การปลูกข้าวโพดหวาน ข้าวโพดข้าวเหนียว เพื่อสร้างรายได้เลี้ยงดูครอบครัว
ข้าวโพดฝักสด หมายถึง ข้าวโพดทุกชนิดที่คนเราใช้เป็นอาหารก่อนที่เมล็ดข้าวโพดจะเกิดขึ้นก่อนเมล็ดจะแก่ ซึ่งในปัจจุบันข้าวโพดฝักสดเป็นพืชที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศและของโลกสำหรับข้าวโพดฝักสดในประเทศไทย ได้แก่ ข้าวโพดหวาน ข้าวโพด ฝักอ่อน ข้าวโพดข้าวเหนียว และข้าวโพดเทียน
แต่ที่สำคัญคือ ข้าวโพดหวาน และข้าวโพดฝักอ่อน ส่วนข้าวโพดข้าวเหนียว และข้าวโพดเทียน เป็นการบริโภคในท้องถิ่นและในอนาคตด้านตลาดมีแนวโน้มที่จะขยายมากขึ้น ข้าวโพดหวานเป็นพืชอายุสั้นให้ผลตอบแทนแก่เกษตรกรผู้ปลูกอยู่ในเกณฑ์ดี สามารถจำหน่ายได้ในตลาดบริโภคสดและโรงงานอุตสาหกรรมกระป๋อง
ข้าวโพดหวาน แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
พันธุ์ผสมเปิด ได้แก่ พันธุ์ซุปเปอร์สวิท พันธุ์ซุปเปอร์ฮาร์โก้ เกษตรกรสามารถเก็บไว้ทำพันธุ์ได้ 2-3 รุ่น เหมาะสำหรับจำหน่ายในตลาดบริโภคสด
พันธุ์ลูกผสม ได้แก่ พันธุ์อินทรี 2 พันธุ์ซูก้าร์ 73 พันธุ์ซูการ์ 74 พันธุ์ไฮ-บริทช์ 5 พันธุ์เอทีเอส-2 พันธุ์รอยัลสวีท พันธุ์ยูนิซีดส์ พันธุ์สวิททูโทน เป็นต้น ผลผลิตเป็นที่ต้องการของตลาดบริโภคสด และโรงงานอุตสาหกรรม เกษตรกรไม่สามารถเก็บไว้ทำพันธุ์ได้
ข้าวโพดฝักอ่อน แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
พันธุ์ผสมเปิด ลักษณะฝักไม่ค่อยสม่ำเสมอ สามารถเก็บไว้ทำพันธุ์ได้และจะต้องปลูกห่างจากพันธุ์อื่นๆ ประมาณ 200 เมตร หรือทิ้งช่วงการปลูกจากพันธุ์อื่นไม่น้อยกว่า 3 สัปดาห์ ได้แก่ พันธุ์เชียงใหม่ 90 เริ่มเก็บเกี่ยวอายุ 48 วันหลังงอก พันธุ์สุวรรณ 2 เริ่มเก็บเกี่ยวอายุ 45 วันหลังงอก
พันธ์ลูกผสม ลักษณะฝักสม่ำเสมอ ผลผลิตสูงเป็นที่ต้องการของโรงงาน เกษตรกรไม่สามารถเก็บไว้ทำพันธุ์ต่อได้ ได้แก่ พันธุ์เกษตรศาสตร์ 2 พันธ์ G 5414 พันธุ์แปซิฟิค 116 พันธุ์แปซิฟิค 421 พันธุ์ IBG 710 เป็นต้น
พันธ์ข้าวเหนียว ได้แก่ ข้าวโพดหวานพิเศษขอนแก่น ผลิตโดยมหาวิทยาลัยขอนแก่น ลักษณะเมล็ดสีขาวขุ่น กลิ่นหอมอายุเก็บเกี่ยวสั้นประมาณ 65-70 วัน
ข้าวโพดเทียน ได้แก่ ข้าวโพดเทียนสีขาว พันธุ์ SSRTW 8801 (สุโขทัย 1) ผลิตโดยกรมวิชาการเกษตร อายุเก็บเกี่ยว 56-65 วัน ผลผลิตจำนวนฝักทั้งหมด 22,218 ฝัก/ไร่ ปลูกได้ทุกภาคของประเทศที่มีปริมาณน้ำเพียงพอ
ปัจจัยจำเป็นที่ต้องใช้
