วันเสาร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2558

การเพาะเห็ดฟางกองเตี้ย

การเพาะเห็ดฟางกองเตี้ย

บทนำ
คนไทยรู้จักบริโภคอาหารจากเห็ดฟางมานานแล้ว เพราะมีรสดีมีคุณค่าทางอาหารสูงกว่าพืชผักหลายชนิด และไม่มีการใช้สารฆ่าแมลงการเพาะก็ทำได้ง่าย วัสดุต่าง ๆ ที่ใช้เพาะก็หาได้ง่าย ส่วนใหญ่เป็นวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร และการเพาะเห็ดฟางก็สามารถทำได้ตลอดทั้งปี จึงเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง รวมทั้งการคิดค้นดัดแปลงวัสดุเพาะ วิธีเพาะ และอาหารเสริมเพื่อเพิ่มผลผลิตได้มาก
เมื่อเกี่ยวข้าวและนวดข้าวเสร็จแล้ว พื้นที่ปลูก ไร่ ถ้าได้ข้าวเปลือก 100 ถัง จะมีฟางเหลือประมาณ 3,000 กก. การเพาะเห็ดฟางโดยทั่วไปถ้าใช้ฟางแห้ง 10กก. จะผลิตเห็ดฟางสดได้ กก. ดังนั้น ฟาง 3,000 กก. จะได้เห็ดสด 300 กก. ซึ่งขายได้ กก.ละ 10บาท จะได้เงินอีก 30,000 บาท
ดังนั้น การส่งเสริมการเพาะเห็ดฟางเพื่อเป็นอาชีพหลักหรือใช้เป็นอาชีพเสริมหลังฤดูทำนาเพื่อเพิ่มรายได้แก่ เกษตรกร จึงเป็นสิ่งที่ควรสนับสนุนมากด้านหนึ่ง
ลักษณะของการเพาะเห็ดฟางในปัจจุบันนี้มีอยู่หลายวิธี คือ
การเพาะเห็ดฟางแบบกองสูงการเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ยการเพาะเห็ดฟางจากเปลือกฝักถั่วการเพาะเห็ดฟางแบบ โรงเรือน หรืออุตสาหกรรม เป็นต้น
การเพาะเห็ดฟางแบบกองสูงนั้น ในปัจจุบันไม่เป็นที่นิยมทำกันนักเพราะใช้เวลาการเพาะนาน อีกทั้งต้องเสียเวลา ในการดูแลรักษานานอีกด้วย
ส่วนวิธีการเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ยนั้น กำลังเป็นที่นิยมมากเพราะมีวิธีการทำที่ง่าย ทั้งวัสดุที่ใช้เพาะก็หาได้ง่าย และผลผลิตที่ได้อยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ ในที่นี้จะกล่าวรายละเอียดเฉพาะการเพาะแบบกองเตี้ยเท่านั้น



สิ่งจำเป็นในการเพาะเห็ดฟาง
วัตถุดิบที่ใช้ในการเพาะ ใช้ฟางตากแห้งสนิทซึ่งเก็บไว้โดยไม่เปียกชื้นหรือขึ้นรามาก่อน ใช้ได้ทั้งฟางข้าวเหนียว ฟางข้าวจ้าว ฟางข้าวที่นวดเอาเมล็ดออกแล้ว และส่วนของตอซังเกี่ยวหรือถอนก็ใช้ได้ดีถ้าเปรียบเทียบวัสดุที่ใช้ในการ เพาะต่าง ๆ แล้ว ตอซังจะดีกว่าปลายฟางข้าวนวดและวัสดุอื่น ๆ มาก เนื่องจากตอซังมีอาหารมากกว่าและอุ้มน้ำได้ดี กว่าปลายฟาง
อาหารเสริม การใส่อาหารเสริมเป็นส่วนช่วยให้เส้นใยของเห็ดฟางเจริญได้ดี และทำให้ได้ดอกเห็ดมากกว่าที่ไม่ได้ใส่ถึงประมาณเท่าตัว อาหารเสริมที่นิยมใช้อยู่เป็นประจำได้แก่ ละอองข้าว ปุ๋ยมูลสัตว์หรือปุ๋ยคอกแห้ง ไส้นุ่น ไส้ฝ้าย ผักตบชวาตากแห้งแล้วสับให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ จอกแห้ง และเศษพืชชิ้นเล็ก ๆ ที่นิ่มและอุ้มน้ำได้ดี เหล่านี้ก็มีส่วนใช้เป็นอาหารเสริมได้เช่นกัน
เชื้อเห็ดฟางที่จะใช้เพาะ การเลือกซื้อเชื้อเห็ดฟางเพื่อให้ได้เชื้อเห็ดที่มีคุณภาพดีและเหมาะสมกับราคามี
หลักเกณฑการพิจารณาประกอบดังนี้ คือ
เมื่อจับดูที่ถุงเชื้อเห็ด ควรจะต้องมีลักษณะเป็นก้อนแน่นมีเส้นใยของเชื้อเห็ดเดินเต็มก้อนแล้ว
ไม่มีเชื้อราชนิดอื่น ๆ หรือเป็นพวกแมลง หนอน หรือตัวไร เหล่านี้เจือปน และไม่ควรจะมีน้ำอยู่ก้นถุง ซึ่งแสดงว่าชื้นเกินไป ความงอกจะไม่ดี
ไม่มีดอกเห็ดอยู่ในถุงเชื้อเห็ดนั้น เพราะนั่นหมายความว่าเชื้อเริ่มแก่เกินไปแล้ว
ควรผลิตจากปุ๋ยหมักของเปลือกเมล็ดบัวผสมกับขี้ม้า หรือไส้นุ่นกับขี้ม้า
เส้นใยไม่ฟูจัดหรือละเอียดเล็กเป็นฝอยจนผิดธรรมดาลักษณะของเส้นใยควรเป็นสีขาวนวล เจริญคลุมทั่วทั้งก้อนเชื้อเห็ดนั้น
ต้องมีกลิ่นหอมของเห็ดฟางด้วย จึงจะเป็นก้อนเชื้อเห็ดฟางที่ดี
เชื้อเห็ดฟางที่ซื้อต้องไม่ถูกแดด หรือรอการขายไว้นานจนเกินไป
เชื้อเห็ดฟางที่ซื้อมานั้น ควรจะทำการเพาะภายใน วัน
อย่าหลงเชื่อคำโฆษณาใด ๆ ของผู้ขาย ควรสอบถามจากผู้ที่เคยทดลองเพาะมาก่อนจะดีกว่า นอกจากนี้ควรมีการตรวจสอบเชื้อเห็ดฟางจากหลายยี่ห้อ เชื้อเห็ดฟางยี่ห้อใดให้ผลผลิตสูงก็ควรเลือกใช้ยี่ห้อนั้นมาเพาะจะดีกว่า

