เห็ดโคนน้อย เห็ดอร่อย ทำเงินงามของชาวเหนือ
เมื่อเอ่ยถึง เห็ดโคนน้อย ... หลายคนคงจะเคยได้ยินหรือรู้จักกันบ้าง อาจจะไม่แพร่หลายนัก แต่นับจากวันนี้เชื่อว่า เห็ดโคนน้อยจะทำให้คุณสนใจและชื่นชอบเห็ดชนิดนี้ขึ้นมาอีกมากมายอย่างแน่นอน เห็ดโคนน้อยเป็นคนละชนิดกับเห็ดโคนตามธรรมชาติหรือเห็ดปลวก การเรียกชื่อเห็ดโคนน้อย ก็จะแตกต่างกันไปตามท้องถิ่นต่างๆ เพราะเห็ดชนิดนี้สามารถเกิดขึ้นและกระจายอยู่ทุกพื้นที่ทั่วทุกภาค อย่างทางภาคเหนือจะเรียกว่า เห็ดถั่วเน่า เห็ดโคนน้อย เห็ดโคนบ้าน เห็ดโคนขาว ส่วนภาคอีสาน เรียก เห็ดคราม เห็ดปลวกน้อย และภาคกลางเรียก เห็ดโคนเพาะ เห็ดโคนน้อย เห็ดหมึก เห็ดชนิดนี้มีคุณค่าทางอาหารสูงแล้วยังพบว่ามีสรรพคุณทางสมุนไพร ช่วยในการย่อยอาหารและลดเสมหะ แล้วสามารถนำไปปรุงอาหารได้อีกหลายประเภทอีกด้วย
คุณสราวุธ ปากวิเศษ หรือคุณเอ๋ เป็นอีกคนหนึ่งที่ให้ความสนใจแห็ดโคนน้อยเป็นอาชีพและประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี โดยก่อนหน้านี้ที่จะมาเพาะเห็ดโคนน้อยนั้นคุณสราวุธบอกว่า มีความสนใจในการเพาะเห็ดหลายชนิด เริ่มจากการเพาะเห็ดนางฟ้าก่อน ต่อมาจึงได้เปลี่ยนมาเพาะเห็ดโคนน้อยเมื่อมองเห็นความน่าสนใจและศักยภาพที่มากกว่า เพราะเห็ดโคนน้อยเป็นเห็ดที่สามารถทำเงินได้เร็ว ต้นทุนน้อย แต่เมื่อเห็ดออกดอกแล้วใช้เวลาการเก็บผลผลิตทั้งหมดได้ในระยะเวลาสั้นมากและไม่ยุ่งยากเหมือนทำอย่างอื่น
คุณเอ๋ได้ไปศึกษาดูงานจากสวนและฟาร์มเห็ดต่างๆ ก่อนเพื่อให้มีความรู้ก่อนจะสตาร์ทเครื่องเดินหน้าได้อย่างมีทิศทางที่ถูกต้องมากขึ้น ดีกว่าเรียนรู้เองด้วยการเริ่มจากศูนย์เพราะนั่นหมายถึงเวลาและเงินทุนที่ต้องเสียไปกับการแลกความรู้และประสบการณ์ เมื่อได้ความรู้มาระดับหนึ่งก็นำมาใช้และพัฒนาด้วยตัวเองเพิ่มเติม แม้ในช่วงแรกๆที่ทำจะไม่ประสบความสำเร็จ แต่คุณเอ๋ก็ไม่ท้อถอยแม้จะท้อแท้บ้างแต่สุดท้ายก็ลุกขึ้นมาเดินหน้าลุยต่อเพื่อก้าวผ่านอุปสรรคต่างๆให้ได้ ปัจจุบันก็ถือว่าประสบความสำเร็จไปมากแล้ว แต่ก็ยังมีส่วนที่ต้องมีรายละเอียดเล็กๆน้อยๆให้ศึกษากันต่อไป
คุณเอ๋เล่าถึงวิธีการเพาะเห็ดโคนน้อยว่า การเพาะเห็ดโคนน้อยจะทำคล้ายกับการเพาะเห็ดฟางกองเตี้ย โดยวัสดุเพาะเห็ดโคนน้อยสามารถใช้วัสดุเพาะที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น ต้นและใบถั่วต่างๆ ต้นข้าวโพด ทะลายปาล์มน้ำมัน ผักตบชวา ต้นและใบกล้วยสามารถนำมาใช้เป็นวัสดุเพาะได้ทั้งสิ้น ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นวัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น ส่วนที่ฟาร์มของคุณเอ๋นั้นจะใช้ฟางข้าวเป็นวัสดุเพาะ โดยนำฟางที่จะมาทำวัสดุเพาะไปต้มก่อน ในถังที่ใช้ต้มจะมีกากน้ำตาล+ปุ๋ยยูเรีย ในถัง 200 ลิตรใส่ฟางต้มลงไป 3-4 มัด แช่ทิ้งไว้ 3-5 นาที แล้วยกขึ้นมาผึ่งทิ้งไว้ให้เย็นประมาณ 1 คืน