ข้าวโพดฝักสดสามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี โดยเฉพาะในเขตพื้นที่ชลประทาน ลักษณะดินมีความอุดมสมบูรณ์สูง การระบายน้ำดี ดินมีความเป็นกรด-ด่าง (PH) ประมาณ 5.5-6.8 สามารถปลูกได้ตั้งแต่พื้นที่ระดับน้ำทะเลจนถึงความสูง 2-3 พันเมตร อุณหภูมิระหว่าง 20-30 องศาเซลเซียส มีปริมาณน้ำเพียงพอต่อการเจริญเติบโตของตันข้าวโพด
แหล่งปลูกข้าวโพดภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี พะเยา ลำปาง แพร่ เชียงราย เชียงใหม่และลำพูน
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ ทุกจังหวัดยกเว้นจังหวัดเลย
ภาคกลาง ได้แก่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ชัยนาท สระบุรี และลพบุรี
ภาคตะวันตก ได้แก่ จังหวัดสุพรรณบุรี ราชบุรี กาญจนบุรี เพชรบุรีและประจวบคีรีขันธ์[/box]
วิธีการปลูกข้าวโพด (ข้าวโพดหวาน)
1. ฤดูปลูก ข้าวโพดหวานสามารถปลูกได้ทั้งปีในบางพื้นที่ที่มีน้ำเพียงพอ สามารถปลูกในเดือนเมษายนเพราะการปลูกช่วงนี้ไม่มีปัญหาเรื่องพันธุ์อื่นๆ มาปะปน ช่วงปลูกที่เหมาะสมคือ ประมาณปลายเดือนกันยายนเพราะไม่จำเป็นต้องให้น้ำ หรืออาจให้บ้างในช่วงใกล้เก็บเกี่ยว
2. การเตรียมดิน ไถตะ 1 ครั้ง แล้วตากดิอนไว้ 7-15 วัน หว่านปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยคอกเพิ่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินประมาณ 1-2 ตัน/ไร่ (ในดินเหนียวควรเพิ่มแกลบและปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักเพิ่มเป็น 2-4 ตัน/ไร่) ไถแปร 1-2 ครั้งเพื่อย่อยดินให้เหมาะสมต่อการยกแปลงปลูก
3. ระยะปลูก มี 2 แบบ คือ แบบแถวเดี่ยว ระยะระหว่าง แถว 75 เซนติเมตรระหว่างตัน 30 เซนติเมตรแบบแถวคู่ (แบบแปลงผัก) ชักร่องกว้าง 120 เซนติเมตร ปลูกข้างสันร่องทั้ง 2 ด้าน ระยะระหว่างต้น 30 เซนติเมตร
4. การปลูก ข้าวโพดหวานใช้เมล็ดพันธุ์ 1-15 กิโลกรัม
5. การใส่ปุ๋ยมี 2 ระยะคือ รองพื้นด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยอินทรีย์ตามความเหมาะสม และใส่ปุ๋ยแต่งหน้า 2 ครั้ง เมื่ออายุ 25-30 วันละ 40-45 วัน
ผลผลิต
ข้าวโพดหวาน ให้ผลผลิตเฉลี่ยประมาณ 1,800 กิโลกรัม/ไร่
ข้าวโพดฝักอ่น ให้ผลผลิตเฉลี่ยประมาณ 1,500 กิดลกรัม/ไร่
ข้าวโพดข้าวเหนียว ให้ผลผลิตเฉลี่ยประมาณ 1,600 กิโลกรัม/ไร่
ข้าวโพดเทียน ให้ผลผลิตเฉลี่ยประมาณ 1,600 กิโลกรัม/ไร่