สถานที่เพาะเห็ด เนื่องจากการเพาะเห็ดฟางเป็นการเพาะบนดิน ดังนั้นเราต้องคำนึงถึงสภาพแวดล้อมแปลงเพาะนั้นด้วยเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะต้องเป็นบริเวณที่ไม่มียาฆ่าแมลงหรือยากันเชื้อรา น้ำไม่ท่วมขัง มีการระบายน้ำได้ดี และต้องเป็นที่ไม่เคยใช้เพาะเห็ฟางมาก่อน ถ้าเคยเพาะเห็ดฟางมาก่อนก็ควรจะทำความสะอาดที่บริเวณนั้น โดยการขุดผลึกดินตากแดดจัด ๆ ไว้สัก อาทิตย์ เพื่อฆ่าเชื้อโรคต่าง ๆ บนดินที่จะเป็นพาหะของโรคและแมลงต่อเชื้อเห็ดที่เราจะเพาะในที่ดินนั้นได้ดีขึ้น สรุปแล้วที่กองเพาะเห็ดควรเป็นสถานที่ที่โล่งแจ้ง และที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ สภาพดินบริเวณนั้นจะต้อง
ไม่เค็ม เพราะความเค็มของดินจะทำให้เส้นใยเห็ดไม่รวมตัวกันเป็นดอกเห็ดได้
ไม้แบบ ไม้แบบที่ใช้ในการเพาะเห็ดฟางกองเตี้ยทำจากไม้กระดานตอกเป็นกรอบแบบลังไม้รูปสี่เหลี่ยมคางหมู ขนาดของไม้แบบหรือกรอบลังไม้นี้ไม่ควรใหญ่หรือเล็กจนเกินไป ขนาดของไม้แบบหรือกรอบลังไม้ที่ปกติใช้กันก็คือมีฐานกว้าง 35-40 เซนติเมตร ด้านบนกว้าง 25-30 เซนติเมตร สูง 35-40เซนติเมตร ความยาวของแบบพิมพ์กรอบไม้นี้ควรจะมีขนาด 1-1.5 เมตร
ผ้าพลาสติกเพื่อใช้ในการคลุมกองเห็ด ส่วนมากมักจะใช้ผ้าพลาสติกใส เพราะราคาถูกและประหยัดดี ซื้อครั้ง เดียวก็ใช้ได้หลายครั้ง
บัวรดน้ำ จะเป็นบัวพลาสติกหรือบัวสังกะสีก็ใช้ได้ทั้งนั้นขอให้ใช้ตักน้ำได้และรดน้ำแล้วได้น้ำเป็นฝอย ๆ ก็ใช้ได้แล้ว ปัจจุบันที่ทำมาก ๆ จะใช้เครื่องสูบไดโว่หรือเครื่องสูบน้ำฉีดน้ำเป็นฝอยรดกองฟางให้เปียกชุ่มก่อนเริ่มการหมัก
ได้ก็จะสะดวกดี


ไม้แบบ
เชื้อเห็ดฟาง
อาหารเสริมและบัวรดน้ำ


ปัจจัยที่สำคัญในการเพาะเห็ดฟาง
1. สภาพอากาศที่เหมาะสมในการเพาะเห็ดฟาง เห็ดฟางชอบอากาศร้อน อุณหภูมิ 35-37 องศาเซลเซียส ขึ้นได้ดีทั้งในฤดูฝนและในฤดูร้อน เพราะอากาศร้อนจะช่วยเร่งการเจริญเติบโตของดอกเห็ดได้ดีอยู่แล้ว ส่วนในช่วงอากาศหนาวไม่ค่อยจะดีนัก เพราะอากาศที่เย็นเกินไปไม่เอื้ออำนวยต่อการเติบโตของดอกเห็ดฟาง สำหรับทางภาคใต้ก็สามารถจะเพาะเห็ดฟางได้ตลอดทั้งปี ถ้ามีฝนตกไม่มากเกินไปนัก จึงเห็นได้ว่า การเพาะเห็ดฟางของประเทศไทยเราสามารถเพาะได้ตลอดปี แต่หน้าหนาวผลผลิตจะลดน้อยลง เนื่องจากอุณหภูมิต่ำ จึงทำให้ราคาสูง หลังฤดูเกี่ยวข้าวอากาศร้อน ฟางและแรงงานมีมากมีคนเพาะมาก จึงเป็นธรรมดาที่เห็ดจะมีราคาต่ำลง ในฤดูฝนชาวนาส่วนมากทำนา การเพาะเห็ดน้อยลง ราคาเห็ดฟางนั้นก็จะดีขึ้น
2. เรื่องความชื้น ความชื้นเป็นส่วนสำคัญในการเพาะเห็ดฟางมากเป็นตัวกำหนดการเจริญของเส้นใยเห็ดที่สำคัญ ถ้าความชื้นมีน้อยเกินไปเส้นใยของเห็ดจะเดินช้า และรวมตัวเป็นดอกไม่ได้ ถ้าความชื้นมากเกินไปการระบายอากาศภายในกองไม่ดี ถ้าเส้นใยขาดออกซิเจนก็จะทำให้เส้นใยฝ่อหรือเน่าตายไป
น้ำที่จะแช่หรือทำให้ฟางชุ่มควรต้องเป็นน้ำสะอาด ไม่มีเกลือเจือปนหรือเค็ม หรือเป็นน้ำเน่าเสียที่หมักอยู่ในบ่อนาน ๆ จนมีกลิ่นเหม็น ก็ไม่ควรจะนำมาใช้ในการเพาะเห็ดฟางที่ดีนั้น น้ำที่ใช้ในการงอกเส้นใยเห็ดจะมาจากในฟางที่อุ้มเอาไว้และความชื้นจากพื้นแปลงเพาะนั้นก็เพียงพอแล้ว ปกติขณะที่เพาะไว้เป็นกองเรียบร้อยแล้วนั้นจึงไม่ควรจะมีการให้น้ำอีก ควรจะรดเพียงครั้งเดียวคือระหว่างการหมักฟางเพาะทำกองเท่านั้น หรืออาจจะช่วยบ้างเฉพาะในกรณีที่ความชื้นมีน้อยหรือแห้งจนเกินไป การให้ความชื้นนี้โดยการโปรยน้ำจากฝักบัวรอบบริเวณข้าง ๆ แปลงเพาะเท่านั้นก็พอ
3. แสงแดด เห็ดฟางไม่ชอบแสงแดดโดยตรงนัก ถ้าถูกแสงแดดมากเกินไปเส้นใยเห็ดอาจจะตายได้ง่าย กองเห็ดฟางเพาะเห็ดหลังจากทำกองเพาะเรียบร้อยแล้ว จึงควรจะทำการคลุมกองด้วยผ้าพลาสติกและใช้ฟางแห้งหรือหญ้าคาปิดคลุมทับอีกเพื่อพรางแสงแดดให้ด้วยดอกเห็ดฟางที่ไม่โดนแสงแดดจัดมีสีขาวนวลสวย ถ้าดอกเห็ดฟางโดนแดดแล้วจะเปลี่ยนจากสีขาวเป็นสีดำเร็วขึ้นกว่าปกติ

วิธีการเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย
การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย เป็นวิธีการที่ได้ประยุกต์มาจากการเพาะเห็ดฟางแบบกองสูง ข้อดีของการเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ยก็คือ สามารถจะใช้วัสดุเพาะได้หลายอย่าง เช่น ฟาง ผักตบชวา ต้นถั่ว ต้นกล้วย ขี้เลื่อยที่ผุแล้ว ชานอ้อย เหล่านี้เป็นต้น เป็นการเพาะที่ใช้วัสดุน้อยแต่ได้ผลผลิตดอกเห็ดได้สูง แต่เมื่อเห็ดออกดอกแล้วใช้เวลาการเก็บผลผลิตทั้งหมดได้ในระยะเวลาสั้นมาก สามารถรู้ผลผลิตค่อนข้างแน่นอน และเหมาะในการเพาะเป็นอาชีพหรือทำไว้เพื่อใช้กินเองในครัวเรือน เนื่องจากการเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ยนี้ขนาดกองเล็กมาก ดังนั้นเพื่อสะดวกในการเพาะจึงนิยมทำไม้แบบเพื่อจะอัดวัสดุที่จะเพาะให้เป็นรูปกองเล็ก ๆ ได้
ขั้นตอนในการเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย
1. เตรียมดินให้เรียบ พลิกหน้าดินตากแดดไว้ 3-4 วัน เพื่อฆ่าเชื้อโรค
2. การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ยใช้ได้ทั้งตอซังและปลายฟางถ้าเป็นตอซังแช่น้ำพออ่อนตัวก็นำมาเพาะได้ ปกติประมาณ ชั่วโมง แต่ถ้าเป็นปลายฟางแข็ง ๆ ควรแช่น้ำประมาณ 1-2 วัน หรือจุ่มน้ำแล้วนำมากองสุมกันไว้ประมาณ คืน ให้อิ่มตัวนิ่มดีเสียก่อนจึงจะใช้ได้ดี ถ้าเป็นผักตบชวาหรือต้นกล้วยจะสับหรือไม่สับก็ได้ แต่ต้องแช่น้ำพอนิ่ม ปกติแช่น้ำประมาณ 1-2 ชั่วโมง แล้วนำมาใช้กองได้เลย
3. หลังจากแช่น้ำวัสดุที่จะใช้เพาะได้ที่แล้ว ให้นำวัสดุที่ใช้เพาะนั้น ใส่ลงในกะบะไม้ที่วางเอาด้านกว้างซึ่งมีลักษณะป้านลงสัมผัสพื้น ให้ด้านแคบอยู่ข้างบนใส่ให้สูงประมาณ 4-6 นิ้ว ถ้าเป็นตอซังให้วางโคนตอซังหันออกด้านนอก ส่วนปลายอยู่ด้านในใช้มือกดฟางให้แน่นพอสมควร แต่ถ้าเป็นปลายฟางควรขึ้นไปย่ำพร้อมทั้งรดน้ำให้ชุ่ม ข้อควรระวังอย่าให้แฉะหรือแห้งจนเกินไป
4. นำอาหารเสริมที่ชุบน้ำแล้วโรยเป็นแถบกว้างประมาณ นิ้ว รอบ ๆ ด้านทั้งสี่ด้านหนาประมาณ นิ้ว
5. แบ่งเชื้อเห็ดฟางจากถุงซึ่งปกติเชื้อเห็ดฟาง ถุง หนักประมาณ 200 กรัม ออกเป็น 3-4 ส่วน เท่า ๆ กันจากนั้นโรยเชื้อเห็ดฟาง ส่วน โดยโรยลงบนอาหารเสริมให้ทั่วและชิดกับขอบของแบบไม้ทั้งสี่ด้านก็เป็นการเสร็จชั้นที่ 1
6. ทำชั้นที่ และ หรือ ต่อไปก็ทำเช่นเดียวกับชั้นที่ ทุกอย่าง เมื่อทำมาถึงขั้นสุดท้าย ให้โรยอาหารเสริมและเชื้อเห็ดให้เต็มทั่วหลังแปลง
7. นำฟางที่แช่น้ำมาปิดทับให้หนา 1-2 นิ้ว แล้วเอาแบบไม้ออกโดยใช้มือข้างหนึ่งกดกองฟางไว้และทำกองอื่นต่อ ๆ ไป
8. ทำกองอื่น ๆ ต่อไปให้ขนานกบกองแรก โดยเว้นระยะห่างประมาณ 6-12 นิ้ว
9. ช่องว่างระหว่างกองแต่ละกองสามารถใช้ให้เกิดประโยชน์ในการเพิ่มผลผลิตได้อีก โดยอาจจะโรยเชื้อเห็ดฟางลงไปบนช่องว่างระหว่างกอง เพราะบริเวณนี้ก็สามารถทำให้เกิดดอกเห็ดได้ จากนั้น รดน้ำดินรอบ ๆ กองให้เปียกชื้น
10. คลุมกองฟางด้วยผ้าพลาสติก โดยใช้ ผืนเกยทับกันตรงกลางคลุมให้สูงกว่ากองฟางเล็กน้อยโดยคลุมเป็นแถว ๆ ถ้าอากาศร้อน ให้คลุมห่าง อากาศเย็นให้คลุมชิดหรืออาจคลุมติดกองเลย ในกรณี อากาศเย็นจัด การคลุมพลาสติกเป็นเรื่องสำคัญที่แต่ละแห่งในแต่ละ ฤดูจะต้องดัดแปลงไปตามความต้องการของเห็ด คือ ช่วงระยะแรก ราววันที่ 1-2 เชื้อเห็ดต้องการอุณหภูมิประมาณ 35-38 ํซ. และ ในวันต่อ ๆ มาต้องการอุณหภูมต่ำลงเรื่อย ๆ จนราววันที่ 8-10 ซึ่ง เป็นวันที่เก็บผลผลิตนั้นต้องการอุณหภูมิราว 30 องศาเซลเซียส
11. นำฟางแห้งมาคลุม ทับผ้าพลาสติกอีกครั้งหนึ่งจนมิดเพื่อป้องกันแสงแดด แล้วใช้ของหนัก ๆ ทับปลายผ้าให้ติดพื้นกันลมตี


การดูแลรักษา
1. การดูแลรักษากองเห็ด ให้ใช้ผ้าพลาสติกใสหรือสีก็ได้ ถ้า เป็นผ้าพลาสติกยิ่งเก่าก็ยิ่งดีคลุม แล้วใช้
ฟางแห้งคลุมกันแดดกันลม ให้อีกชั้นหนึ่ง ควรระวังในช่วงวันที่ 1-3 หลังการกองเพาะเห็ด ถ้า ภายในกองร้อนเกินไปให้เปิดผ้าพลาสติกเพื่อระบายความร้อนที่ร้อน จัดจนเกินไป และให้อากาศถ่ายเทได้สะดวกขึ้น ดูแลให้ดีก็จะเก็บ ดอกเห็ดได้ประมาณในวันที่ 8-10 โดยไม่ต้องรดน้ำเลย ผลผลิต โดยเฉลี่ยจะได้ดอกเห็ดประมาณ 1-2 กิโลกรัมต่อกอง
2. การตรวจดูความร้อนในกองเห็ด โดยปกติเราจะรักษา อุณหภูมิในกองเห็ดโดยเปิดตากลม 5-10 นาที แล้วปิดตามเดิม ทุกวันเช้าเย็น ถ้าวันไหนแดดจัดอุณหภูมิสูงความร้อนในกองเห็ดมาก ก็ควรเปิดชายผ้าพลาสติกให้นานหน่อย เพื่อระบายความร้อนใน กองเห็ด วิธีตรวจสอบความชื้นทำได้ไดยดึงฟางออกจากกองเพาะ แล้วลองบิดดู ถ้าน้ำไหลออกมาเป็นสายแสดงว่าแฉะไป แต่ถ้ากองฟาง แห้งไปเวลาบิดจะไม่มีน้ำซึมออกมาเลย ถ้าพบว่ากองเห็ดแห้งเกินไปก็ควรเพิ่มความชื้นโดยใช้บัวรดน้ำเป็นฝอยเพียงเบา ๆ ให้ชื้น หลังจากทำการเพาะเห็ดประมาณ 1อาทิตย์ จะเริ่มมีตุ่มดอกเห็ดสีขาว เล็ก ๆ ในช่วงนี้ต้องงดการให้น้ำโดยตรงกับดอกเห็ด ถ้าดอกเห็ด ถูกน้ำในช่วงนี้ดอกเห็ดจะฝ่อและเน่าเสียหาย ให้รดน้ำที่ดินรอบกอง

การเก็บเห็ดฟาง
เมื่อกองฟางเพาะเห็ดไปแล้ว 5-7 วัน จะเริ่มเห็นตุ่มสีขาวเล็ก ๆ เกิดขึ้น ตุ่มสีขาวเหล่านี้จะเจริญเติบโต
เป็นเห็ดต่อไป เกษตรกรจะเริ่มเก็บเห็ดได้เมื่อเพาะไปแล้วประมาณ 7-10 วัน แล้วแต่ความร้อน และการที่จะเก็บเห็ดได้เร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับวิธีการเพาะและฤดูกาล คือ ฤดูร้อนและฤดูฝนจะเก็บเห็ดได้เร็วกว่าฤดูหนาว เพราะความร้อน ช่วยเร่งการเจรญเติบโตของเห็ด นอกจากนั้นถ้าใส่อาหารเสริมด้วยแล้ว จะทำให้เกิดดอกเห็ดเร็วกว่าไม่ใส่อีกด้วย ดอกเห็ดที่ขึ้นเป็นกระจุก มีทั้งอ่อนและแก่ ถ้ามีดอกเล็ก ๆ มากกว่าดอกใหญ่ ควรรอเก็บเมื่อดอกเล็กโตหรือรอเก็บชุดหลัง เก็บดอกเห็ดขึ้นทั้งกระจุกโดยใช้มือจับ ทั้งกระจุกอย่างเบาๆ แล้วหมุนซ้ายและขวาเล็กน้อย ดึงขึ้นมาพยายามอย่าให้เส้นใยกระทบกระเทือน