จากนั้นมาเตรียมเชื้อเห็ด โดยเริ่มจากนำเชื้อเห็ดมายีให้ละเอียด นำฟางที่ต้มแล้วมาวางลงในไม้แบบหรือกระบะไม้ ขนาดของไม้แบบหรือกระบะไม้ 60x25x30 ซม. แล้วโรยเชื้อเห็ดให้เต็มพื้นที่บนฟางชั้นที่ 1 ให้กระจายไปทั่วทั้งฟาง แล้วนำฟางที่ต้มแล้ว 1 กำมือมาโป๊ะลงในชั้นที่ 2 จากนั้นก็โรยเชื้อให้ทั่วแผ่นฟางชั้นที่ 2 ทำอย่างนี้เรื่อยไปจนถึงชั้นที่ 5 แล้วใช้เชือกหรือตอกมัดก้อนฟางให้แน่น
จากนั้นนำเห็ดเข้าโรงเรือน โรงเรือนก็จะมี 2 ลักษณะ ถ้าเป็นพื้นดินธรรมดาก็จะไม่ต้องรดน้ำบ่อยแต่ก็จะเกิดปัญหาแมลงอาจมุดลงไปอยู่ในพื้นดินได้ ส่วนพื้นปูนซีเมนต์ต้องรดน้ำค่อนข้างบ่อยเช้าเย็น แต่ก็ดูแลง่ายป้องกันการแพร่เชื้อของไรได้ดี โดยที่ไรจะไม่สามารถอาศัยอยู่ตามพื้นซีเมนต์ได้เหมือนพื้นดินธรรมดา ภายในโรงเรือนจะมีชั้นไม้ไผ่วางเรียงกันเป็นแถวๆละ 3 ชั้นมีทั้งหมด 4 แถว นำก้อนฟางที่ได้มาวางไว้บนชั้นๆละ 6 ก้อน วันแรกจะรดน้ำที่พื้นก่อน จากนั้นก็ปล่อยทิ้งไว้ 3 วัน ในวันที่ 4 จะเห็นเชื้อเห็ดเริ่มเดิน ซึ่งก็จะมีใยขาวๆออกมาให้เห็น รดน้ำวันละครั้ง ทำอย่างนี้ไปจนถึงวันที่ 9 จะเห็นดอกเห็ดเล็กๆเริ่มออกมา
ในวันที่ 10 ก็จะสามารถเก็บดอกเห็ดขายได้ คุณเอ๋ บอกว่า เคยใช้ฮอร์โมนเพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโตของเห็ด ปรากฏว่า เห็ดออกดอกพร้อมกันพรึ่บเพียงวันเดียว วันต่อมาดอกออกน้อยลงมาก จึงเลิกใช้ ด้วยเห็นว่าให้เห็ดออกตามธรรมชาติจะดีกว่า เห็ดจะใช้เวลาเก็บประมาณ 10 วันก็จะหมด โดยดอกเห็ดจะมากในช่วง 1-3 วันแรก หลังจาก 3 วันไปแล้วผลผลิตก็จะเริ่มทยอยลดน้อยลงเรื่อยๆ จนเหลือเพียง 30% ของผลผลิตทั้งหมด ในวันที่ 10 หลังวันที่ 10 ไปแล้วก็จะโล๊ะก้อนเชื้อเห็ดทิ้งแล้ว แล้วทำความสะอาดโรงเรือน โดยใช้ผงซักฟอกล้างบริเวณชั้นไม้ไผ่ให้สะอาด พักตากโรงเรือนทิ้งไว้ 1 อาทิตย์ ก็จะนำก้อนเช็ดชุดใหม่เข้าไปได้
ที่ฟาร์มจะมีโรงเรือนเพาะทั้งหมด 3 โรงเรือนๆ บรรจุก้อนฟางได้โรงเรือนละ 80 ก้อน ในการเปิดดอกเห็ดจะทยอยเปิดห่างกันโรงเรือนละ 3 วัน เห็ด 1 ก้อนจะให้ผลผลิต 1 กก.ตลอดอายุการเก็บเกี่ยว เก็บทุกวันๆละ 5 กก. คุณเอ๋ บอกว่า เห็ดเป็นพืชเกษตรที่มีข้อดีตรงที่ดูแลง่าย ไม่ค่อยมีปัญหาโรค-แมลงมารบกวนจะมีบ้างก็แต่ไร ซึ่งก็จะมาในช่วงที่เก็บดอกได้ในวันที่ 8-9 แล้ว แต่ก็ไม่ได้เป็นปัญหาอะไร อย่างน้อยก็แค่เป็นการรบกวนในตอนเก็บที่แมลงจะมาไต่มือให้รำคาญก็เท่านั้นเอง