หมายเหตุ : ข้าวโพดเทียน 1 ไร่ปลูกได้ประมาณ 16,000-32,000 ต้น (ระยะปลูก 50×20 ซม.) 1-2 ต้น/หลุม ข้าวโพดเทียน 1 ต้น ติดฝัก 1-2 ฝัก หรือ ประมาณ 1 ฝัก/ต้น จะได้ 32,000 ฝัก ขายได้ฝักละ 0.50 บาท ได้เงินประมาณ 16,000 บาท/ไร่
แนวโน้มในอนาคตของข้าวโพดฝักสด
1. เป็นพืชที่มีศักยภาพในการแข่งขันการส่งออกสูงเพราะข้าวโพดฝักสดสามารถแปรรูปผลผลิตได้หลายรูปแบบ สามารถส่งออกได้ทั้งในตลาดยุโรป อเมริกา อาฟริกา นอกจากนี้ ตลาดภายในประเทศก็มีความต้องการบริโภคมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมเมือง
2. การส่งออกผลิตภัณฑ์ข้าวโพดฝักสดไม่มีปัญหาทางด้านโภชนาการ เนื่องจาก ในขั้นตอนการผลิตมีการใช้สารเคมีน้อย ส่งผลให้ผลผลิตที่ได้มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคสูง เพราะไม่มีสารพิษตกค้าง หรือมีน้อยมาก
3. เป็นพืชที่มีศักยภาพการผลิตสูง สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตได้ง่ายเพราะเป็นพืชระยะเวลาการผลิตสั้น (ใช้ระยะเวลาเพียง 45-50 วัน สำหรับข้าวโพดฝักอ่อน และ 70-75 วัน สำหรับข้าวโพดหวาน) และสามารถปลูกได้ตลอดปี ดูแลรักษาง่าย ให้ผลผลิตสูงมีความเสี่ยงต่ำ ใช้สารเคมีน้อย การเพิ่มคุณภาพและผลผลิตสามารถทำได้โดยใช้พันธุ์และวิธีการผลิตที่เหมาะสม นอกจากนี้ยังเป็นพืชที่เหมาะสมสำหรับเกษตรกรในชนบท โดยเฉพาะในเขตที่มีน้ำชลประทาน
4. เป็นพืชที่มีศักยภาพในการนำไปผลิตเป็นพืชอินทรีย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้าวโพดฝักอ่อนและข้าวโพดหวาน เพราะเป็นพืชที่มีแมลงศัตรูน้อย นอกจากนี้ พันธุ์ที่ใช้ในปัจจุบันส่วนใหญ่มีความต้านทานโรคที่สำคัญได้ดีพอสมควร โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้าวโพดฝักอ่อน
ตลาด และผลตอนแทน
ข้าวโพดหวานประมาณร้อยละ 50 ที่ผลิตได้ในประเทศไทยจะถูกนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ข้าวโพดหวานเพื่อส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ เช่น ในปี 2548 คิดเป็นประมาณ 109,774 ตัน มูลค่า 3,200 ล้านบาท ซึ่งจัดอยู่ในลำดับที่ 4 ของประเทศผู้ส่งออกข้าวโพดหวานในตลาดโลกข้าวโพดหวานและข้าวโพดฝักอ่อนที่เก็บส่วนของฝักออกไปใช้ประโยชน์แล้ว ส่วนของต้นและใบยังคงเหลือในแปลงรวมไปถึงกาบหุ้มฝัก ไหม ช่อดอกตัวผู้ของข้าวโพดฝักอ่อนและ ซังข้าวโพดที่เหลือจากโรงงานอุสาหกรรมยังสามารถนำเป็นอาหารสัตว์ได้ดี
http://www.thaiarcheep.com/