ศัตรูและการป้องกันกำจัด
1. แมลง เช่น มด ปลวก ไรเห็ด วิธีแก้ไขโดยใช้สารเคมีพวก เซฟวินโรยรอบๆ กอง ห่างประมาณ ศอกอย่าโรยในกองทำประมาณ สัปดาห์ ก่อนเริ่มกองเห็ดและควรจะโรยสารเคมีนี้ประมาณ สัปดาห์ ก่อนที่จะเริ่มกองเห็ดแต่อย่าโรยภายในกอง เพราะจะมีผลต่อการ ออกดอก ทั้งยังมีสารพิษตกค้างในดอกเห็ดซึ่งเกิดอันตรายต่อผู้กิน
2. เห็ดคู่แข่ง คือเห็ดที่เราไม่ได้เพาะแต่ขึ้นมาด้วย หรือเชื้อโรค อื่นๆ ที่เป็นศัตรูของเห็ดฟาง เช่น พวกราต่าง ๆวิธีแก้คือการเก็บ ฟางไม่ควรให้ถูกฝน และถ้ามีราขึ้นให้หยิบฟางขยุ้มนั้นทิ้งให้ไกลกองเพาะ

ข้อแนะนำเพิ่มเติม
1. ในการเพาะเห็ดฟางแบบกองเตื้ยนั้น หากมีการเพาะหลาย ๆ กองเรียงกันแล้ว จะสามารถใช้ประโยชน์จากเนื้อที่ระหว่างกองแต่ละกองได้อีกด้วย เนื่องจากขณะรดน้ำก็จะมีธาตุอาหาร อาหารเสริม เส้นใยเห็ดที่ถูกน้ำชะไหลลงไปรวมอยู่บริเวณพื้นที่ระหว่างกอง จึง ทำให้บริเวณนั้นมีอาหารครบถ้วนต่อการเกิดดอกเห็ด และยิ่งถ้าให้ ความเอาใจใส่ดูแลอย่างดี หมั่นตรวจดูความชื้น อุณหภูมิ ให้เหมาะสม ต่อการเกิดดอกด้วยแล้ว พื้นที่ระหว่างกองนั้น ก็จะให้ดอกเห็ดได้ อีกด้วย
2. ฟางที่จะใช้สำหรับการเพาะนั้นจะใช้ตอซัง หรือจะใช้ฟางที่ ได้จากเครื่องนวดข้าวก็ได้
3. หลังจากเก็บดอกเห็ดหมดแล้ว ควรเอากองเห็ดหลาย ๆ กอง มาสุมรวมกันเป็นกองใหม่ให้กว้างประมาณ80 ซม. ทำแบบการเพาะ เห็ดกองสูง แล้วรดน้ำพอชุ่มคลุมฟางได้สัก 6-8 วัน ก็จะเกิดดอกเห็ด ได้อีกมากพอสมควรเก็บได้ประมาณ 10-15 วันจึงจะหมด วัสดุที่ใช้นี้ หลังจากเพาะเห็ดฟางแล้วสามารถนำไปเพาะเห็ดอย่างอื่นได้อีกด้วย โดยแทบไม่ต้องผสมอาหารเสริมอื่น ๆ ลงไปอีกเลย หรือจะใช้เป็น ปุ๋ยหมักสำหรับต้นไม้ก็ได้ มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับปุ๋ยอินทรีย์ที่ กทม. ขายอยู่นั้นมาก
4. เมื่อเก็บดอกเห็ดหมดแล้ว นำฟางจากกองเห็ดเก่านี้ไปหมักเป็นปุ๋ยหมักใช้กับพืชอื่น ๆ ต่อไป หรือนำฟางที่ได้จากการเพาะเห็ด ไปเพาะเห็ดนางรม เป๋าฮื้อ ก็ได้
5. การขุดดินตากแดด สัปดาห์ ย่อยให้ดินร่วนละเอียด จะทำให้ผลผลิตเห็ดได้มากกว่าเดิมอีก 10-20% เพราะเห็ดเกิดบนดิน รอบ ๆ ฟางได้
6. การเปลี่ยนวิธีคลุมกองเห็ดตั้งแต่วันที่ นับจากการเพาะ เป็นต้นไป ให้เป็นแบบหลังคาประทุนเรือจะทำให้ได้เห็ดเพิ่มขึ้น
คุณค่าทางอาหารจากดอกเห็ดฟาง
คุณค่าทางอาหาร
เห็ด ฟางสด
เห็ดฟางแห้ง
โปรตีน
3.40%
49.04%
ไขมัน
1.80%
20.63%
คาร์โบไฮเดรท
3.90%
17.03%
เถ้า
-
13.30%
พลังงาน
44แคลอรี่
4170แคลอรี่
แคลเซียม
8มิลลิกรัม
2.35%ของเถ้า
เหล็ก
1.1มิลลิกรัม
0.99%ของเถ้า
ฟอสฟอรัส
-
30.14%ของเถ้า


เห็ดฟาง - ข้อมูลวิทยาศาสตร์

เห็ดฟาง


รูปภาพนี้มีลิขสิทธิ์ ห้ามนำไปใช้โดยไม่ได้รับอณุญาต
เห็ดฟาง (ชื่อวิทยาศาสตร์Volvariella volvacea) เป็นเห็ดรับประทานได้ชนิดหนึ่ง มีการเพาะปลูกในแถบเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ใช้เป็นส่วนผสมในการประกอบอาหารเอเชียอย่างแพร่หลาย ชื่อเรียกของมันแม้แตกต่างกันไปในหลายประเทศ แต่ก็ยังมีความหมายว่า เห็ดฟาง เหมือนกัน เห็ดฟางมักพบได้ในรูปแบบสด แต่ก็สามารถพบรูปแบบบรรจุกระป๋องหรืออบแห้งจำหน่ายนอกฤดูเก็บเกี่ยวด้วย
ลักษณะดอกเห็ดอ่อนเป็นรูปไข่หรือรูปสามเหลี่ยมมุมป้าน เมื่อเจริญขึ้นจะปริแตกคงเหลือเยื่อหุ้มรูปถ้วยอยู่ที่โคน ผิวนอกของเยื่อหุ้มส่วนมากจะเปลี่ยนเป็นสีขาวหม่นหรือสีเนื้อ หมวกเห็ดรูปไข่ เมื่อบานเต็มที่เส้นผ่านศูนย์กลาง 4–10 เซนติเมตร กลางหมวกมีขนละเอียดสีน้ำตาลดำหรือสีน้ำตาลแดง ครีบสีขาวแล้วเปลี่ยนเป็นสีชมพูอ่อน ไม่ยึดติดกับก้าน สั้นยาวไม่เท่ากัน ก้านยาว 4–10 เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5–1 เซนติเมตร ผิวสีขาวนวลมีขนสีขาว เนื้อเป็นเส้นหยาบสีขาวรวมกันแน่น ตรงกลางก้านกลวง สปอร์รูปรี สีชมพู ขนาด 5–6 × 7–9 ไมโครเมตร ผิวเรียบ
เห็ดฟางตามธรรมชาติเจริญเติบโตบนกองฟางข้าวเป็นกลุ่ม 2–6 ดอก และจะถูกเก็บเกี่ยวในระยะที่ยังเจริญไม่เต็มที่ คือยังเป็นตุ่มกลม ๆ ก่อนที่หมวกเห็ดจะผุดออกมา ซึ่งใช้เวลาประมาณ 4–5 วัน เจริญได้ผลดีที่สุดในภูมิอากาศเขตร้อนที่มีฝนตกชุก เห็ดชนิดนี้ไม่เคยปรากฏประวัติการเพาะปลูกมาก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 19 
เห็ดฟางมีลักษณะคล้ายกับเห็ดอีกชนิดหนึ่งมากคือ เห็ดระโงกหิน (ชื่อวิทยาศาสตร์Amanita phalloides, death cap) ซึ่งเป็นเห็ดพิษ สามารถจำแนกได้ด้วยสีสปอร์ของมัน สปอร์ของเห็ดฟางเป็นสีชมพูอ่อน แต่สปอร์ของเห็ดระโงกหินเป็นสีขาว คนจำนวนมากไม่ทราบถึงข้อเท็จจริงนี้ เก็บเห็ดระโงกหินที่ขึ้นอยู่ทั่วไปไปรับประทาน โดยเข้าใจว่าเป็นเห็ดฟาง ทำให้เสียชีวิตเป็นอันมาก 

