในโรงเรือนบางส่วนอยู่ใน เล่าเรื่องการเพาะเห็ดฟางด้วยเศษเหลือจากปาล์มน้ำมัน (อัจฉรา พยัพพานนท์, 2543)
ระหว่างปี พ.ศ. 2543-2547
1. วิธีการของ คุณ รุ้งเพชร ทรัพย์สุวรรณ ต. บ้านแป้ง อ. พรหมบุรี จ. สิงห์บุรี
สูตรอาหาร :
- ทะลายปาล์มน้ำมัน 18-19 ตัน
- รำ 15 กิโลกรัม
- ขี้วัว 15 กิโลกรัม
- ปุ๋ยยูเรีย 1 กิโลกรัม
- ปูนขาว 2 กิโลกรัม
หมักในบ่อหมัก และกลับกองนำทะลายปาล์มน้ำมันหมักแล้วขึ้นชั้นในห้องเพาะ ซึ่งกรุงด้วยผ้าพลาสติกสีดำ ห้องเพาะมีขนาด กว้าง x ยาว = มีแถวเพาะ 3 แถว แต่ละแถวมี 4 ชั้น จำนวน 6 ห้อง ได้ผลผลิตห้องละประมาณ 110- 120 กิโลกรัม
การนำทะลายปาล์มใช้เพาะเห็ดฟางแล้วกลับมาใช้ :
หลังจากสิ้นสุดการเพาะครั้งที่ 1 แล้วได้นำทะลายปาล์มเก่ามาหมักใหม่ครั้งที่ 2 โดยใช้วิธีการหมักและอาหารเสริมสูตรเดิม เพาะแล้วได้ผลผลิตห้องละประมาณ 100 กิโลกรัมหลังจากสิ้นสุดการเพาะครั้งที่ 2 แล้วได้นำทะลายเก่ามาหมักครั้งที่ 3 โดยใช้วิธีการหมักและอาหารเสริมสูตรเดิมแต่เพิ่มขี้ฝ้าย 150 กิโลกรัมหรือเปลือกถั่ว 200 กิโลกรัมหมักด้วยอาหารเสริมสูตรเดิมสำหรับปิดทับหน้าทะลายปาล์มเก่าหมัก ได้ผลผลิตห้องละประมาณ 70- 105 กิโลกรัม หลังจากสิ้นสุดการเพาะครั้งที่ 3 คงนำทะลายเก่านั้นกลับมาใช้ โดยดำเนินการเช่นเดียวกับครั้งที่ 3 เป็นการเพาะครั้งที่ 4 ได้ผลผลิตห้องละประมาณ 70- 100 กิโลกรัม ผลผลิตทั้งหมดที่เคยได้ไม่น้อยกว่า 2,100 กิโลกรัมต่อทะลายปาล์ม 18 ตัน
*** หลังจากสิ้นสุดการเพาะครั้งที่ 4 ทะลายปาล์มเก่าจะสลายตัว สามารถนำมาย่อยแล้วบรรจุถุง จำหน่ายเป็นปุ๋ยบำรุงดินได้ราคาถุงละ 15 บาท
2. วิธีการของคุณ อภิรักษ์ พรพุทธศรี (จ. ราชบุรี)
สูตรอาหาร :
- ทะลายปาล์ม 18 ตัน
- สารอีเอ็ม 10 ลิตร
- ยูเรีย 10 กิโลกรัม
- ปุ๋ย (16-16-16) 15 กิโลกรัม
- ปูนขาว 3 กิโลกรัม
ทะลายปาล์มสดทั้งหมดใส่อาหารเสริมแล้วคลุมด้วยผ้าพลาสติก 1 สัปดาห์แล้วจะฉีดด้วยน้ำแล้ว คลุมกองต่ออีก 5 วัน จึงย้ายทะลายปาล์มหมักทั้งหมดลงบ่อซีเมนต์แล้วล้างน้ำทิ้งอีกครั้ง หมักต่อ 2 วัน จึงขนเข้าห้องเพาะ นำขึ้นชั้นเพาะขนาด กว้าง x ยาว = 0.9 x 4.5 เมตร 4 ชั้น จำนวน 4 แถว ลดและทำลายจุลินทรีย์แมลงและไข่แมลงที่ปนเปื้อนทะลายปาล์มหมักด้วยการอบไอ น้ำ แล้วใส่เชื้อเห็ดฟางจำนวน 280 ถุง (ช่วงอากาศเย็นใส่ 300 ถุง) ต่อห้อง สำหรับทะลายปาล์ม 18 ตันหมักใช้เพาะได้ 4 ห้อง ได้ผลผลิตประมาณ 300 กิโลกรัม/ทะลายปาล์ม 4.5 ตันต่อห้องเพาะ หรือ 4.60 กิโลกรัมต่อตารางเมตร หรือมีค่า B.E. ประมาณ 6.6% (คิดจากทะลายปาล์มสด) หรือประมาณ 17% (คิดจากทะลายปาล์มแห้ง)