ที่ฟาร์มจะมีโรงเรือนเพาะทั้งหมด 3 โรงเรือนๆ บรรจุก้อนฟางได้โรงเรือนละ 80 ก้อน ในการเปิดดอกเห็ดจะทยอยเปิดห่างกันโรงเรือนละ 3 วัน เห็ด 1 ก้อนจะให้ผลผลิต 1 กก.ตลอดอายุการเก็บเกี่ยว เก็บทุกวันๆละ 5 กก. คุณเอ๋ บอกว่า เห็ดเป็นพืชเกษตรที่มีข้อดีตรงที่ดูแลง่าย ไม่ค่อยมีปัญหาโรค-แมลงมารบกวนจะมีบ้างก็แต่ไร ซึ่งก็จะมาในช่วงที่เก็บดอกได้ในวันที่ 8-9 แล้ว แต่ก็ไม่ได้เป็นปัญหาอะไร อย่างน้อยก็แค่เป็นการรบกวนในตอนเก็บที่แมลงจะมาไต่มือให้รำคาญก็เท่านั้นเอง
ฟาร์มเห็ดของคุณเอ๋ทำเอง เก็บเอง ขายเอง โดยจะมีแม่ค้าโทรมาสั่งจองก่อนล่วงหน้า ราคาขายหน้าฟาร์ม 100 บาทต่อกก. ถ้าไปขายเองราคาสูงขึ้นเป็น 120 บาทต่อกก. บางพื้นที่ขายราคาแพงกว่านี้ อย่างตลาดภาคอีสานขายกัน 180 บาทต่อกก.เลยทีเดียว ส่วนที่นำไปขายเองก็จะมีแบบแบ่งขายปลีกโดยบรรจุใส่ถุงๆ ละ 2 ขีดบ้าง ครึ่งกิโลกรัมบ้าง หนึ่งกิโลกรัมบ้าง คุณเอ๋ บอกว่า เก็บทุกวันขายหมดทุกวันไม่มีเหลือ
เมื่อถามถึงการลงทุนคุณเอ๋บอกว่า ขึ้นอยู่กับจำนวนก้อนขนาดของโรงเรือน ที่ฟาร์มมีโรงเรือนพื้นดินขนาด 3x3 เมตร ลงทุนค่าโรงเรือนประมาณ 4,000 บาท ส่วนโรงเรือนที่เป็นพื้นซีเมนต์ลงทุน 15,000 บาท บรรจุได้ 60 ก้อน แต่เก็บเห็ดช่วง 1-3 วันแรกก็คืนทุนแล้ว วันต่อมาก็เป็นกำไร ถ้าจะทำเป็นอาชีพควรจะทำ 3 โรงเรือนขึ้นไปถึงจะดีมีรายได้หมุนเวียนตลอด และควรจะหาโรงเก็บฟางไว้เพื่อใช้เป็นวัสดุเพาะได้ตลอดทั้งปี ฟางต้องไม่โดนฝนเพราะจะทำให้เกิดเชื้อราได้ คุณเอ๋มีโรงเรือนเก็บฟางไว้ใช้ได้นานครึ่งปีหรือประมาณ 6 เดือน จากนั้นก็จะซื้อฟางเข้ามาเก็บใหม่ไว้ใช้ต่ออีกครึ่งปี ไม่ต้องหาฟางทุกเดือนเพราะถ้าหาฟางไม่ได้ก็จะไม่มีวัสดุเพาะ
เมื่อถามถึงการลงทุนคุณเอ๋บอกว่า ขึ้นอยู่กับจำนวนก้อนขนาดของโรงเรือน ที่ฟาร์มมีโรงเรือนพื้นดินขนาด 3x3 เมตร ลงทุนค่าโรงเรือนประมาณ 4,000 บาท ส่วนโรงเรือนที่เป็นพื้นซีเมนต์ลงทุน 15,000 บาท บรรจุได้ 60 ก้อน แต่เก็บเห็ดช่วง 1-3 วันแรกก็คืนทุนแล้ว วันต่อมาก็เป็นกำไร ถ้าจะทำเป็นอาชีพควรจะทำ 3 โรงเรือนขึ้นไปถึงจะดีมีรายได้หมุนเวียนตลอด และควรจะหาโรงเก็บฟางไว้เพื่อใช้เป็นวัสดุเพาะได้ตลอดทั้งปี ฟางต้องไม่โดนฝนเพราะจะทำให้เกิดเชื้อราได้ คุณเอ๋มีโรงเรือนเก็บฟางไว้ใช้ได้นานครึ่งปีหรือประมาณ 6 เดือน จากนั้นก็จะซื้อฟางเข้ามาเก็บใหม่ไว้ใช้ต่ออีกครึ่งปี ไม่ต้องหาฟางทุกเดือนเพราะถ้าหาฟางไม่ได้ก็จะไม่มีวัสดุเพาะ