ทำไม เห็ดถึงฝ่อง่าย มาดูสาเหตุกัน

ทำไม เห็ดถึงฝ่อง่าย มาดูสาเหตุกัน

  เห็ดฟางยุบ เป็นเพราะอะไร ? เป็นคำถามของพี่น้องชาวฟาร์มเห็ด ที่โทรมาจากอำเภอพิบูลมังสาหารจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งตอนนี้กำลังเพาะเห็ดฟางอยู่ และมีประสบการร์ด้านการเพาะมาแล้วประมาณ 3 ปี พี่น้องเล่าให้ฟังว่า ช่วงที่เห็ดกำลังจะเจริญเติบโตเท่าหัวแม่มือ แล้วทำไมดอกยุบ และเปื่อย แทนที่จะได้เก็บดอกในวันรุ่งขึ้นซึ่งพบว่าเป็นแบบนี้มาหลายรุ่นแล้ว
            อากาศร้อนเกินไปครับ  จากปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นกับพี่น้องชาวฟาร์มเห็ดรายนี้ ซึ่งเป็นปรากฎการณ์ที่มักจะพบโดยทั่วๆ ไปของการเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย และเราก็คุยกันอยู่นานพอควร จึงน่าจะสรุปได้ว่าสาเหตุของการเน่า เป็นเพราะอะไร แต่ก่อนอื่นผมใคร่ขอเรียนให้กับพี่น้องชาว KM และพี่น้องชาวฟาร์มเห็ดทราบอย่างนี้ก่อนครับว่า อุณภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเห็ดฟางนั้นจะแบงออกเป็น 3 ช่วงของการเจริญเติบโต ดังนี้
1. อายุเห็ดฟาง 1-3 วัน แรกต้องการอุณหภูมิสูงประมาณ35-38 องศาเซลเซียส (เริ่มนับ1 จากวันที่เพาะ)
2. อายุเห็ดเห็ดฟาง 4-8 วัน ต้องการอุณหภูมิประมาณ 32-35 องศาเซลเซียส
3. อายุเห็ดฟางตั้งแต่วันที่ 9 ขึ้นไปจะต้องการอุณหภูมิประมาณ 28-32 องศาเซลเซียส
            จากความต้องการอุณหภูมิด้านบนของเห็ดฟางแสดงให้เห็นว่ายิ่งเห็ดฟางออกดอกยิ่งต้องการอุณหภูมิต่ำลงเรื่อยๆ หลังจากที่ผมได้อธิบายเสร็จพี่น้องจากอำเภอพิบูลมังสาหารต้องร้องอ๋อขึ้นมาทันที เพราะอุณหภูมิสูงนี่เองจึงทำให้ดอกเห็ดฟางเน่า
           เทคนิคในการเพาะเห็ดให้สำเร็จ  เป็นสูตรที่เราชาวฟาร์เห็ดพยายามทำความเข้าใจ และได้แลกเปลี่ยนกันมาหลายรอบ และนำไปใช้แล้วได้ผลจึงใคร่ขอฝากต่อแด่พี่น้องชาวฟาร์มเห็ดหน้าใหม่ หากทำได้ 3 ข้อ สำเร็จไปกว่าครึ่งแล้วครับ
1. ใช้หัวเชื้อเห็ดที่ดีมีคุณภาพ
2. ใช้วัสดุเพาะที่ดี มีความเหมาะสม
3. เข้าใจในหลักของการจัดการฟาร์มเห็ดที่ดี กล่าวคือต้องเข้าใจธรรมชาติของเห็ดชนิดนั้นๆ  และรักษาความสะอาดอยู่เป็นนิจ
ที่มา http://mushroomfarn.blogspot.com/2013/06/blog-post_4704.html

ปัจจัยที่สำคัญในการเพาะเห็ดฟาง

ปัจจัยที่สำคัญในการเพาะเห็ดฟาง


1. สภาพอากาศที่เหมาะสมในการเพาะเห็ดฟาง เห็ดฟางชอบอากาศร้อน อุณหภูมิ 35-37 องศาเซลเซียส ขึ้นได้ดี
ทั้งในฤดูฝนและในฤดูร้อน เพราะอากาศร้อนจะช่วยเร่งการเจริญเติบโตของดอกเห็ดได้ดีอยู่แล้ว ส่วนในช่วงอากาศหนาว
ไม่ค่อยจะดีนัก เพราะอากาศที่เย็นเกินไปไม่เอื้ออำนวยต่อการเติบโตของดอกเห็ดฟาง สำหรับทางภาคใต้ก็สามารถจะเพาะ
เห็ดฟางได้ตลอดทั้งปี ถ้ามีฝนตกไม่มากเกินไปนัก
จึงเห็นได้ว่า การเพาะเห็ดฟางของประเทศไทยเราสามารถเพาะได้ตลอดปี แต่หน้าหนาวผลผลิตจะลดน้อยลง
เนื่องจากอุณหภูมิต่ำ จึงทำให้ราคาสูง หลังฤดูเกี่ยวข้าวอากาศร้อน ฟางและแรงงานมีมากมีคนเพาะมาก จึงเป็นธรรมดา
ที่เห็ดจะมีราคาต่ำลง ในฤดูฝนชาวนาส่วนมากทำนา การเพาะเห็ดน้อยลง ราคาเห็ดฟางนั้นก็จะดีขึ้น
2. เรื่องความชื้น ความชื้นเป็นส่วนสำคัญในการเพาะเห็ดฟางมากเป็นตัวกำหนดการเจริญของเส้นใยเห็ดที่สำคัญ
ถ้าความชื้นมีน้อยเกินไปเส้นใยของเห็ดจะเดินช้า และรวมตัวเป็นดอกไม่ได้ ถ้าความชื้นมากเกินไปการระบายอากาศภาย
ในกองไม่ดี ถ้าเส้นใยขาดออกซิเจนก็จะทำให้เส้นใยฝ่อหรือเน่าตายไป
น้ำที่จะแช่หรือทำให้ฟางชุ่มควรต้องเป็นน้ำสะอาด ไม่มีเกลือเจือปนหรือเค็ม หรือเป็นน้ำเน่าเสียที่หมักอยู่ในบ่อ
นาน ๆ จนมีกลิ่นเหม็น ก็ไม่ควรจะนำมาใช้ในการเพาะเห็ดฟางที่ดีนั้น น้ำที่ใช้ในการงอกเส้นใยเห็ดจะมาจากในฟางที่
อุ้มเอาไว้และความชื้นจากพื้นแปลงเพาะนั้นก็เพียงพอแล้ว ปกติขณะที่เพาะไว้เป็นกองเรียบร้อยแล้วนั้นจึงไม่ควรจะมี
การให้น้ำอีก ควรจะรดเพียงครั้งเดียวคือระหว่างการหมักฟางเพาะทำกองเท่านั้น หรืออาจจะช่วยบ้างเฉพาะในกรณีที่
ความชื้นมีน้อยหรือแห้งจนเกินไป การให้ความชื้นนี้โดยการโปรยน้ำจากฝักบัวรอบบริเวณข้าง ๆ แปลงเพาะเท่านั้นก็พอ
3. แสงแดด เห็ดฟางไม่ชอบแสงแดดโดยตรงนัก ถ้าถูกแสงแดดมากเกินไปเส้นใยเห็ดอาจจะตายได้ง่าย กองเห็ดฟางเพาะเห็ดหลังจากทำกองเพาะเรียบร้อยแล้ว จึงควรจะทำการคลุมกองด้วยผ้าพลาสติกและใช้ฟางแห้ง
หรือหญ้าคาปิดคลุมทับอีกเพื่อพรางแสงแดดให้ด้วยดอกเห็ดฟางที่ไม่โดนแสงแดดจัดมีสีขาวนวลสวย ถ้าดอกเห็ดฟาง
โดนแดดแล้วจะเปลี่ยนจากสีขาวเป็นสีดำเร็วขึ้นกว่าปกติ

