การผลิตเชื้อ”เห็ดฟาง”บริสุทธิ์บนอาหารวุ้น
การผลิตเชื้อเห็ด ฟางเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญมาก หากสามารถฝึกปฏิบัติได้จนชำนาญแล้ว จะ สามารถผลิตเชื้อเห็ดฟางได้เอง แต่เชื้อเห็ดฟางจะมีความแปรปรวนทางพันธุกรรม และเชื้อมีความเสื่อมค่อนข้างสูง ผู้ผลิตเชื้อจำเป็นต้องรู้จักการคัดเลือก ดอกเห็ดและเส้นใยที่จะนำไปทำเป็นหัวเชื้อให้ถูกต้องและไม่ควรต่อเชื้อบ่อย นัก เพราะจะทำให้ผลผลิตของเห็ดที่ได้ลดลง
1. การคัดเลือกดอกเห็ดไว้ทำพันธุ์ – ควรคัดเลือกดอกเห็ดที่ขึ้นเองตามธรรมชาติจะดีที่สุด เพราะจะได้เส้นใยเห็ดที่แข็งแรงและให้ผลผลิตสูง หรืออาจจะคัดเลือกเอาจากดอกเห็ดในแปลงเพาะที่มีลักษณะดังนี้แทนก็ได้เช่นกัน
- เลือกดอกเห็ดจากแปลงที่ให้ผลผลิตสูงสุด
- ควรเป็นดอกตูม อาจเป็นรูปทรงกลมหรือทรงรี
- เลือกดอกเห็ดที่มีเปลือกหุ้มดอกเห็ดหนา เพราะจะได้น้ำหนักดี บานช้าและแข็งแรง
- ไม่ควรเลือกดอกที่เล็กหรือใหญ่เกินไป เลือกขนาดเหมาะสมกับความต้องการของตลาด
- อาจเป็นสีขาวหรือสีเทา เลือกโดยอิงตามความต้องการของตลาดเป็นหลักแต่เห็ดสีเทาเข้ม จะให้ผลผลิตสูงกว่าดอกเห็ดสีขาว
- ควรเป็นดอกตูม อาจเป็นรูปทรงกลมหรือทรงรี
- เลือกดอกเห็ดที่มีเปลือกหุ้มดอกเห็ดหนา เพราะจะได้น้ำหนักดี บานช้าและแข็งแรง
- ไม่ควรเลือกดอกที่เล็กหรือใหญ่เกินไป เลือกขนาดเหมาะสมกับความต้องการของตลาด
- อาจเป็นสีขาวหรือสีเทา เลือกโดยอิงตามความต้องการของตลาดเป็นหลักแต่เห็ดสีเทาเข้ม จะให้ผลผลิตสูงกว่าดอกเห็ดสีขาว
2. การทดสอบเชื้อเห็ดฟาง – ก่อนจะนำเชื้อเห็ดไปขยายพันธุ์ ผู้ผลิตหัวเชื้อควรทำการทดสอบเชื้อเห็ดฟางก่อน เพื่อให้ได้หัวเชื้อที่ดีและให้ผลผลิตสูง ให้ปฏิบัติดังนี้
เมื่อแยกเนื้อเยื่อจากดอกเห็ดไปเลี้ยงบนอาหารวุ้นเส้นใยของเห็ดฟางจะเจริญอย่างรวดเร็วหาก เส้นใยมีลักษณะค่อนข้างฟู มีสีขาว แสดงว่า เป็นเส้นใยที่เป็นหมัน หากนำไปขยายพันธุ์จะมีการสร้างดอกน้อยและให้ผลผลิตต่ำจึงไม่ควรใช้เส้นใย ลักษณะดังกล่าวนี้
เส้นใยที่เหมาะสมแก่การนำไปทำหัวเชื้อ ควรเป็นเส้นใยที่เจริญเติบโตเร็วเส้นใยจะเจริญในแนวราบติดกับอาหารวุ้น เส้นใยที่ดีควรมีลักษณะหยาบอย่างเห็นได้ชัด
เมื่อเส้นใยเดินเต็มผิวอาหารวุ้นแล้ว ทิ้งไว้ประมาณ 5-7 วัน เส้นใยจะเปลี่ยนจากสีขาวเป็นสีน้ำตาลอ่อนและมีการสร้างคลามัยโดสปอร์ โดยเส้นใยจะรวมตัวกันเป็นจุดเล็กๆ เห็นได้ชัด แสดงว่าเป็นเชื้อเห็ดฟางที่ดี แข็งแรง ถ้านำไปเพาะในแปลงจะเกิดดอกแน่นอน ถ้าเส้นใยไม่เปลี่ยนสี ไม่สร้างคลามัยโดสปอร์ไม่ควรนำไปใช้ทำพันธุ์
3. สูตรอาหารเลี้ยงเชื้อเห็ดฟาง – มีหลายสูตรแต่ที่นิยมมากที่สุด คือสูตร พีดีเอ (Potato Dextrose Agar) และเส้นใยเห็ดฟางจะเจริญได้ดีในอาหารที่มี pH 6.8-7.8 การทำอาหารวุ้น PDA คลิ๊ก
4. การเขี่ยเชื้อเห็ดฟาง – วิธีการเลี้ยงเชื้อบนอาหารวุ้นที่นิยมใช้มี 2 วิธี คือ การเพาะเลี้ยงสปอร์กับการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อดอกเห็ด การเพาะเลี้ยงเชื้อเห็ดบริสุทธิ์และการเขี่ยเชื้อ คลิ๊ก
5. การขยายเชื้อเห็ดฟางหรือการผลิตหัวเชื้อเห็ดฟาง (Spawn production) – เพื่อเพิ่มปริมาณของเส้นใยให้มากขึ้นภายหลังจากที่เส้นใยเห็ดฟางเจริญเต็ม ผิวอาหารวุ้นแล้ว ควรขยายเชื้อเห็ดฟางลงในเมล็ดธัญพืชซึ่งนิยมใช้ข้าวฟ่าง และในปุ๋ยหมักสำหรับขยายเชื้อเห็ดฟาง การผลิตหัวเชื้อเห็ดจากธัญพืชและปุ๋ยหมัก คลิ๊ก
**การเขี่ยเส้นใยเห็ดฟางจากอาหารวุ้นลงเลี้ยงขยายในเมล็ดธัญพืชต้องเขี่ยใน ตู้เขี่ยเชื้อประมาณ 5-7 วัน เชื้อเห็ดฟางจะเดินเต็มเมล็ดในขวด จากนั้นจะนำขยายลงในถุงปุ๋ยหมัก ไม่ควรนำเชื้อเห็ดจากเมล็ดธัญพืชลงในแปลงเพาะ เพราะเมล็ดธัญพืชยังมีอาหารเหลืออีกมากอาจมีจุลินทรีย์อื่น แมลงหรือมดใช้เป็นอาหารและมีการสิ้นเปลืองมาก จึงควรขยายเชื้อเห็ดลงบนปุ๋ยหมักก่อนนำไปเพาะในแปลง
***ข้อควรระวังในการผลิตเชื้อเห็ดฟางคือ การต่อเชื้อหลายๆ ครั้ง เชื้อเห็ดจะอ่อนแอและผลผลิตลดลงได้
ที่มา : เกษตรไซเบอร์