ที่มา : http://mushroomfarn.blogspot.com/2013/06/blog-post_2876.html

การทำเห็ดฟางจากก้อนเห็ดนางรม นางฟ้าที่หมดอายุแล้ว

การทำเห็ดฟางจากก้อนเห็ดนางรม นางฟ้าที่หมดอายุแล้ว

การทำเห็ดฟางจากก้อนเห็ดนางรม นางฟ้าที่หมดอายุแล้ว

เมื่อทำการเปิดก้อนเห็ดนางรม นางฟ้าจนครบเวลา 3 เดือนแล้ว ก้อนเห็ดนางรม นางฟ้าจะยุบตัวลงและเกิดซ้ำ มีลักษณะดังรูป 
  
เราสามารถนำก้อนเห็ดที่หมดอายุแล้วเหล่านี้ มาทำเห็ดฟางหรือเห็ดโคนน้อย ได้โดยการนำก้อนเห็ดที่ใช้แล้วมาแกะแล้วทุบ ให้เป็นก้อนเล็กก้อนน้อย
จากนั้น นำวัสดุเหลือใช้จากการเกษตรมาผสม เช่น ฟางข้าว ต้นข้าวโพด ต้นข้าวฟ่าง ผักตบชวา ใบและต้นกล้วย เศษไม้และใบหญ้าแห้ง ในที่นี้เราใช้ใบกล้วยมาผสม โดยนำไปแช่น้ำก้อน ประมาณ 2 ชั่วโมง                 

  เมื่อครบ 2 ชั่วโมงแล้ว นำใบกล้วยขึ้นจากน้ำ แล้วตวงส่วนผสมดังนี้ ส่วนผสมขี้เลื่่อยรวมกับเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ประมาณ 100 กิโลกรัม
    1. ยิปซัม 2 กิโลกรัม
    2. ปูนขาว โรยสนามฟุตบอล 1 กิโลกรัม
    3. รำข้าวละเอียด 3 กิโลกรัม
 ผสมรวมกันและปรับความชื้นให้ได้ 80 เปอร์เซ็นต์ คือนำวัสดุมากำแล้วจับตัวเป็นก้อน แล้วน้ำไม่ไหลออกจากง่ามนิ้ว             
                  

แล้วคลุมให้มิดชิด เป็นเวลา 4- 6 วัน
                  
              

หลังจาก 4 วันแล้ว เชื้อเห็ดฟางจะเดินไปทั่วดังรูป

ที่มา :http://mushroomfarn.blogspot.com/2013/06/blog-post_5897.html

เห็ดฟาง สร้างรายได้จริงหรือไม่ ปัญหาและอุปสรรคที่ควรรู้

เห็ดฟาง สร้างรายได้จริงหรือไม่ ปัญหาและอุปสรรคที่ควรรู้


เห็ดฟาง เพาะเลี้ยง สร้างรายได้ให้จริงหรือไม่ ปัญหาและอุปสรรคที่ควรรู้ 

บทความนี้ ผมได้เขียนขึ้น เพื่อให้เกษตรกรรายใหม่ ที่สนใจที่จะทำการเพาะเลี้ยงเห็ดฟาง 

ได้รับทราบปัญหาและอุปสรรคในการเพาะเลี้ยงเห็ดฟาง และได้อธิบายความรู้ในเชิงวิชาการ

ควบคู่ไปกับความรู้ในทางปฏิบัติ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกษตรกรได้มีความรู้ ในการเตรี

ยมการเพื่อแก้ปัญหาในการเพาะเลี้ยงได้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ 



เห็ดฟาง เป็นพืชเกษตรชนิดหนึ่ง ที่ให้ผลตอบแทน (Magin) สูง ไม่มีปัญหาเรื่องผลผลิต

ราคาตกต่ำ หรือขาดทุนจากการเพาะเลี้ยง แต่ทั้งนี้จะต้องมีความรู้ในเชิงทฤษฏี และ

ประสบการณ์การการเพาะเลี้ยง จึงจะประสพผลสำเร็จ และ จะให้ผลตอบแทนอย่างคุ้มค่า

มาก ขนาดสามารถสร้างฐานะทางเศรษฐกิจ ให้กับตนเองได้เป็นอย่างดี 

ทำความรู้จักกับเห็ดฟางเบี้องต้น 

เห็ดฟาง เป็นพืชที่เพาะเลี้ยงและสามารถให้เก็บผลผลิตได้โดยใช้ระยะเวลาสั้น คือใช้เวลา

ในการเพาะเลี้ยงในโรงเรือนประมาณ 15-20 วัน ก็สามารถเก็บดอกเห็ดไปจำหน่ายได้ 

ดอกเห็ดฟางจำหน่ายได้ราคาดี ตลาดมีความต้องการมาก อาชีพการเพาะเห็ดฟางจึงเป็น

อาชีพที่ทำรายได้ให้แก่เกษตรกรมากอย่างหนึ่ง สิ่งสำคัญประการหนึ่งสำหรับผู้เพาะเห็ดฟาง

คือ อัตราเติบโตของปริมาณผลการผลิตเห็ดฟาง มีอัตราต่ำกว่าการเติบโตของการบริโภค 

และยังมีตลาดรองรับที่แน่นอน ทำให้ไม่มีปัญหาเรื่องราคาผลผลิตตกต่ำ 

การเพาะเลี้ยงเห็ดฟางมีหลายแบบ แต่หากคิดที่จะผลิตเห็ดเพื่อขายในเชิงพาณิชย์ จะต้อง

ใช้วิธีการการเพาะเลี้ยงแบบโรงเรือน ทั้งนี้เพาะในช่วงหน้าฝนและหน้าหนาว สามารถผลิต

เห็ดได้ดีกว่าการเพาะเลี้ยงในรูปแบบอื่น ๆ ทำให้มีรายได้สม่ำเสนอทั้งปี ยิ่งในช่วงที่ฝนตก 

หรือมีอากาศหนาว ราคาเห็ดฟางจะมีราคาสูงขึ้นกว่าช่วงอื่น ๆ 

อีกทั้งการเพาะเลี้ยงในโรงเรือน สามารถการดำเนินงานได้สะดวก รวดเร็ว ใช้พื้นที่น้อยกว่า

การเพาะเห็ดฟางแบบอื่นๆ   การเพาะเห็ดฟางในโรงเรือนนี้ก็ยังมีข้อเสียคือ มีการลงทุนใน

ขั้นแรกที่ค่อนข้างจะสูง มีหลักวิธีการปฏิบัติและขั้นตอนการเพาะมากพอสมควร ดังนั้นผู้ที่จะ

ทำการเพาะเห็ดฟางในเรือนจำเป็นต้องศึกษาให้ทราบ และเข้าใจเป็นอย่างดีเสียก่อน เพราะ

หากกระทำไม่ถูกวิธีแล้วจะทำให้เกิดความเสียหายขึ้นได้ 


เหตุใดเห็ดฟางจึงเป็นพืชที่ให้ผลตอบแทนสูง 

การเพาะเลี้ยงเห็ดฟาง ครั้งหนึ่ง ๆ จะให้ผลตอบแทนหลังหักค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เช่น ค่าแรง

งาน ค่าวัสดุเพาะ ค่าหัวเชื้อ ค่าเชื้อเพลิง ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ แล้ว จะมีกำไรอยู่ประมาณ 50-

65 เปอร์เซ็นต์ โดยคิดราคาถั่วเฉลี่ยที่ขายได้อยู่ประมาณ 65 บาท ต่อกิโลกรัม 

แต่เหตุใด หรือทำไม จึงมีผู้ประสพผลสำเร็จ ได้น้อย อันเป็นเหตุให้ราคาเห็ดฟางคงที่อยู่

ตลอดทั้งปี และในบางช่วงราคาอาจสูงถึง 

ก.ก. ละ 70 – 90 บาท ซึ่งมีเหตุผลดังต่อไปนี้ 

1.เห็ดฟาง เป็นพืชที่อ่อนไหวต่อการดูแลรักษาการผลิตมาก มีขั้นตอนการทำงานมาก ซึ่งถ้าหากมีการทำงานผิดพลาดในขั้นตอนต่าง ๆ เพียงขั้นตอนเดียว ก็จะมีผลต่อปริมาณของผลผลิตแล้ว 

2.ผู้เพาะเลี้ยง ส่วนใหญ่ไม่มีความรู้ในเชิงทฤษฏี รู้แต่วิธีและขั้นตอนการเพาะเลี้ยงที่ถูกกำหนดไว้ตายตัว ซึ่งเห็ดฟางเป็นพืชที่อ่อนไหวต่อสภาพแวดล้อม เช่น อุณหภูมิ ความชื้น แสง อากาศ หากสภาพแวดล้อมเปลี่ยน ขั้นตอนการเพาะเลี้ยงจะต้องปรับเปลี่ยนตามไปด้วย มิเช่นนั้นจะ ทำให้มีผลผลิตที่ต่ำลง 

3.ในการเพาะเลี้ยงเห็ดฟาง จะมีปัญหาเรื่องกลิ่นเหม็น (ก๊าซแอมโมเนีย) และมีปํญหาเรื่องแมลงไร ทำให้หาแรงงานได้ยาก แต่ถ้าหากขั้นตอนการทำงานถูกต้อง ปัญหานี้จะน้อยลงไปมาก

ด้วยเหตุผลทั้ง 3 ประการข้างต้น จึงทำให้ผู้เพาะเลี้ยงรายเดิมเลิกเพาะเลี้ยง หรือหยุดเพาะเลี้ยงในบางช่วงที่อากาศหนาว 
ในขณะที่ผู้เพาะเลี้ยงรายใหม่ ก็ไม่มีประสบการณ์ในการเพาะเลี้ยง ทำให้ประสพปัญหาขาดทุน และเลิกเลี้ยงไปในที่สุด ซึ่งส่งผลให้อัตราการผลิตน้อยลงไปทุกที ในขณะที่การบริโภคไม่ลดลง ซึ่งทำให้ราคาผลผลิตสูงอยู่ตลอด และบางช่วงราคาสูงมาก เพื่อเป็นแรงจูงใจให้เกษตรกร ยังคงต้องเพาะเลี้ยงต่อ 

อย่างไรก็ดี หากเกษตรกรรายใด มีคุณสมบัติครบ คือ 

1.มีความรู้ในเชิงทฤษดี ซึ่งสามารถหาอ่านได้ทั่วไป 

2.มีเงินทุน เริ่มต้น 300,000 บาท พอใช้สำหรับ 5 โรงเรือน ในเวลา 4 - 5 เดือน 

3.มีพื้นที่ทำงาน 1 – 2 ไร่ 

4.มีความอดทน และเข้าใจว่าในระหว่างหาประสบการณ์ ประมาณ 10 – 20 ครั้ง การผลิต 
หรือ ประมาณ 3 – 6 เดือน จะต้องขาดทุนค่าแรงงาน 

5.มีแหล่งหาความรู้ในการทำงานเพาะเลี้ยง หรือสอบถามปัญหา 

6.ไม่มีปัญหาเรื่องแรงงาน 

7.เป็นคนมีวินัยในการทำงาน และเป็นคนทำงานจริงจัง 

คุณก็สามารถจะสร้างรายได้ ขั้นต่ำเดือนละ 2-30,000 บาท ได้อย่างสบาย ๆ ไม่ยาก และถ้าสามารถขยายงานออกไปได้ สามารถทำการตลาดเองได้ คุณก็สามารถที่จะเป็นผู้ที่ไม่มีความเดือดร้อน ในเรื่องการเงิน 


ปัญหาและอุปสรรคในการเพาะเลี้ยง 
จากที่กล่าวมาข้างต้น เกษตรที่คิดจะเป็นผู้เพาะเลี้ยงเห็ดฟางรายใหม่ อาจจะพอเห็นปัญหาและอุปสรรคในการเพาะเลี้ยงบางแล้ว แต่อะไรก็ตามที่ปัญหามาก ผลตอบแทนก็สูงตามปัญหาและอุปสรรค ซึ่งต้องยอมรับว่าผลตอบแทนที่สูง เป็นแรงจูงใจที่ดี อีกอย่างหนึ่ง ถ้าคุณมีความมุ่งมั่นและตั้งใจจริงที่จะสร้างอนาคต ไม่มีปัญหาหรืออุปสรรคใดที่แก้ไขไม่ได้ ดังนั้นถ้าคุณผ่านอุปสรรคต่าง ๆ ไปได้ คุณก็จะเป็นผู้ประสพผลสำเร็จได้ในอนาคต 

จากประสบการณ์ที่ผ่านมาของผม และคิดว่าผู้เพาะเลี้ยงรายใหม่จะต้องเจอมีดังนี้ 

1.วิธีการเพาะเลี้ยงและขั้นตอนการเพาะเลี้ยง ส่วนใหญ่จะได้รับการอบรมเป็นขั้นตอนที่ตายตัว แต่ถ้าสิ่งแวดล้อมเปลี่ยน ทำให้มีปัญหาตามมาหลากหลาย และถ้าไม่มีความรู้ในเชิงทฤษฏี ก็จะไม่เข้าใจเหตุผล ทำให้ปัญหาเดิม ๆ เกิดขึ้นโดยไม่ได้แก้ไข 

2.ในภาคทฤษฏี มีการทดลองในเชิงภาคปฏิบัติมามากแล้ว ไม่มีความจำเป็นใด ๆ ที่จะต้องทำการทดลองลองถูกลองผิดอีก เพราะจะทำให้เกิดผลเสียหายเพิ่มขึ้น 

3.ในการเริ่มต้นหาประสพการณ์ทำงานจริง จะเกิดปัญหาขึ้นมาก และเป็นอะไรที่คาดไม่ถึง อันเนื่องจากการรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือคิดไปเองว่าเป็นเช่นนั้น แต่พอทำงานจริง จึงเห็นปัญหาแล้วจึงเข้าใจว่าไม่ใช่ เช่น ตอนผมไปดูการเพาะเลี้ยงตามที่ต่าง ๆ จะไม่มีผู้อบรมรายใด ให้ความสำคัญในเรื่องเตาที่ใช้ในการอบไอน้ำ ทั้งนี้เพราะมันไม่ใช่ขั้นตอนการเพาะเลี้ยง แต่การสร้างเตา ถ้าผิดไปจะทำให้ต้นทุนเชื้อเพลิงสูงมาก หรือไม่ถ้าไม่สามารถทำความร้อนได้พอ ก็จะทำให้ผลผลิตเสียหาย ผมไปมอง ๆ ดูว่าเตาเขาทำอย่างไร คิดว่าง่ายและไม่มีอะไร แต่จริงๆ แล้วเตาเป็นหัวใจของการเพาะเลี้ยงเห็ดอย่างหนึ่งเลย ถ้าไม่ถูกต้องก็ไม่มีโอกาสสำเร็จ 

4.ในระหว่างหาประสบการณ์ ผลผลิตที่ได้จะน้อย ทำให้หาแหล่งขายได้ยาก แต่ถ้าคุณทำงานเข้าที่แล้ว มีผลผลิตที่มากพอ แน่นอนและสม่ำเสมอ คุณก็จะไม่มีปัญหาเรื่องการขายผลผลิต ตรงกันข้ามจะมีผู้คำประกันราคารับซื้อให้คุณเลยละ และยังมารับซื้อถึงที่อีกด้วย 
ข้อดีของการเพาะเลี้ยง 

อ่าน ๆ ผ่านมา หลายคนคงไม่คิดที่จะทำการเพาะเลี้ยงแล้ว มีแต่ปัญหาและอุปสรรคมากมาย ไม่น่าจะดี แต่จริงแล้ว การเพาะเลี้ยงเห็ดฟาง เป็นพืชตัวหนึ่งในไม่กี่ชนิด ที่มีแรงจูงใจที่ดีคือ 

1.ไม่มีปัญหาในเรื่องราคาผลผลิตตกต่ำ ไม่ว่าเศรษฐกิจจะตกต่ำอย่างไร เห็ดของคุณก็ยังคงขายดี เห็ดฟางราคาสูงเท่าไร ก็ยังคงมีผู้จำเป็นต้องใช้เป็นวัตถุดิบในร้านอาหาร ไม่ต้องกลัวขายผลผลิตไม่ได้ 

2.ถ้าคุณมีผลผลิตสม่ำเสมอ คุณจะได้ราคาขายที่ตายตัว ผู้ซื้อบางรายรับประกันราคาขั้นต่ำให้คุณทั้งปีได้เลย ซึ่งถ้าคุณผ่านปัญหาไปได้ คุณจะมีรายได้เป็นที่แน่นอน สม่ำเสมอตามผลผลิตของคุณ และในช่วงที่เห็ดราคาสูง (บางครั้ง ก.ก 90-100 บาท จากปกติ 55-60 บาท) ถ้าคุณมีความรู้ในการเพาะเลี้ยงเพียงพอ คุณจะยิ่งมีรายได้สูงขึ้นไปอีก

3.หากคุณมีอาชีพเป็นช่างทำผม สมมุติคุณมีรายได้เดือนละ 10,000 บาท หากคุณต้องการเพิ่มรายได้เป็น 20,000 บาท บนอาชีพเดิมทำไม่ได้ แต่เห็ดฟาง ถ้าคุณทำเพิ่มได้เท่าไร ขยายกำลังการผลิตได้เท่าไร มีคนรับซื้อครับ รับไม่จำกัดจำนวนด้วย เพียงมีเงื่อนไขเดียวให้คุณ คือคุณต้องทำให้ได้ปริมาณสม่ำเสมอ 

4.หากคุณมีความรู้และประสบการณ์เพียงพอ อาชีพเพาะเห็ดฟาง จะเป็นอาชีพหนึ่ง ที่คุณไม่มีโอกาสขาดทุน ไม่ว่าจะมีเงื่อนไขใด ๆ ทั้งสิ้น 
หากคุณคิดว่าข้อดีในการเพาะเลี้ยงเห็ดฟางทั้งหลายนี้ เป็นแรงจูงใจที่ดีที่จะทำให้คุณฟันฝ่าอุปสรรคและปัญหาต่างๆ ได้ มันก็จะมีผลทำให้คุณมีฐานะที่มั่นคงในอนาคตได้ และผมก็ยังขอยืนยันคำเดิม ให้คุณมั่นใจได้เลยว่าคุณจะเป็นผู้ที่ไม่มีความเดือดร้อน ในเรื่องการเงิน 

ความรู้ทางทฤษฏี
โดยความเข้าใจของคนทั่วไป   มักจะเข้าใจวิธีการเพาะเลี้ยงเห็ดฟาง เป็นความรู้ทางทฤษฏี จริง ๆ แล้วเป็นเพียงขั้นตอนและวิธีปฏิบัติในการเพาะเลี้ยงเท่านั้น ยกตัวอย่างเช่น ในการอบไอน้ำวัสดุเพาะเห็ด บางตำราให้อบไอน้ำที่อุณหภูมิ 60 องศา เป็นเวลา 4-6 ช.ม บางทีให้อบที่อุณหภูมิ 65 องศา เป็นเวลา 4-5 ช.ม บางทีให้อบที่อุณหภูมิ 70 องศา เป็นเวลา 2-4 ช.ม ถามว่าแล้วอันไหนถูก อันไหนผิด ตอบว่าถูกทั้งหมดครับ 

ในการเพาะเลี้ยงเห็ดจะต้องมีการหมักวัสดุเพาะ อุณหภูมิของอากาศ ความชื้นของกองวัสดุเพาะ ความสูงของการกองวัสดุเพาะ ความหนาของการกองวัสดุเพาะ ประเภทของวัสดุที่ใช้เป็นวัสดุเพาะ มีผลต่ออุณหภูมิของกองวัสดุเพาะ หากคุณกองวัสดุเพาะและวัดอุณหภูมิได้เท่าใด คุณต้องอบไอน้ำให้ได้เท่านั้น บวกกับ 10 องศา เพื่อให้ราที่เกิดในวัสดุเพาะอ่อนแอลงเป็นอาหารให้กับเห็ดฟาง หากคุณอบไอน้ำน้อยกว่า 10 องศามาก ๆ จะทำให้ราเหล่านี้ยังแข็งแรงและจะกินเชื้อเห็ดฟางเป็นอาหาร หากคุณอบไอน้ำมากกว่า 10 องศามาก ๆ จะทำให้ราอาหารเห็ดอ่อนแอจนเกินไป ไม่สามารถจะแพร่ขยายต่อไปจะทำให้เห็ดฟางที่จะเก็บในรอบที่ 2 หรือ รอบที่ 3 มีขนาดดอกเล็กและน้อยลง เพราะขาดอาหาร 
ส่วนระยะเวลาในการอบไอน้ำ ถ้าคุณวางแผนจะเก็บดอกเห็ดแค่รอบแรกแล้วรื้อทิ้งทำใหม่ คุณก็อบแค่ 2-3 ช.ม. ก็พอ หากคุณคิดจะเก็บรอบสองหรือสามด้วย ก็ต้องอบไอน้ำให้นานขึ้นไม่เช่นนั้น เห็ดอื่นจะขึ้นงามกว่าเห็ดฟางในการเก็บเห็ดรอบหลัง ๆ 
เหล่านี้เป็นความรู้ทางทฤษฏีที่คุณต้องรู้ ไม่เช่นนั้น คุณก็จะเพาะเห็ดได้มากบางน้อยบาง ขึ้นอยู่กับ อุณหภูมิของอากาศ ความชื้น ความสูงและความหนาของกองวัสดุเพาะ จำนวนวันในการหมักวัสดุเพาะ ของแต่ละครั้ง ทำให้ผลผลิตที่ได้ไม่สม่ำเสมอ 
พูดแบบนี้เกษตรกรบางท่านคงพอจะเข้าใจได้ว่า ทำไมบางคนจึงทำแบบเดียวกับเราแล้วได้ผลผลิตที่ดี แต่ทำไมเราทำแบบเดียวกับเขาไม่ได้ผลเหมือนกัน 
ในการอบรมการเพาะเลี้ยงหรือคำแนะนำขั้นตอนปฏิบัติการเพาะเลี้ยง ไม่มีผู้ใดให้รายละเอียดเหล่านี้ เพราะจะทำให้ดูยุ่งยาก และเสียเวลาในการอบรม ทำให้เกษตรกรดูยากไม่อยากเพาะเลี้ยง 

ที่กล่าวนี้เป็นเพียงรายละเอียดเกี่ยวกับอุณหภูมิและระยะเวลาในการอบไอน้ำเท่านั้นนะครับ จริงแล้วในแต่ละขั้นตอนการปฏิบัติทุกขั้นตอนมีเหตุผลของการปฏิบัติอยู่ ถ้าคุณรู้เหตุผลมันก็ไม่มีอะไรเป็นปัญหาให้คุณ แต่ถ้าคุณไม่รู้ ปัญหาของคุณก็ยังวนเวียนเกิดขึ้นเรื่อย ๆ โดยไม่ได้แก้ไข 

ที่มา : http://mushroomfarn.blogspot.com/2013/06/blog-post_1198.html